ประกาศแล้ว! อัตราค่าจ้าง 16 สาขาอาชีพ อีก 3 เดือนใช้บังคับ

10 มิ.ย.2565 - เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 11)

ด้วยคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 ได้มีการประชุมศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับตามมาตรฐานฝีมือ และมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2565ให้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ รวม 16 สาขา โดยใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นเกณฑ์วัดค่าทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 79 (4) และมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551คณะกรรมการค่าจ้าง จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 2 ในประกาศนี้

“มาตรฐานฝีมือ” หมายความว่า มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน

ข้อ 3 อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในแต่ละสาขาอาชีพและในแต่ละระดับ ให้เป็นดังนี้

(1) สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง สาขาช่างติดตั้งยิปซัม ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยห้าสิบบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยเก้าสิบห้าบาท

(2) สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง สาขาช่างเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยสี่สิบห้าบาท

(3) สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง สาขาช่างปูกระเบื้องผนังและพื้น ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่า วันละสี่ร้อยห้าสิบบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยห้าสิบบาท และระดับ 3 เป็นเงิน ไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยห้าสิบบาท

(4) สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง สาขาช่างสีอาคาร ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยหกสิบห้าบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท

(5) สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง สาขาช่างก่อและติดตั้งคอนกรีตมวลเบา ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยเจ็ดสิบห้าบาท และระดับ2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยเจ็ดสิบห้าบาท

(6) สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ สาขาช่างเครื่องประดับ (รูปพรรณ) ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยห้าสิบบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยห้าสิบบาทและระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยห้าสิบบาท

(7) สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ สาขาช่างประกอบติดตั้งเฟอร์นิเจอร์ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสามสิบบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยห้าสิบบาท

(8) สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ สาขาช่างฝีมือเครื่องประดับแนวอนุรักษ์ (เทคนิคโบราณ) ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยยี่สิบห้าบาท

(9) สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ สาขาช่างเครื่องถม ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยยี่สิบห้าบาท

(10) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ(หัตถบำบัด) ระดับ1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยหกสิบบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยเจ็ดสิบห้าบาท

(11) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาผู้ประกอบขนมอบ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ สี่ร้อยบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยห้าบาท

(12) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาพนักงานต้อนรับส่วนหน้า ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสี่สิบบาท และระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยหกสิบห้าบาท

(13) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาพนักงานแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่มในธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ระดับ1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสี่สิบบาท

(14) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาช่างแต่งผมสตรี ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสี่สิบบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยสิบบาท และระดับ3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยห้าสิบบาท

(15) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาช่างแต่งผมบุรุษ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสามสิบบาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยสามสิบบาท

(16) สาขาอาชีพภาคบริการ สาขาการดูแลผู้สูงอายุ ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท

ข้อ 4 เพื่อประโยชน์ตามข้อ 3 (1) ถึง (16) คำว่า “วัน” หมายถึง เวลาทำงานปกติของลูกจ้าง

ข้อ 5 นายจ้างที่ให้ลูกจ้างทำงานในตำแหน่งงานหรือลักษณะงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับใด ไม่ว่าจะครอบคลุมมาตรฐานฝีมือนั้นทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับนั้น

ข้อ 6 ภายใต้บังคับข้อ 5 ลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับใดไม่ว่าก่อนหรือหลังประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากประสงค์จะใช้สิทธิให้ยื่นหนังสือรับรองว่าเป็น ผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับนั้นแก่นายจ้างโดยเร็ว

เมื่อนายจ้างได้รับหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้จ่ายค่าจ้างตามอัตราในประกาศนี้ให้แก่ลูกจ้างนับแต่วันที่ได้หนังสือรับรองเป็นต้นไป

ประกาศ
ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

บุญชอบ สุทธมนัสวงษ์
ปลัดกระทรวงแรงงาน
ประธานกรรมการค่าจ้าง

T_0016

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รมว. พิพัฒน์ มอบ เลขาธิการ สปส. มารศรี ลงพื้นที่ จ.ชลบุรี ตรวจเยี่ยมผู้ประกันตนทุพพลภาพ ในโครงการ สปส. มอบสุข

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2567 นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้รับมอบหมายจาก นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดชลบุรี เพื่อตรวจเยี่ยมคุณภาพชีวิตผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ ในโครงการ

"พิพัฒน์” ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี

อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกไปทำงานฟาร์มออสเตรเลีย

รัฐบาลเตือนภัยอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกทำงานฟาร์มออสเตรเลีย ย้ำรัฐบาลออสเตรเลีย ยังไม่มีความร่วมมือกับไทยด้านการส่งแรงงานและยังไม่มีนโยบายการออกวีซ่าเกษตรให้กับคนไทย

"พิพัฒน์“ รุก! เพื่อแรงงาน เพิ่มรายได้กองทุนฯ พบบริษัทจัดการสินทรัพย์สวีเดน กางแผนผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ย 8 -10% ต่อปี เพื่อกองทุนยืน

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี

‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ

มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร

'พิพัฒน์' ย้ำสิทธิประโยชน์อาชีพอิสระ มอบทุนซื้อบ้าน เงินทดแทนเจ็บป่วย เงินทุพพลภาพตลอดชีวิต บำเหน็จชราภาพ ด้วยประกันสังคมมาตรา 40

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นรุ่นแรก เป็นจังหวัดซึ่งมีประชากรจำนวนมากที่สุดในภาคใต้ ประกอบอาชีพอิสระกว่า 500,000 คน