ใครว่ามีแต่คนรุ่นใหม่ๆ ที่ทำงานเก่ง เพราะมีตัวอย่างชาวบ้านที่บ้านโนนชาด ต.หนองอิเฒ่า อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ โดยเฉพาะสตรีสูงวัยก็พัฒนาชุมชนเก่งไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม การทอผ้า การผลิตสินค้าโดดเด่น หรือจะเป็นการขายสินค้าชุมชนผ่านช่องทางออนไลน์ พร้อมปรับตัวและเปิดรับคำแนะนำดีๆ ที่เกิดประโยชน์ต่อชุมชนให้สามารถลุยทุกปัญหา ทำให้เกิดธุรกิจชุมชน สร้างงาน สร้างรายได้ เงินสะพัดในพื้นที่ ที่สำคัญปลุกพลังในการสืบสานงานทอผ้ามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทยไม่ให้สูญหายไป
เส้นทางการพัฒนาชุมชนแห่งนี้จนประสบผลสำเร็จ ขับเคลื่อนผ่านโครงการชุมชนดีมีรอยยิ้ม ภายใต้โครงการพัฒนาชุมชน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่เข้ามาดำเนินงานร่วมกับกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านโนนชาด จ.กาฬสินธุ์ เมื่อปี 2561 จนถึงทุกวันนี้ ช่วยถ่ายทอดองค์ความรู้และระดมสมองวางแผนงาน เพื่อให้การพัฒนาครบเครื่องมากกว่าเดิม ปัจจุบันนางบัวลา ภูหลักถิ่น เป็นประธานกลุ่ม มีสมาชิก 22 คน ทำงานเป็นเครือข่ายผ้าทอและแปรรูปจากผ้าตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ สู่ปลายน้ำ ชีวิตชาวบ้านสบายขึ้นเยอะ
สำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนดีมีรอยยิ้มยางตลาดที่มัดใจคนที่หลงใหลในผ้าไทยและสีสันจากธรรมชาติ มีสินค้ามากมายให้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็นผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่ใส่แล้วสวยเก๋ ไปจนถึงสินค้าใหม่ผ้าพื้นสำหรับนำไปตัดชุดแฟชั่นผ้าไทย อินเทรนด์ผ้าไทยใส่สนุก ซึ่งผลิตภัณฑ์ชุมชนได้รับเสียงตอบรับที่ดี ช่วยกระตุ้นแรงใจในการพัฒนาชุมชนทอผ้าแห่งนี้ไม่ให้หยุดนิ่งอีกต่อไป
นางสาวธิตาภรณ์ ภูโอบ เจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจชุมชนอาวุโส โครงการชุมชนดีมีรอยยิ้มยางตลาด กล่าวว่า เดิมกลุ่มทำกิจกรรมทอผ้าไหมพื้นบ้านและผ้าฝ้ายเป็นหลัก เช่น ผ้าถุง ผ้าสไบ ผ้าแถบ ผ้าไหมัดหมี่ ผ้าโสร่ง ฯลฯ ยังไม่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ทอเพื่อใช้เอง และขายบ้างในชุมชน ไม่รู้จักการตลาด การคิดคำนวณต้นทุน กลุ่มมีความต้องการจะพัฒนาตนเอง เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ให้เกิดได้จริง จึงร่วมกับชุมชนดีมีรอยยิ้มเมื่อ 4 ปีก่อน มีการทำงานและกิจกรรมร่วมกับกลุ่มจนถึงปัจจุบัน
จากการลงพื้นที่วิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มชุมชน พบข้อมูลที่น่าสนใจและเกิดประโยชน์ในการวางแผนพัฒนากลุ่มร่วมกันระหว่างชุมชนดีมีรอยยิ้มและชุมชน นางสาวธิตาภรณ์ กล่าวว่า จุดแข็งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่หัวไว ใจสู้ อดทน และพร้อมเรียนรู้เพื่อปรับแก้ไขให้ดีขึ้น จุดอ่อนผลิตภัณฑ์ชุมชนไม่มีคุณภาพและไม่มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ตรานกยูงทองพระราชทาน เครื่องหมายรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย และการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) นอกจากนี้ ชุมชนจำหน่ายราคาสูงเกินไป
“ การพัฒนากลุ่มใช้วิธีพาสมาชิกไปเรียนรู้ตลาดนอกพื้นที่ ได้เห็นของจริง ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอื่นๆ หลากหลายกว่าและสวยกว่า ผ่านการรับรองมาตรฐาน รวมถึงฝึกการออกร้าน มีส่วนร่วมกิจกรรมต่างๆ เมื่อมีโอกาส ฝึกการเป็นนักการตลาด คิดคำนวณต้นทุน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายชุมชนผู้ผลิต OTOP นำมาสู่การบริหารจัดการกลุ่ม เกิดผลิตภัณฑ์หลากหลาย มีการจัดทำราคาปลีกส่ง เพื่อให้เป็นธุรกิจชุมชนของกลุ่มเอง และขายสินค้าได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์และแพจเก็จต่อเนื่องที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้มากขึ้น ปัจจุบันชุมชนมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ “ นางสาวธิตาภรณ์ ให้ภาพการทำงานร่วมกับชุมชน
การพัฒนาทักษะด้านงานทอผ้าเป็นอีกมิติที่น่าสนใจ เจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจชุมชนอาวุโส บอกว่า เน้นสร้างการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกลุ่มทอผ้าเป็นเครือข่ายทอผ้า เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ ทักษะงานทอ รวมถึงสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มงานผ้าและกลุ่มแปรรูปผ้าในพื้นที่ จนตอนนี้เป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านโนนชาด ภายใต้ชุมชนดีมีรอยยิ้ม ที่ทำงานเป็นเครือข่ายตั้งแต่ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ สามารถสร้างรายได้ให้คนในชุมชนได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนมีโอกาสเข้าถึงงบประมาณโครงการจากหน่วยงานในพื้นที่ ขณะนี้ของบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการจัดตั้งศูนย์รวมผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อให้การบริหารจัดการครบวงจรยิ่งขึ้น
