นักวิชาการ เปิดเหตุผลทำไมรัฐบาล-กองทัพไทยไม่กล้าเล่นใหญ่ และห้ามทำด้วย

2 ก.ค.2565 - ดร.สันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง อาจารย์พิเศษคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Sunt Srianthumrong” ในประเด็นเกี่ยวกับเครื่องบินรบเมียนมาล้ำชายแดนไทยว่า ไทย-เมียนมา: ภาพสะท้อนยุโรป-รัสเซีย ทำไมรัฐบาลไทยและกองทัพไทยไม่กล้าเล่นใหญ่ และห้ามทำด้วย จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเมียนมาตัดก๊าซไทยแบบทันที

ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งที่คนไทยทุกคนควรรู้เพื่อจะได้เข้าใจหัวอกของรัฐบาล ฝ่ายความมั่นคงและทหาร ก็คือ เมียนมามีแต้มต่อเหนือไทยมากๆอยู่หนึ่งเรื่องสำคัญ ที่ไม่ใช่กำลังทหาร ไม่ใช่กำลังประชาชน แต่นั่นคือ ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งไม่ต่างจากการที่รัสเซียมีแต้มต่อเหนือยุโรปเลยครับ

ผมคิดว่าแต้มต่อนี้น่าจะเป็นที่รู้กันดีทั้งในฝ่ายความมั่นคงฝั่งไทยและเมียนมา ข้อมูลพวกนี้เป็นข้อมูลสาธารณะทั้งนั้นครับ

ข้อมูล:
1. ประเทศไทยพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติจากเมียนมามากถึง 6,500 MW

2. Peak Demand ของประเทศปีนี้อยู่ที่ 33,177 MW ณ วันที่ 28 เม.ย. 2565 เวลา 14.30 น. ไม่รวม IPS ที่ผลิตไฟฟ้าใช้เอง

3. ก๊าซเมียนมาถูกกว่า LNG นำเข้ามากๆ เพราะสงครามในยุโรป

4. กำลังไฟฟ้า 6,500 MW เทียบกับ 33,177 MW ในทาง Power System Reliability ถือว่าสูงมาก มากกว่า Spinning Reserve มากกว่า Fast Frequency Response Resource ทั้งหมดรวมกันแน่นอน

5. เคยเกิดเหตุก๊าซจากเมียนมาหายเฉียบพลัน 1 ครั้งเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2552 ระบบไฟฟ้าไทยเกือบไปไม่รอด แต่กฟผ.ก็เก่งมากสามารถรักษาระบบเอาไว้ได้อย่างเหลือเชื่อสุดๆ โดยแลกมากับน้ำท่วมท้ายเขื่อนบางส่วน แต่ถ้าเกิดขึ้นอีก ผมคิดว่าไม่มีอะไรยืนยันได้ว่าจะเอาอยู่ แต่ลึกๆผมก็เชื่อว่า กฟผ.อาจจะเอาอยู่ เรามีคนที่เก่งมากและระบบที่ทันสมัยมากกว่าเดิมอยู่ที่ตรงนั้น

6. เรายังต้องพึ่งพาก๊าซจากเมียนมาอีกเป็น 10 - 20 ปี ต่างจากยุโรปที่คงพึ่งรัสเซียอีกแค่ไม่เกิน 2-3 ปี

ถ้าเมียนมาตัดก๊าซทันที: จะเกิดอะไรขึ้น
1. ไม่ต่างกับยุโรปโดนรัสเซียตัดการส่งก๊าซทันที
2. ค่าไฟฟ้าน่าจะแพงขึ้นอีกประมาณหน่วยละ 1 บาททันที
3. จากข้อ 2 เศรษฐกิจจะมีปัญหาแน่นอน และม็อบก็จะมากมาย
4. โรงไฟฟ้าจะหายไป 6,500 MW โดยที่ไม่มีใครได้ทันตั้งตัว กว่าสถานีก๊าซที่ไทรโยคจะรู้จากค่ามิเตอร์และแจ้งเหตุ โรงไฟฟ้าภาคตะวันตกก็น่าจะร่วงกันหมดแล้ว ผมไม่รู้ Timing ตรงนี้ในรายละเอียด ต้องถามปตท.
5. ถ้าจังหวะใช่ เวลาใช่ มีโอกาสเกิดไฟฟ้าดับทั่วประเทศไทย จากข้อ 4
6. นับจากเกิดเหตุการณ์ในข้อ 4 กฟผ.จะมีเวลาแค่ไม่เกิน 5 วินาที ในการรักษาระบบด้วยการเร่งเดินโรงไฟฟ้าอื่นๆขึ้นมาแทน ขอย้ำว่า 5 second เท่านั้น
7. เวลา 5 วินาทียาวนานเท่ากับการหายใจเข้าออก "พุทโธ" 1 ครั้ง
8. The Flash ก็อาจไม่เร็วพอที่จะช่วยเราได้
9. ถ้าเราจะยังสามารถรอดมาได้แบบครั้งก่อน ผมต้องบอกเลยว่า กฟผ.ต้องสร้างปฎิหารย์อีกครั้ง ซึ่งปฎิหารย์มักไม่ขึ้นบ่อยนัก

