แทบทุกปี "ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ" จะเป็นประเด็นที่เราจะได้ยินได้เห็นในข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ หรือสื่อต่างๆ ตามด้วยการเรียกร้องของเกษตรกรที่ขอให้รัฐบาลเข้าไปแก้ไข จนถึงโอบอุ้มเพราะราคาขายต่ำ ไม่คุ้มต้นทุนการผลิต ไม่ว่าจะเป็น ข้าว ถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน กาแฟ ยางพารา พริกไทย หอมหัวใหญ่ และกระเทียม ฯลฯ
เพื่อแก้ปัญหา รัฐบาลก็มักจะจัดหาเงินมาก้อนหนึ่ง แล้วออกไปรับซื้อพืชผลดังกล่าวบ้างเล็กน้อย หรือให้สถาบันการเงินออกรับจำนำ หรือให้เงินกู้แก่เกษตรกร โดยเอาพืชผลจำนำไว้ เมื่อราคาสูงขึ้น จึงจะไถ่ถอนจำนำ แล้วขาย และใช้หนี้เงินกู้ ถ้าเป็นสินค้าที่ส่งออก จำหน่ายยังต่างประเทศ รัฐบาลก็อาจจะเร่งหาตลาดต่างประเทศ
แต่ทั้งหมดเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ในปีต่อไปเหตุการณ์นี้ ก็อาจจะเกิดขึ้นอีก
ทำอย่างไร?เกษตรกรจะไม่ต้องเผชิญกับปัญหาซ้ำซาก วนเวียนเป็นวัฏฏจักรไม่รู้จบ! ...ถือเป็นโจทย์ปัญหาที่สำคัญ ที่โครงการ "ชุมชนดีมีรอยยิ้ม" ภายใต้การสนับสนุนของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ช่วยเข้ามาแก้ปัญหา และถือเป็นหนึ่งในปฏิบัติการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง.. ด้วยหลักการเข้าถึงเข้าใจและยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือเกื้อกูลพร้อมเป็นที่ปรึกษาให้เกษตรกร ได้หาทางออกที่จะพึ่งพาตนเองแบบบูรณาการ
"ชุมชนดีมีรอยยิ้มหนองคาย" คือหนึ่งในหลายๆตัวอย่าง ที่สามารถแก้โจทย์ปัญหานี้ได้ จนกลายเป็นต้นแบบของชุมชนอื่นๆในปัจจุบัน โดยที่นี่ดำเนินงานขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก มุ่งเน้นด้านการเกษตร ผ่านวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์จังหวัดหนองคาย ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของเกษตรกรที่ต้องการหาช่องทางจำหน่ายผลผลิตร่วมกัน เกิดการผลิตอาหารโดยใช้พืชผักที่ปลอดภัย คือ ลด ละ เลิก ใช้สารเคมีในการผลิต ทำให้เกษตรกรมียอดขายเกิดขึ้นแล้ว จำนวน 1,358,912.5 บาท
แต่กว่าจะมีรอยยิ้มในวันนี้ ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2562 ทีมชุมชนดีมีรอยยิ้มหนองคายได้ลงพื้นที่พบปะพูดคุยกับเกษตรกรพื้นที่ตำบลเวียงคุกและตำบลปะโค ในเขตอำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย พบว่ายังมีเกษตรกรหลายๆรายประสบปัญหาเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกร คือ แต่เดิมเป็นเกษตรกรทำการเพาะปลูกแบบทั่วไป ปลูกและขายในพื้นที่ชุมชนตลาดท้องถิ่น จากการลงสำรวจพบว่ามีบางส่วนที่นำผลผลิตไปจำหน่ายในตลาดและหลายคนที่มีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงที่ ซึ่งในส่วนนี้จะพบปัญหาเรื่องราคาไม่แน่นอน ไม่สามารถกำหนดราคาเองได้หรือบางครั้งถึงขั้นไม่สามารถจำหน่ายผลผลิตได้เลย ทำให้เกษตรกรเกิดความเสียหายขาดทุนในรอบผลิตนั้นๆ
สิ่งที่เกษตรกรต้องการคือ เข้าถึงแหล่งจำหน่ายผลผลิตได้มากยิ่งขึ้น ประกอบกับในช่วงนั้นมีการขับเคลื่อนโครงการอาหารปลอดภัย ชุมชนดีมีรอยยิ้มหนองคายจึงได้ประสานกับโรงพยาบาลหนองคาย เพื่อช่วยรับซื้อผลผลิตดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วยได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย ปลอดสารเคมี และได้รับคุณค่าทางอาหารที่มีประโยชน์ จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นให้กับเกษตรกรได้มีแรงจูงใจว่าจะมีที่รับซื้อผลผลิตจริง
จากนั้นชุมชนดีมีรอยยิ้มหนองคาย จึงได้จัดการประชุมร่วมกันระหว่างเกษตรกร เพื่อทำความเข้าใจ มีเป้าหมายร่วมกันคือ ยกระดับการผลิต โดยปรับเปลี่ยนจากการปลูกพืชทั่วไป เป็นการผลิตพืชแบบปลอดภัย ลด ละ เลิก ใช้สารเคมี มุ่งสู่การเป็นเกษตรอินทรีย์ในอนาคต และได้รับรองมาตรฐานการผลิต ในปี พ.ศ. 2562 พร้อมทั้งทำข้อตกลงร่วมกันในการจัดตั้ง “กลุ่มส่งเสริมอาชีพเกษตรปลอดภัย” มีการตั้งคณะกรรมการจากเกษตรกรขึ้นมาร่วมคิด จัดการ ร่วมกัน จากการรวมตัวกันของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอเมืองหนองคาย โดยมีคนในชุมชนเป็นประธานในการขับเคลื่อน มีสมาชิกแรกเริ่ม จำนวน 23 ครัวเรือน
