14 มิ.ย.2565 - ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงพรรคฝ่ายค้านเตรียมยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ว่าตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 151 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจํานวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร มีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรี เป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ..”
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจ เป็นวิถีทางการเมืองประเพณีในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ระบบ Parliament ให้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติสามารถตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารในการทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินและกำกับนโยบาย เป็นไปตามหลักตรวจสอบถ่วงดุล ตามทฤษฎีแบ่งแยกอำนาจ หลักความชอบด้วยกฎหมาย หลักความคุ้มค่า หลักประโยชน์สาธารณะ อันเป็นหลักกฎหมายมหาชน แต่ในขณะเดียวกัน มาตรา 151 วรรคสอง ได้บัญญัติว่า
“..เมื่อได้มีการเสนอญัตติตามวรรคหนึ่งแล้ว จะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้คะแนนเสียงตามวรรคสี่..” ดังนั้น นับตั้งแต่ยื่นญัตติ พล.อ.ประยุทธ์ฯ นายกรัฐมนตรีจะชิงยุบสภาไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 151 วรรคสอง แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ในการโหวตมติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ สภาผู้แทนราษฎร ตามมาตรา 151 วรรคสี่ ถือว่า เป็นเรื่องการควบคุมเสียง ส.ส.ตามคณิตศาสตร์การเมืองไทย ถือเสียงกึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ไม่เกี่ยวกับเสียงของสมาชิกวุฒิสภา หากโหวตเสียงไว้วางใจเกินกึ่งหนึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ฯ นายกรัฐมนตรี ก็ได้ไปต่อ หากเสียงโหวตไม่เกินกึ่งหนึ่ง นายกรัฐมนตรีย่อมพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะทันทีตามมาตรา 167 วรรคหนึ่ง(1) ประกอบมาตรา 170 วรรคหนึ่ง(3) เป็นหลักความรับผิดชอบร่วมกัน
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า เมื่อรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตําแหน่งตาม 167 วรรคหนึ่ง(1) ให้ดําเนินการเพื่อให้มีคณะรัฐมนตรีขึ้นใหม่ตามมาตรา 158 และมาตรา 159 ทั้งนี้ พิจารณาเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ โดยพิจารณาตามบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรี ที่อยู่ในบัญชีของพรรคการเมืองตามลำดับ เฉพาะพรรคการเมืองที่ได้ ส.ส.ไม่น้อยกว่า 5% หรือ จำนวน ส.ส.25 คนขึ้นไป ซึ่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 168 ให้คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตําแหน่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปภายใต้เงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีพ้นจากตําแหน่งตามมาตรา 167 (1) (2) หรือ (3) ให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ เว้นแต่ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีพ้นจากตําแหน่ง ตามมาตรา 167 (1) เพราะเหตุขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 หรือมาตรา 160 (4) หรือ (5) นายกรัฐมนตรีจะอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่าหากพิจารณาสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงโค้งสุดท้าย วิเคราะห์ตัวแปร สมการคณิตศาสตร์การเมืองไทย ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน มี 3 ตัวแปร 3 ปัจจัยที่ ฝ่ายค้านอ่อนแรง เกิดแรงผลักดันและสนับสนุนโหวตเสียงไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีให้อยู่เกือบครบเทอม โดยมีเสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่ง ดังนี้