สิ่งที่ประเทศไทยเตรียมไว้:
1. ฝ่ายความมั่นคง ทุกยุคทุกสมัย รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลเมียนมาทุกฝ่าย ทั้งพลเรือนและทหาร รวมทั้งชนกลุ่มน้อยต่างๆด้วย ซึ่งเป็นบทบาทที่ยากมากๆ แต่ก็ทำได้ดีเสมอมา

2. การไฟฟ้า ปตท. และกระทรวงพลังงาน มีแผน A, B, C, D เตรียมทั้งสำหรับปัจจบุันและอนาคต และเรามีแผนอนาคตที่ชัดเจนว่า เราจะยุติเรื่องนี้ได้ และผมเชื่อว่าเราจะทำได้แน่นอน

ไทย-เมียนมาเพื่อนบ้านกัน ชายแดนติดกัน 2,202 กิโลเมตร ถ้าไม่รักกันก็เห็นทีจะลำบากกันทั้ง 2 ฝ่าย พวกเราคงไม่มีใครชอบความรุนแรงที่เกิดในเมียนมาตอนนี้ และก็คงไม่มีใครที่อยากจะเห็นความรุนแรงนั้นบานปลายออกมาสู่ชานแดนหรือล้ำแดนเข้ามา

เราทุกคนมีประเทศชาติต้องดูแล มีคนไทย 70 ล้านที่ต้องดูแล มีคนเมียนมาหลายล้านคนที่อพยพมาทำงานที่เราก็ต้องดูแล สันติภาพคือสิ่งที่สำคัญที่สุดก่อนที่เราจะทำสิ่งอื่นสำเร็จ และประเทศไทยคือหัวใจของสันติภาพในภูมิภาคนี้ เราต้องชัดเจน เข้มแข็ง และอดทน และความเข้มแข็งนั้นไม่ได้จำเป็นต้องแสดงออกด้วยความรุนแรงเสมอไป ความอดทน วุฒิภาวะ การแสดงออกอย่างถูกต้องในจังหวะที่ถูกต้อง ล้วนแสดงความเข้มแข็งได้ทั้งสิ้นครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เอาแล้ว! ทูตสหรัฐส่งหนังสือจี้ 'เศรษฐา' เร่งซื้อเอฟ-16

เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ส่งหนังสือถึงนายกฯ เร่งเครื่องโค้งสุดท้ายดัน เอฟ-16 เสนอเงินกู้ยืม 9 ปีแต่เสียดอกเบี้ย -การค้าต่างตอบแทนกับไทย ก่อน ทอ. ฟันธงเลือกแบบในเร็วๆ นี้

'ตำรวจไซเบอร์' เปิดปฏิบัติการ! ทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์จีน ตั้งฐานเชียงใหม่

พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการตํารวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบช.สอท.), พล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รอง ผบช.สอท.

'ผบ.ทอ.' ยังไม่เคาะ 'กริพเพน-เอฟ16' จ่อตั้ง กก.คัดเลือกแบบ

'ผบ.ทอ.' ยังไม่เคาะ ‘กริพเพน-เอฟ16’ เปิดโอกาส 2 ค่าย ยื่นข้อเสนอเพิ่ม หลังเยือน ‘สวีเดน-สหรัฐ’ เตรียมตั้ง กก.คัดเลือกแบบฯ พร้อมแจง กมธ.งบปี 68 ให้เห็นถึงเหตุผล-ความจำเป็น