เรื่องเล่าจากแม่แจ่ม : คน ช้าง คืน ถิ่น สู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

แม้สถานการณ์โควิดจะสร้างผลกระทบ ทำให้ควาญช้างบ้านห้วยบง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ จำนวนมากตกงาน ขาดรายได้ เพราะปางช้างใน จ.เชียงใหม่ ปิดกิจการเลิกจ้างจากเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่ซบเซา เหล่าควาญตัดสินใจพาช้างคู่ทุกข์คู่ยากเดินเท้ากลับมาบ้านเกิดทั้งที่ยังไม่รู้ชะตากรรมใดๆ

แต่วันนี้พวกเขาสามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความมุ่งมั่น ตั้งใจ ใช้พลังในการพลิกฟื้นพื้นที่ให้มีน้ำเพียงพอสำหรับคน และช้าง มีแปลงหญ้าอาหารช้าง มีการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองของชาวดอย สร้างแบรนด์ “มูเข่อโพ” ให้เป็นที่รู้จัก ทำให้ชาวบ้าน 60 ครัวเรือน คนเลี้ยงช้าง 20 ครัวเรือน อาชีพสร้างรายได้ ไม่ต้องไปรับจ้างทำงานต่างถิ่น รอดพ้นจากความจน คืนรอยยิ้มให้ชุมชนอีกครั้ง

“ชุมชนดีมีรอยยิ้มแม่แจ่ม ภายใต้โครงการพัฒนาชุมชน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เป็นต้นแบบสำคัญที่จะใช้เรียนรู้กระบวนการพัฒนาชุมชนที่ประสบผลสำเร็จ ปลุกพลังชาวบ้านในชุมชนให้รู้จักพึ่งพาตัวเอง นางสาวมัลยิกา มณีผ่อง เจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจชุมชนอาวุโส โครงการชุมชนดีมีรอยยิ้มแม่แจ่ม กล่าวว่า ย้อนไปปี 62 มีวิกฤตปางช้างปิด คนและช้างกลับคืนถิ่น ประสบปัญหาขาดแคลนอาหารช้างอย่างหนัก ชุมชนดีมีรอยยิ้มแม่แจ่มเข้ามาร่วมวางแผนแก้ปัญหากับชุมชน พยายามศึกษา สำรวจพื้นที่ วิเคราะห์ปัญหา เพื่อเริ่มต้นสร้างความยั่งยืนด้านอาหารให้ช้างจำนวนกว่า 20 เชือก

เมื่อพบว่า “น้ำ” คือ หัวใจสำคัญที่จะใช้แก้ไขปัญหา มัลยิกา บอกว่า ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันไม่รีรอจัดทำประปาภูเขาระยะทาง 2 กิโลเมตร ทำให้ช้างได้มีน้ำกิน และเป็นน้ำที่สะอาดไม่ปนเปื้อนสารเคมีจากภาคเกษตร ทั้งยังมีพื้นที่ได้รับประโยชน์มากถึง 21 ไร่ เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ใกล้เคียง ช่วยกันบำรุงรักษาให้ประปาภูเขานี้ใช้การได้ต่อเนื่อง ก่อนจะชวนกันทำแปลงปลูกหญ้าเนเปียร์อาหารช้าง เพื่อเลี้ยงช้างทุกตัว เพราะช้าง 1 เชือก กินอาหารมากถึงวันละ 200-300 กิโลกรัม ช่วยลดค่าใช้จ่ายชาวบ้านจากเดิมซื้ออาหารให้ช้าง

จากการทำกิจกรรมร่วมกัน ลืมตาอ้าปากได้ นำมาสู่การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนช้างคืนถิ่นบ้านห้วยบงในปี 2563  มีการประสานความร่วมมือจากภายนอกจะส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน เริ่มสร้างเส้นทางท่องเที่ยวระยะสั้น ระยะยาว และกิจกรรมแคมปิ้งกับช้าง แต่มาเจอโควิดระลอกสอง โครงการต้องพับไปโดยปริยาย แต่สมาชิกชาวชุมชนห้วยบงไม่ยอมแพ้ และไม่หลงทางพยายามพัฒนาบนฐานทรัพยากรที่มีมัลยิกา กล่าวว่า มีการหารือร่วมกับชุมชนเพื่อหาทางสร้างรายได้เสริม ในพื้นที่มีการปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมือง สตรีในหมู่บ้านเห็นตรงกันเรื่องการปลูกข้าวดอยเพื่อจำหน่าย จากเดิมปลูกกินกันในครัวเรือน มารวมกลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ไม่ใช้สารเคมี และทำโรงสีข้าวตำมือ นอกจากสร้างอาชีพแล้ว ยังช่วยอนุรักษ์พันธุ์ข้าวดอย และรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับนักเดินทาง

“เราพัฒนาสร้างแบรนด์ในชื่อ “มูเข่อโพ” แปลว่า เมล็ดพันธุ์จากสวรรค์ มาจากชื่อช้างที่ชาวบ้านผูกพันและจากไปแล้ว มีการออกแบบโลโก้ และบรรจุภัณฑ์ให้ทันสมัย ดึงดูดใจและสร้างการจดจำให้กับผู้บริโภค  ข้าวดอยบือโป๊ะโละเป็นข้าวนาที่สูง กลุ่มปกาเกอะญอใช้ปลูกกัน เป็นข้าวดีต่อสุขภาพ มีการหาช่องทางการขาย ไปร่วมออกบูธงานแสดงสินค้าเกษตรต่างๆ รวมถึงขายผ่านเพจแจ่มดี ที่เน้นของดีของ อ.แม่แจ่ม เพื่อช่วยชุมชนอีกทาง นอกจากนี้ มีแผนจะขยับขยายสู่ร้านอาหาร เจาะกลุ่มลูกค้ารักสุขภาพด้วย “ มัลยิกา เล่าถึงผลิตภัณฑ์ชุมชนที่โดดเด่นบ้านห้วยบง