ประการแรก กรณีการโหวตรับรองกฎหมายการเงิน หากกฎหมายการเงินไม่ผ่าน หัวหน้าฝ่ายบริหารอาจยุบสภาหรือลาออก ไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญบัญญัติให้พ้นจากตำแหน่ง แต่เป็นจารีตประเพณี หากเทียบเคียงของรัฐสภาอังกฤษ ในระบบเวสต์มินสเตอร์ หากกฎหมายงบประมาณรายจ่ายไม่ผ่านความเห็นชอบของสภาสามัญชน ฝ่ายรัฐบาลมีทางเลือกอยู่ 2 ทางคือ ลาออกหรือเปิดอภิปรายให้จัดการเลือกตั้งใหม่ เป็นจารีตประเพณีเช่นกัน กรณีร่างพระราชบัญญัติรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2566 เป็นกฎหมายการเงินที่สำคัญ ในวาระหนึ่ง ขั้นรับหลักการ ฝ่ายรัฐบาล มีเสียงโหวตรับรอง 278 ต่อ 194 เสียง วงเงิน 3.185 ล้านล้านบาท ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาและเห็นชอบแปรญัตติ 30 วัน
"หากวิเคราะห์ถอดรหัสสมการทางการเมืองเสียงฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายค้านห่างกัน 84 เสียง ซึ่งนำไปเทียบเคียงกับศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ปัจจุบันสภา มี ส.ส.เพียง 475 เสียง ไม่ครบ 500 คน กึ่งหนึ่งจำนวน 238 เสียง ดังนั้น ปรากฎการชิงไหวชิงพริบ ของแกนนำฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน กรณีนัดทานอาหารกับพรรคขนาดเล็ก หรือกลุ่ม 16 (พ้องชื่อกับกลุ่ม 16 ในอดีต) เป็นเพียงเทคนิคสับขาหลอกเพื่อสร้างอำนาจต่อรองในกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองในโค้งสุดท้ายของเทอมสุดท้ายก่อนจะครบวาระ 4 ปี ในวันที่ 23 มีนาคม 2566 การรวมเสียงโหวตพรรคเศรษฐกิจไทย ซึ่ง รอ.ธรรมนัส พรหมเผ่า ว่าที่หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย แม้จะยังไม่แน่นอนว่า จะสนับสนุนฝ่ายใด ในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ หากพิจารณาถึงโควต้าการนั่งกรรมาธิการงบประมาณ ที่กลุ่ม ร.อ.ธรรมนัส ได้โควต้า จำนวน 3 ที่นั่ง โควต้าพรรคเศรษฐกิจไทย 2 ที่นั่ง และโควต้าคณะรัฐมนตรี 1 ที่นั่ง คือ นายไผ่ ลิกค์ ส.ส.กำแพงเพชรและว่าที่เลขาธิการพรรคเศรษฐกิจไทย บ่งชี้ให้เห็นลักษณะเชิงต่างตอบแทนทางการเมืองในการโหวตเสียงให้ แม้ พล.อ.ประยุทธ์ฯ ยืนยันไม่ปรับคณะรัฐมนตรีและไม่ให้ตำแหน่งในโควต้าของพรรคเศรษฐกิจไทยก็ตาม"
ประกอบกับ ร.อ.ธรรมนัส เท่าที่ทราบในขณะนี้ ยังมีชนักติดหลังใน ป.ป.ช.เชื่อว่า เกมล้มพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โอกาสประสบผลสำเร็จสัดส่วนน้อยและล้มไม่เป็นท่า เพราะการรวบรวมเสียงกับฝ่ายค้าน มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของ สภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 151 วรรคสี่ แห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แม้ร.อ.ธรรมนัสจะมีเสียงในมือ 16 เสียงและกลุ่ม 16 รวมเป็น 32 เสียง หากนกลุ่มธรรมนัสและกลุ่ม 16 ไปเติมให้ฝ่ายค้าน 194+32=226 เสียงเท่านั้น
"ส่วนฝ่ายรัฐบาลมี 249 เสียง เท่ากับฝ่ายรัฐบาลยังมีเสียงมากกว่า 226/249 เสียง ยังไม่รวมเสียงกลุ่มงูเห่า ดังนั้น เกมล้มพล.อ.ประยุทธ์นายกรัฐมนตรี ภาค 2 โอกาสที่พรรคเศรษฐกิจไทยและกลุ่ม 16 เทคะแนนโหวตให้นายกรัฐมนตรีค่อนข้างโอกาสสูงเพราะฝ่ายค้านอ่อนแรงและรวบรวมเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้"