ด้านความคิดสร้างสรรค์ก็ไม่ต้องเป็นห่วง ชุมชนดีมีรอยยิ้มยางตลาดพร้อมเติมเต็มไอเดียและความสนุกในการทำงานผ้าไทยทุกวันให้มีสีสัน ไม่จำเจ นางสาวธิตาภรณ์ กล่าวว่า ปี 2564 โครงการ Creative Young Designers ร่วมกับโครงการ Education Institue Support Activity มหาวิทยาลัยศิลปากร และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านโนนชาด ซึ่งมีเป้าหมายนำความรู้ความสามารถด้านการออกแบบการแปรรูปให้กับชุมชนจากไอเดียใหม่ๆ ทั้งการดีไซน์ ลายผ้า จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักศึกษาม.ศิลปากรและชุมชน ชุมชนได้รับลายผ้าใบชาดที่มีอัตลักษณ์ชุมชน แพทเทิร์นการออกแบบ ชาวบ้านที่นี่ไม่หยุด นำไปใช้พัฒนาต่อยอด จนเกิดสินค้าใหม่ อาจารย์และนักศึกษาต้องกลับมาเรียนรู้และทดลองกับชุมชนโนนชาดอีกครั้ง อนาคตมหาวิทยาลัยจะปรับแผนให้มีการเรียนกับชุมชนจริงด้วย
สำหรับชุมชนดีมีรอยยิ้มยางตลาด ถือเป็นโมเดลต้นแบบการพัฒนาชุมชนที่สามารถนำไปประยุกต์และขยายผลในพื้นที่อื่นๆ โดยนางบัวลา ภูหลักถิน ประธานกลุ่มปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านโนนชาด กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่โครงการพัฒนาชุมชนของไทยเบฟเข้ามาช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือของกลุ่มชุมชน การที่มีเจ้าหน้าที่ลงมาทำงานในพื้นที่ก็เปรียบเสมือนการมีที่ปรึกษาที่เป็นลูกหลานในบ้านเกิดมาช่วยกันพัฒนาอย่างเต็มกำลัง ทำให้ชุมชนมีสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และผลิตภัณฑ์กลุ่มชุมชนมีการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายขึ้น เกิดการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับกลุ่มอื่นๆ นอกพื้นที่ เกิดผลงานชิ้นใหม่และองค์ความรู้แลกเปลี่ยนกันระหว่างสมาชิกกลุ่มกับเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดการพัฒนาผ้าทอและชุมชนอย่างต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“กรุงเทพ ดีต่อใจ Bangkok Bestival 2025” เชื่อมโยงพื้นที่สีเขียวกลางกรุง จัดกิจกรรม “ฮีลกาย ฮีลใจ” สู่การใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน
ต้อนรับศักราชใหม่เริ่มต้นด้วยวัน “ศุกร์แรก” ของปี กับเทศกาล “กรุงเทพ ดีต่อใจ Bangkok Bestival 2025” กิจกรรมแห่งความสุข ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์ทุกความต้องการของคนเมืองทุกเพศทุกวัย ภายใต้ความร่วมมือของ
“ซึ้งใจมาหาถึงบ้าน” คาราวาน “ผ้าห่มผืนเขียว” เดินทางข้ามหุบเขา มอบไออุ่นถึงมือพี่น้องชาวพิษณุโลก
หากเอ่ยถึงจังหวัดภาคเหนือนตอนล่าง พิษณุโลกเป็นจังหวัด ที่มีลักษณะเป็นเทือกเขาและที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะตำบลบ่อภาค เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่เข้าถึงยาก
กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงาน'ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร นครนายก'
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปยังเขื่อนขุนด่านปราการชล อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ทรงเปิด “ศูนย์ฝึกอบรมสุดาเดือนเพ็ญและที่พักของมูลนิธิชัยพัฒนา” และงาน “ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร จังหวั
เตรียมปักหมุดสัมผัสลมหนาวใกล้เมืองกรุง ในงาน “ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร จังหวัดนครนายก” 12-15 ธันวาคม นี้
เตรียมปักหมุดเดินทางท่องเที่ยวสัมผัสลมหนาวใกล้เมืองกรุงฯ กันได้ในงาน “ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร จังหวัดนครนายก” ที่จะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 12 -15 ธันวาคม นี้ ณ เขื่อนขุนด่านปราการชล
คาราวาน “ผ้าห่มผืนเขียว” ปีที่ 25 เดินทางสู้หนาว มอบรอยยิ้ม และไออุ่นถึงมือพี่น้องชาวหนองคาย
นับเป็นเวลา 25 ปี ที่คาราวาน "ผ้าห่มผืนเขียว" ในโครงการ “ไทยเบฟ..รวมใจต้านภัยหนาว" ได้ออกเดินทางส่งมอบรอยยิ้ม และความอบอุ่นไปยังพี่น้องผู้ประสบภัยหนาวในพื้นที่ห่างไกล