นอกจากนี้ โครงการพัฒนาชุมชนยังวางแผนที่จะขยับขยายไปสู่การพัฒนาหัตถกรรมผ้าทอของชนเผ่าปกาเกอะญอร่วมกับกลุ่มสตรีอีกด้วย เป็นการใช้เวลาว่างหลังทำเกษตร เพื่อสร้างรายได้เสริมสำหรับกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอของชุมชนแห่งนี้จะต้องมีการเติมเต็ม ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดการวัตถุดิบ การย้อมสีธรรมชาติ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ได้มาตรฐาน แต่ไม่ทิ้งเอกลักษณ์ท้องถิ่น ซึ่งจะเป็นภาพการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนดีมีรอยยิ้มแม่แจ่มกับวิสาหกิจชุมชนช้างคืนถิ่นบ้านห้วยบงในช่วง 1-2 ปีนี้

มัลยิกา สะท้อนให้ฟังว่า แกนนำชุมชนบ้านห้วยบงเข้มแข็งมาก มีความทันสมัย เป็นคนที่พร้อมรับฟังความคิดเห็น ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง เพื่อให้แผนการพัฒนาชุมชนสามารถปฏิบัติได้จริง นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ ขณะที่กลุ่มสตรีในพื้นที่พร้อมช่วยเหลือ สนับสนุนเคียงข้าง เพราะถ้าคิดทำคนเดียวไม่สำเร็จ เป็นจุดเด่นของที่นี่ สามารถต่อยอดไปสู่แผนพัฒนาอื่นๆ รวมถึงสามารถประสานเชื่อมกับหน่วยงานที่มีงบประมาณ ดึงเข้ามาในชุมชนได้

“ วันนี้ชาวบ้านห้วยบงไม่อยากกลับไปรับจ้าง อยากเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่บ้านเกิด ชุมชนมีกำลังใจ มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าชุมชน แม้ไม่ร่ำรวย แต่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ ไม่เสียค่าเช่าบ้าน มีน้ำเพาะปลูกตลอดปี ได้เลี้ยงช้าง ชาวบ้านภูมิใจมาก และพร้อมจะสู้ต่อไป เห็นรอยยิ้มเขากลับคืนมาก็ดีใจ เพราะเราช่วยกันพัฒนา อนาคตจะชวนสมาชิกชุมชนหันมาทำเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง ปรับใช้ แทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เพื่อแก้ปัญหาด้านสุขภาพ และปัญหาอื่นๆ อีกมากจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว เป็นอีกแนวทางสร้างอาชีพยั่งยืน เพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร และครอบครัวตลอดทั้งปี” มัลยิกา กล่าวทิ้งท้ายถึงความมุ่งมั่นตั้งใจคืนสุขให้ชุมชนแม่แจ่ม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ซึ้งใจมาหาถึงบ้าน” คาราวาน “ผ้าห่มผืนเขียว” เดินทางข้ามหุบเขา มอบไออุ่นถึงมือพี่น้องชาวพิษณุโลก

หากเอ่ยถึงจังหวัดภาคเหนือนตอนล่าง พิษณุโลกเป็นจังหวัด ที่มีลักษณะเป็นเทือกเขาและที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะตำบลบ่อภาค เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่เข้าถึงยาก

กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงาน'ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร นครนายก'

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปยังเขื่อนขุนด่านปราการชล อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ทรงเปิด “ศูนย์ฝึกอบรมสุดาเดือนเพ็ญและที่พักของมูลนิธิชัยพัฒนา” และงาน “ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร จังหวั

เตรียมปักหมุดสัมผัสลมหนาวใกล้เมืองกรุง ในงาน “ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร จังหวัดนครนายก” 12-15 ธันวาคม นี้

เตรียมปักหมุดเดินทางท่องเที่ยวสัมผัสลมหนาวใกล้เมืองกรุงฯ กันได้ในงาน “ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร จังหวัดนครนายก” ที่จะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 12 -15 ธันวาคม นี้ ณ เขื่อนขุนด่านปราการชล

คาราวาน “ผ้าห่มผืนเขียว” ปีที่ 25 เดินทางสู้หนาว มอบรอยยิ้ม และไออุ่นถึงมือพี่น้องชาวหนองคาย

นับเป็นเวลา 25 ปี ที่คาราวาน "ผ้าห่มผืนเขียว" ในโครงการ “ไทยเบฟ..รวมใจต้านภัยหนาว" ได้ออกเดินทางส่งมอบรอยยิ้ม และความอบอุ่นไปยังพี่น้องผู้ประสบภัยหนาวในพื้นที่ห่างไกล

“ยลสายน้ำ ยินทำนอง” Melodies of the River ประมวลภาพความประทับใจในงาน River Festival 2024 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 สืบสานประเพณีลอยกระทงแบบรักษ์โลก ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมไทย กับประเพณีลอยกระทงแบบรักษ์โลกในงาน River Festival 2024 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 16 พฤศจิกายน