ในยุครัฐบาล"ยิ่งลักษณ์"คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา112เคยล่าชื่อเสนอสภาแก้ไขม.112แต่พรรคเพื่อไทยส่งสัญญาณให้ประธานสภาตีตก คราวนี้"ชัยเกษม" เปิดประเด็นแก้ม.112 อีกครั้ง แต่ถูก”ทักษิณ”เบรกอีก
03 พ.ย.2564 - จากกรณีนายชัยเกษม นิติสิริ ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย ออกจดหมายเปิดผนึกว่าพรรคเพื่อไทยพร้อมนำข้อเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และ ม.116 เข้าสู่วาระการประชุมของรัฐสภา ภายหลังกลุ่มคณะราษฎร ชุมนุมเมื่อวันที่ 31 ต.ค.2564 เรียกร้องต่อคณะตุลาการเพื่อคืนสิทธิประกันตัว ปล่อยตัวผู้ต้องขังทางการเมือง พร้อมเรียกร้องต่อรัฐสภาให้ดำเนินการพิจารณาแก้ไข มาตรา 112
ประเด็นการเรียกร้องแก้ไข ม.112 มีความพยายามมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ยุครัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่มีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี
เริ่มตั้งแต่ เมื่อวันที่ 27 มี.ค. 54 คณะนิติราษฎร์ ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล ธีระ สุธีวรางกูร สาวตรี สุขศรี และ ปิยบุตร แสงกนกกุล ได้แถลงข้อเสนอเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานหมิ่นประมาท โดยมีข้อเสนอให้แก้ไขกฎหมายอาญาใน 7 ประเด็น คือ
1. ให้ยกเลิกมาตรา 112 ออกจากลักษณะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร
2. เพิ่มหมวดลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
3.แบ่งแยกการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์เป็นคนละมาตรากับการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท หรือ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
4. เปลี่ยนบทกำหนดโทษโดยไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ แต่กำหนดเพดานโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินสามปี โดยแยกระหว่างการหมิ่นประมาททั่วไปกับการหมิ่นประมาทที่เป็นการโฆษณาออกจากกัน
5. เพิ่มเหตุยกเว้นความผิด กรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
6.เพิ่มเหตุยกเว้นโทษ กรณีข้อความที่กล่าวหานั้นได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง และการพิสูจน์นั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
7. ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษผู้ที่ทำความผิด ให้สำนักราชเลขาธิการมีอำนาจเป็นผู้กล่าวโทษเท่านั้น
ต่อมา 15 ม.ค.2555 มีการเปิดตัว “คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112)” พร้อมกับ การระดมชื่อประชาชนอย่างน้อย 1 หมื่นชื่อเพื่อผลักดันร่างแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 ของคณะนิติราษฎร์ เข้าสู่รัฐสภา
หลังจากนั้น 29 พ.ค.2555 คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 นำโดยนักวิชาการ นักกิจกรรมทางสังคม ได้แก่ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์, จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติราษฎร์, พวงทอง ภวัครพันธุ์, เวียงรัฐ เนติโพธิ์, วันรัก สุวรรณวัฒนา, สุดา รังกุพันธุ์, อนุสรณ์ อุณโณ, วาด รวี, จรัล ดิษฐาอภิชัย และจิตรา คชเดช นำรายชื่อประชาชนที่เข้าชื่อกันทั้งหมด 26,968 รายชื่อ เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ ... (แก้ไขมาตรา112 ตามข้อเสนอคณะนิติราษฎร์) ไปยื่นต่อรัฐสภา เพื่อให้รัฐสภานำไปพิจารณาออกเป็นกฎหมาย
โดยมีนายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ส.ส.พะเยา พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 เป็นตัวแทนออกมารับหนังสือ และรายชื่อทั้งหมด พร้อมด้วย จารุพรรณ กุลดิลก ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย
อย่างไรก็ตาม นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ในขณะนั้น วินิจฉัยว่า ข้อเสนอนี้เป็นการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่กฎหมายตามรัฐธรรมนูญหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประชาชนจึงไม่มีสิทธิเข้าชื่อกันเพื่อเสนอกฎหมาย จึงมีคำสั่งไม่รับร่างกฎหมายฉบับนี้ไว้พิจารณา
ทั้งนี้มีรายงานว่ารัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้ส่งสัญญาณไปยังประธานสภาฯ ให้ตีตกร่างกฎหมายดังกล่าวท่ามกลางกระแสข่าว น.ส.ยิ่งลักษณ์ และนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หนีคดี กำลัง "เกี๊ยะเซียะ" กับชนชั้นนำ
ล่าสุดพรรคเพื่อไทย โดยนายชัยเกษม ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย เสนอแก้ไข ม.112 คราวนี้ถูกมองว่าเพื่อช่วงชิงความนิยมจากคนรุ่นใหม่ที่เรียกร้องปฏิรูปสถาบัน และยกเลิกม.112 ซึ่งเป็นฐานมวลชนของพรรคก้าวไกล
และเปรียบเสมือนเป็นการยกเพดานในการเคลื่อนไหวทางการเมือง
ขณะที่ประชาชนอีกกลุ่มออกมาต่อต้านการแก้ไขม.112 มองว่าเป็นการ บ่อนทำลาย ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และเกรงว่าจะเป็นบันไดไปสู่การล้มล้างสถาบัน
ในที่สุด นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ออกมาโพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ให้ 2 ฝ่ายหยุดดราม่า เพื่อการถวายจงรักภักดีที่ถูกต้อง ไม่ให้เจ้านายถูกครหาโดยไม่รู้ตัว และมองว่า ตัวกฎหมายไม่เคยมีปัญหา แต่คนที่เป็นปัญหาคือคนที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมและคนที่นำประเด็นนี้มาสร้างความแตกแยกในสังคม.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทวี' ยันให้ข้อมูลความจริงที่ไม่มีกฎหมายห้าม ใครเห็นต่างก็หาหลักฐานมาหักล้าง ปมทักษิณชั้น 14
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
'เด็จพี่' ได้ทีจวกเหล่านักร้อง ทำให้เกิดความปั่นป่วน ขู่เมื่อร้องผิดคีย์ต้องโดนลงโทษ
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีตโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 โดยอ้างว่าอดีตนายกฯ ทักษิณ และพรรคเพื่อไทยร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้าง
'จตุพร' ตอกย้ำศาลรธน.รับคำร้องคดีล้มล้าง เพื่อหยุดอหังการอำนาจ เริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง
ลุ้นศาล รธน.พิจารณาคำร้อง 'จตุพร' เชื่อรับไว้วินิจฉัยเพื่อหยุดอหังการอำนาจ ลั่นจะเริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง เปิดความหวังประเทศก้าวเดินสู่ผลประโยชน์ชาติ
'นิพิฏฐ์' เฉลย 'ยิ่งลักษณ์' กลับไทยเป็นไปได้ 'ทักษิณ' ไม่ได้พูดเล่นๆ
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีต สส.พัทลุง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เปิดเผยว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯหนีคดีทุจริตจำนำข้าว อาจจะกลับประเทศไทยก่อนสงกรานต์ปีหน้า ว่า ระบุว่า
เดือดพลั่ก! ยธ. แถลงโต้ กมธ.มั่นคงฯ ไม่มีอำนาจเรียก ทวี-อธิบดีกรมคุก ชี้แจงทักษิณชั้น 14
นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นายวรชัย บุตรดาบุตร เลขานุการกรมราชทัณฑ์ นายณรงค์ หนูคง ผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ และ น.ส.วริศรา กุญชร ณ อยุธยา ผอ.กองกฎหมาย
เดือด! 'โตโต้' สวน ยธ. ยันมีอำนาจสอบทักษิณป่วยทิพย์ ลั่น กมธ.มั่นคงฯทำงานครอบจักรวาล
นายปิยรัฐ จงเทพ สส.กทม.พรรคประชน (ปชน.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร