ยกที่ 1 'ทุกขลาภร้อน' สำหรับ 'ผู้ว่าฯชัชชาติ'

14 มิ.ย.2565 - ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความต่อเนื่องในเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับการชุมนุมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) ที่กลับมาชุมนุมอีกครั้ง ในยุคนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นผู้ว่าฯกทม. โดยมีรายละเอียดดังนี้

“ทุกขลาภร้อนๆอันแรก ของ ท่านผู้ว่าชัชชาติ”

เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2565

อาจารย์ชัชชาติ ให้สัมภาษณ์ “ยืนยันว่า เสรีภาพการชุมนุมป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งต้องมีการอำนวยความสะดวกเต็มที่ ต้องมีการเก็บขยะ น้ำดื่ม ห้องน้ำสาธารณะ ความปลอดภัย แพทย์ฉุกเฉิน กล้องวงจรปิดเพื่อให้เกิดความปลอดภัย จำเป็นต้องดูแลทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน

…. ทั้งนี้ กทม.ต้องเตรียมพื้นที่สาธารณะให้มีการชุมนุมได้ ตามมาตรา 9 ของ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ หน่วยงานราชการสามารถกำหนดพื้นที่สาธารณะเพื่อการชุมนุมได้ โดยผู้ชุมนุมไม่ต้องขออนุญาตตำรวจตามหมวด ๒ เช่น ลานคนเมือง สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น หรือสวนสาธารณะในทุกๆเขตได้”

อาจารย์ครับ ตอนนี้ อาจารย์เป็นผู้ว่า กทมแล้ว ช่วยเตรียมพื้นที่ให้ประชาชนที่กำลังชุมนุมแถวดินแดง ตามมาตรา 9 ที่ว่าหน่อยเถิดครับ

พี่น้องประชาชนเหล่านั้น จะได้ไม่ต้องเจอตำรวจเวลาชุมนุมครับ!!"
---
“ยกที่หนึ่ง ! ทุกขลาภร้อน สำหรับ ผู้ว่า กทม”

การชุมนุมต่อเนื่องที่กลับมาใหม่ และสัญญาของท่านผู้ว่าชัชชาติ ตอนหาเสียงว่า“จะเตรียมพื้นที่สาธารณะให้มีการชุมนุมได้ ตามมาตรา 9 ของพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ หน่วยงานราชการสามารถกำหนดพื้นที่สาธารณะเพื่อการชุมนุมได้ โดยผู้ชุมนุมไม่ต้องขออนุญาตตำรวจ”

"การชุมนุมขณะนี้ จะเป็น การลองของกับ หรือ เล่นของของผู้ว่าชัชชาติโปรดติดตาม!"
--
ทั้งนี้ ก่อนการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ศ.ดร.ไชยันต์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า "เท่าที่ประเมินจากสถานการณ์คาดว่า ใครได้เป้นผู้ว่ากทม.ถือว่าเป็นทุขลาภ ขนาดหนัก เพราะอะไร โปรดติดตาม"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 36): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

อากาศเปลี่ยนแปลง ‘กทม.’ อุณหภูมิลดลง ‘เหนือ-อีสาน’ หนาวเย็น ‘ภาคใต้’ ฝนตก

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้แล้ว

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 47: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ปรับคณะรัฐมนตรีและชะลอการใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราชั่วคราว