นักกฎหมายผู้นี้ กล่าวต่อว่า แม้ รอ.ธรรมนัส ให้สัมภาษณ์ว่า อยู่ข้างประชาชน แนวทางจะไม่ร่วมสังฆกรรมกับพล.อ.ประยุทธ์ฯ นายกรัฐมนตรี แต่พรรคพลังประชารัฐ มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค เป็นพี่ใหญ่ ที่ รอ.ธรรมนัสฯ ให้ความเกรงใจ ในทางการเมืองไม่มีมิตรแท้ ศัตรูถาวร กรณี”บิ๊กน้อย” พล.อ.วิชญ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา ลาออกจากหัวหน้าพรรค อาจกระทบความสัมพันธ์บ้าง แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการควบคุมรวบรวมเสียงโหวตในสภา หากว่า เสียงของพรรคเศรษฐกิจไทย 16 เสียง และกลุ่ม 16 รวม 32 เสียง โหวตไม่ไว้วางใจหรืออีกช่องทางหนึ่งงดออกเสียง ถอดรหัสสมการคณิตศาสตร์ทางการเมือง มีโอกาสเป็นไปได้น้อย โดยเฉพาะ ส.ส.กลุ่ม 16 พรรคร่วมรัฐบาล ค่อนข้างนกรู้หาก 3 ป.สะกิดเมื่อไหร่ เสียงโหวกเหวกโวยวาย ตามธรรมชาตินักการเมืองย่อมเงียบทันที คะแนนเสียงเหล่านั้นยังอยู่กับฝ่ายรัฐบาล
ประการที่สอง ตัวแปรฝ่ายค้านอ่อนแรงลง มี 3 ปัจจัย คือ (ปัจจัยแรก) ส.ส.บัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งครั้งหน้า ต้องการลงแข่งขันพื้นที่ในระดับเขตเลือกตั้ง แย่งชิงพื้นที่ หากไปลงบัญชีรายชื่อ สูตรหาร 100 ตามมาตรา 91 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 ที่อยู่ระหว่างแก้ไขใหม่ คะแนน 350,000 ต่อคน โอกาสกลับมาเป็น ส.ส.น้อยมาก การไปลงเขต หลายพื้นที่ ทำคะแนน 45,000 คะแนนขึ้นไป มีโอกาสกลับมาเป็น ส.ส.ง่ายกว่า ทำให้เกิดงูเห่าง่าย ปันใจไปอยู่พรรคการเมืองอื่นล่วงหน้า ให้สังเกตงดออกเสียง หรือป่วยการเมือง ให้ตีเนียน คือเข้าแอดมิดโรงพยาบาล ในวันที่ต้องโหวตเรื่องสำคัญและโดยเปิดเผยบางคนใจกล้า โหวตสวนมติพรรค
ปัจจัยที่สอง ขาดอุดมการณ์ทางการเมือง ย้ายพรรคไปเรื่อย ซึ่งการยุบสภา จะต้องไปหาสังกัดพรรคใหม่ เพราะกฎหมายบังคับให้สังกัดพรรคการเมือง เพียงพรรคเดียวโดยหลักมีระยะเวลาติดต่อกัน 90 วันเว้นแต่ยุบสภาจากระยะเวลา 90 วันลดลงเหลือ 30 วันตามมาตรา 97 วรรคหนึ่ง(3) แห่งรัฐธรรมนูญ 2560 ส่วนการจัดการเลือกตั้ง กฎหมายกำหนดให้จัดการเลือกตั้งภายใน 45 วัน ไม่เกิน 60 วัน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 103 วรรคสาม หากรัฐบาลอยู่ครบตามวาระ การจัดการเลือกตั้ง จะต้องดำเนินการเลือกตั้ง ส.ส.ใหม่ ภายใน 45 วัน ตามมาตรา 102 วรรคหนึ่ง ในทางรัฐศาสตร์ เรียกนักการเมืองเหล่านี้ว่า พวก เด-มา-ก๊อก ให้สังเกต พวกงูเห่าไร้อุดมการณ์ จะชิงลาออกจาก ส.ส.ก่อนครบอายุสภาไม่เกิน 6 เดือน เนื่องจากหากเป็น ส.ส.เขต จะไม่มีการเลือกตั้งซ่อมใหม่
ปัจจัยที่สาม ส.ส.ฝากเลี้ยง หรืองูเห่าฝากเลี้ยง เนื่องจาก ส.ส.สังกัดพรรคการเมืองแล้วจะย้ายพรรคการเมืองไม่ได้เพราะการลาออกจากพรรคการเมืองที่สังกัด จะทำให้พ้นสภาพความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 101 วรรคหนึ่ง(8) แห่ง รัฐธรรมนูญ 2560 กรณีนี้ สังกัดในนาม แต่ไปทำกิจกรรมในพรรคการเมืองอื่น เพียงรอเวลาเท่านั้น ส่วนใหญ่ ชอบแสดงตัว ชัดเจน ปัจจัย 3 ประการข้างต้น ทำให้ฝ่ายค้านอ่อนแรง ขาดสัจจะทางการเมือง มีผลต่อการควบคุม บริหารเสียงของฝ่ายค้านหรือวิปฝ่ายค้าน
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า ประการที่สาม การควบคุมเสียงข้างมากฝ่ายรัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาล หากเทียบเคียงกับการโหวตผ่านกฎหมายการเงิน ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ถือว่า ตัวแปรวิปฝ่ายรัฐบาลคุมเสียงได้ค่อนข้างดี เป็นไปทิศทางเดียวกัน แตกต่างฝ่ายค้าน ที่ ส.ส.โหวตสวนมติพรรค แม้ตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะมีอิสระไม่อยู่ภายใต้อาณัติของบุคคลใดก็ตาม แต่พรรคการเมืองย่อมมีบทบาทในการควบคุมดูแลสมาชิกพรรคการเมืองให้อยู่ในขอบเขตได้ แม้การโหวตสวนมติพรรค ไม่ถือเป็นเหตุให้ขับออกจากพรรคก็ตาม แต่อาจถูกสอบสวนจริยธรรมตามข้อบังคับพรรคการเมืองนั้นอาจให้งดเข้าร่วมประชุมพรรคหรือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของพรรค เรียกว่า “ดองเค็ม” ฝ่ายค้านและพรรคร่วมฝ่ายค้าน ย่อมมีจุดอ่อนมากกว่า
ประเด็นนี้ ในทางการเมือง ฝ่ายที่มีอำนาจรัฐ อาจมีค่าตอบแทนที่ไม่สามารถเปิดเผยได้ เป็นรายเดือนให้กับ ส.ส.ของพรรคเพื่อใช้ในการทำกิจกรรมทางการเมืองในพื้นที่ นอกเหนือจากเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ส.ส. ในทางตรงกันข้าม ฝ่ายค้านหรือพรรคร่วมฝ่ายค้าน กลับไม่มีสิ่งจูงใจ ทำให้เกิดการบริการควบคุมเสียงโหวตของ ส.ส.ที่สังกัดพรรคไม่ได้ อันมีผลทำให้เกิดงูเห่าและตัวแปรการย้ายพรรคล่วงหน้า หมายถึง ยังเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเดิม คงสถานะความเป็น ส.ส.แต่เวลาลงพื้นที่ ไม่ใช่สัญลักษณ์พรรคการเมืองเดิม แต่เปลี่ยนไปตามแนวทางพรรคการเมืองที่จะไปสังกัดใหม่
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า หากพิจารณาตัวแปร 3 ประการ 3 ปัจจัยข้างต้น ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คณิตศาสตร์การเมืองไทยกรณีโหวตเสียง ให้ไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจ ให้พิจารณาเฉพาะโหวตเสียงของ ส.ส.เท่านั้น(475 เสียง) ไม่เกี่ยวกับสมาชิกวุฒิสภา 250 เสียง การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี คนละส่วนกัน ไม่เกี่ยวข้องกัน เชื่อว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ไม่สามารถล้มนายกรัฐมนตรีได้ ด้วยเหตุตัวแปรข้างต้น
ส่วนประเด็นนายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปี ไม่ได้ ตามมาตรา 158 วรรคสี่ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ความเห็นทางวิชาการ กฎหมายไม่มีผลย้อนหลังในทางจำกัดสิทธิบุคคล ให้ถือตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้นับครั้งแรกนับแต่การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2562 ไม่ใช่นับครั้งแรกในปี 2557 ซึ่งเป็นคนละกรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจ หากฝ่ายค้านปรากฎเหตุอันควรสงสัยในวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นเหตุให้สมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลงรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้สามารถเข้าชื่อ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา มีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตีความได้ ตามมาตรา 82
ทั้งนี้ ระยะเวลาการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ มีกระบวนการขั้นตอนให้โอกาสผู้ถูกร้องชี้แจง ระยะเวลาการพิจารณากว่าจะมีคำวินิจฉัยกับอายุสภาที่เหลืออยู่ คงไม่ทันอายุสภาในชุดนี้.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
มองต่างมุม 'ดร.ณัฏฐ์' เชื่อศาลรธน.ตีตกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างฯ
สืบเนื่องจากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น เพื่อวินิจฉัยสั่งการให้ นายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย เลิกการก
รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!
นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง
ปากไว! นายกฯ อบรม 'พ่อนายกฯ' รอที่ประชุมเคาะก่อนไปพูดบนเวทีแจกเงินหมื่น
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ขึ้นเวทีปราศัยหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่น มอง