7 ก.ค.2565 - เมื่อเวลา เวลา 21.15 น. ที่ผ่านมา ในการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ที่มีนายพรเพชร วิชิตชลชัย รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธาน ในที่ประชุม หลังจากที่ใช้เวลาอภิปราย ม.23 มายาวนานร่วม 3 ชั่วโมง
โดยในช่วง 21.15 น. เกิดความวุ่นวายขึ้นเมื่อมีสมาชิกทั้งฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาลและ ส.ว.ต่างขอเวลาเพื่ออภิปรายในมาตรา 23 เพิ่มขึ้น จนเกิดการถกเถียงไปมา ขณะที่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ที่ทำหน้าที่ประธาน ไม่สามารถควบคุมการประชุมได้
ทำให้นายมงคลกิตต์ สุขสินธารานนท์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคไทยศรีวิไลย์ ขอเสียงสนับสนุนจากที่ประชุมให้เปลี่ยนประธาน เมื่อนายมงคลกิตต์พูดจบ สมาชิกในห้องต่างปรบมือ ขณะที่นายพรเพชรไม่แสดงอาการใดๆ พร้อมยืนยันจะให้ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน ได้อภิปรายเพิ่มเติมในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน สร้างความไม่พอใจให้กับสมาชิกคนอื่น ว่าให้อภิสิทธิ์กับผู้นำฝ่ายค้าน ทั้งที่ทุกคนเป็นสมาชิกรัฐสภาเหมือนกัน
นายสาธิต ปิตุเตชะ ส.ส.ระยอง พรรคประชาธิปัตย์ และ รมว.สาธารณสุข ฐานะกรรมาธิการเสียงข้างมาก อภิปรายว่า ขอให้กรรมาธิการเสียงข้างมาก คือนายกฤช เอื้อวงศ์ และนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ขึ้นอภิปรายเท่านั้น เพราะที่เหลือพูดซ้ำกันหมดแล้ว
จากนั้นนายพรเพชรได้ใช้อำนาจที่มีอยู่เชิญ นพ.ชลน่านขึ้นพูดเป็นคนสุดท้าย โดยนายพรเพชร กล่าวว่า แม้ตนไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่คารพและยึดมั่นในสถาบันนิติบัญญัติ แม้ท่านอาจจะด้อยค่าตน ไล่ตนออกจากตำแหน่งก็ไม่เป็นไร แต่ท่านต้องให้เกียรติผู้มีตำแหน่ง
นพ.ชลน่านกล่าวว่า การที่มีผู้อภิปราย บอกว่าทำตามเจตนารมณ์ และอ้างถึงรัฐธรรมนูญ2560นั้น ตนมองว่า เราต้องเอารัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ปี2564 เป็นตัวตั้ง เราต้องยึดมั่นเจตนารมณ์ตรงนี้ ที่หลายคนบอก ไม่ขัดหลักการ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ โดยเจตนารมณ์ วางระบบคู่ขนาน กับเสียงข้างมาก ข้อสงวนความเห็น ที่ท่านขอความเป็นธรรมกับพรรคเล็ก
ทำไมไม่ขอความเป็นธรรมให้ประชาชนบ้าง เราปกครองด้วยเสียงข้างมาก แต่กำลังแปร เอาเสียงข้างน้อยมาปกครองหรือไม่ แม้ผลโหวตจะออกมาอย่างไร แต่วันนี้ต้องโหวตให้จบ โดยจะเอา 500 ให้ได้ โดยฝ่ายบริหารมาก้าวล่วงฝ่ายนิติบัญญัติ ด้วยหลักฐานที่สื่อมวลชนบอกมาทั้งหมด โดยเราต้องไม่อยู่ภายใต้อาณัติผู้ใด ตามมาตรา 114
"เรื่องนี้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแน่นอน และถ้าวินิจฉัยไม่ชอบด้วยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ภาระหน้าที่รับผิดชอบเราต้องมี ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ จงใจฝ่าฝืนบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ฝ่าฝืนจริยธรรมเ เป็นหัวข้อไปอภิปรายไม่ไว้วางใจด้วย เพราะก้าวล่วงอำนาจอธิปไตย" หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าว
เวลา 21.45 น.หลังจากที่สมาชิกอภิปรายกันครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ใช้เวลาในการพิจารณามาตรา23 ไปเกือบ 4ชั่วโมง ที่ประชุมรัฐสภาลงมติไม่เห็นด้วยกับมาตรา23 เรื่องการใช้สูตร 100 หาร ในการคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อ ตามเนื้อหาที่กมธ.เสียงข้างมากเสนอมา ด้วยคะแนน 392 ต่อ160 งดออกเสียง 23 ไม่ลงคะแนน 2
ต่อมานายชวน หลีกภัย ประธานสภา ได้เข้ามาทำหน้าที่ประชุม และได้สอบถามความเห็นในที่ประชุม จะเห็นด้วยกับสูตรคำนวนส.ส.ที่หาร500 ของนพ.ระวี หรือการหาร100 ของนายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ผลปรากฏว่า เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับนพ.ระวี ด้วยคะแนน 354 ไม่เห็นด้วย 162 งดออกเสียง 37 ไม่ลงคะแนน 4 เสียง
นายชวน ได้ขอร้องสมาชิก ให้เกียรติท่านประธาน ไม่ว่าจะเป็นนายพรเพชร หรือคนใดก็ตามเพราะทุกคนทำหน้าที่ แม้ความเห็นต่างกันบ้าง แต่กรุณาให้เกียรติอย่าใช้ถ้อยคำรุนแรง
จากนั้นเข้าสู่การพิจารณาในมาตรา 24 โดยไม่มีการแก้ไข และสมาชิกไม่ติดใจ นายชวนจึงสั่งปิดการประชุมในเวลา 22.17 น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สภาฯผ่านฉลุยกฎหมายห้ามตีเด็ก
ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาฯคนที่หนึ่ง เป็นประธานการประชุม
จบข่าว! สภาโหวตคว่ำข้อสังเกต กมธ.นิรโทษกรรม 'ชลน่าน-พิเชษฐ์' หวิดวางมวย
ประชุมสภาฯ หวิดปะทะ “ชลน่าน” อารมณ์ขึ้นชี้หน้า “รองพิเชษฐ์” โต้ “อยากเป็นให้ขึ้นมา” สุดท้ายได้โหวต คว่ำข้อสังเกตรายงานนิรโทษกรรม ส่งให้รัฐบาลเฉพาะตัวรายงานอย่างเดียว
สภาฯเถียงกันวุ่น 'กฎหมายห้ามตีเด็ก' ก่อน กมธ.ยอมถอนร่างกลับไปทบทวนใหม่
ที่รัฐสภา มีการพิจารณาร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. ... ซึ่งมีนายสรรพสิทธิ์ คุมพ์ประพันธ์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญ ในวาระสอง
นิด้าโพล เผยผลสำรวจ คนใต้ 41% บอกไม่เลือก ปชป. แล้ว
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “เสียงพี่น้องชาวใต้ถึงพรรคประชาธิปัตย์ ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน 2567
'วันนอร์' บอกเป็นเรื่องส่วนตัว 'ประวิตร' ไม่มาประชุมสภาฯ หากมีธุระ-ป่วยต้องส่งใบลา
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการตั้งข้อสังเกตเรื่องการเข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎรของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)
วิป 3 ฝ่าย เคาะวันแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา 12-13 ก.ย.นี้
มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการกำหนดวันแถลงนโยบายรัฐบายต่อรัฐสภา ล่าสุด เมื่อช่วงเย็นมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ เนื่องจากในวันที่ 11 ก.ย. จะมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเลือกรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ค