ในด้านการรับรองคุณภาพ ทางกลุ่มได้ดำเนินการขอรับรองมาตรฐานการผลิตอาหารปลอดภัย (GAP) จากกรมวิชาการเกษตร โดยสุ่มเก็บตัวอย่างผลผลิตเพื่อตรวจสอบหาสารเคมีตกค้าง พบว่าผลผลิตไม่มีสารเคมีใดๆ ทำให้มั่นใจได้ว่า ผลผลิตของกลุ่มฯ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งโรงคัดผลผลิตที่ได้รับรองมาตรฐาน สบ.1 จากกระทรวงสาธารณะสุข อีกทั้งการยกระดับกลุ่ม จดแจ้งเป็น “วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์จังหวัดหนองคาย”
จุดเริ่มต้นกระบวนการทำงาน เกิดจากการรวมตัวกันของเกษตรกรผู้ผลิตที่มีความต้องการด้านช่องทางตลาด ซึ่งกว่าจะมาถึงทุกวันนี้ การบริหารจัดการภายในกลุ่มมีการเริ่มต้นจากการตกลงหารือร่วมกัน โดยมี คุณสุชาติ คัดทรายขาว จากชุมชนดีมีรอยยิ้มหนองคาย เป็นที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำแก่กลุ่มฯ ตั้งแต่กระบวนการจัดตั้งกลุ่มตลอดจนการบริหารจัดการกลุ่มร่วมกัน ประสานติดตามงาน ยอดขาย และแหล่งทุนสำรองจ่ายหมุนเวียน ซึ่งนอกจากจะมีการส่งเสริมอาชีพเกษตรตามบริบทชุมชนแล้ว ทางกลุ่มฯ ยังได้คัดเลือกตัวแทนเกษตรกร จำนวน 3 คน เป็นศูนย์กลางในการรวมรวบผลผลิตจากสมาชิกและกระจายออกสู่ตลาด เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน รวมถึงมีระบบการจัดการด้านบัญชีที่โปร่งใส และมีการสรุปรายงานแจ้งให้สมาชิกรับทราบทุกครั้ง
ในอนาคตอันใกล้ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์จังหวัดหนองคาย เตรียมดำเนินการเพิ่มช่องทางการตลาดให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ด้วยการขยายพื้นที่ไปยังห้างสรรพสินค้ารอบชุมชน รวมถึงการรณรงค์ให้เกษตรกรในพื้นที่ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี เพื่อรวมกลุ่มการทำเกษตรแบบปลอดภัย นำไปสู่การสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้กับชุมชนต่อไป
นับเป็นอีกหนึ่งโครงการดีๆ ที่ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชน ด้วยมุ่งหวังว่าจะช่วยให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“กรุงเทพ ดีต่อใจ Bangkok Bestival 2025” เชื่อมโยงพื้นที่สีเขียวกลางกรุง จัดกิจกรรม “ฮีลกาย ฮีลใจ” สู่การใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน
ต้อนรับศักราชใหม่เริ่มต้นด้วยวัน “ศุกร์แรก” ของปี กับเทศกาล “กรุงเทพ ดีต่อใจ Bangkok Bestival 2025” กิจกรรมแห่งความสุข ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์ทุกความต้องการของคนเมืองทุกเพศทุกวัย ภายใต้ความร่วมมือของ
“ซึ้งใจมาหาถึงบ้าน” คาราวาน “ผ้าห่มผืนเขียว” เดินทางข้ามหุบเขา มอบไออุ่นถึงมือพี่น้องชาวพิษณุโลก
หากเอ่ยถึงจังหวัดภาคเหนือนตอนล่าง พิษณุโลกเป็นจังหวัด ที่มีลักษณะเป็นเทือกเขาและที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะตำบลบ่อภาค เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่เข้าถึงยาก
กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงาน'ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร นครนายก'
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปยังเขื่อนขุนด่านปราการชล อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ทรงเปิด “ศูนย์ฝึกอบรมสุดาเดือนเพ็ญและที่พักของมูลนิธิชัยพัฒนา” และงาน “ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร จังหวั
เตรียมปักหมุดสัมผัสลมหนาวใกล้เมืองกรุง ในงาน “ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร จังหวัดนครนายก” 12-15 ธันวาคม นี้
เตรียมปักหมุดเดินทางท่องเที่ยวสัมผัสลมหนาวใกล้เมืองกรุงฯ กันได้ในงาน “ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร จังหวัดนครนายก” ที่จะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 12 -15 ธันวาคม นี้ ณ เขื่อนขุนด่านปราการชล
คาราวาน “ผ้าห่มผืนเขียว” ปีที่ 25 เดินทางสู้หนาว มอบรอยยิ้ม และไออุ่นถึงมือพี่น้องชาวหนองคาย
นับเป็นเวลา 25 ปี ที่คาราวาน "ผ้าห่มผืนเขียว" ในโครงการ “ไทยเบฟ..รวมใจต้านภัยหนาว" ได้ออกเดินทางส่งมอบรอยยิ้ม และความอบอุ่นไปยังพี่น้องผู้ประสบภัยหนาวในพื้นที่ห่างไกล