6 มิ.ย. 2565 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง “สวัสดิการ ข้าราชการ Vs ประชาชน” โดยมีเนื้อหาดังนี้
ประเทศที่พัฒนาแล้วมักจะมีสวัสดิการทางสังคมที่ดีให้กับประชาชน รัฐสวัสดิการเป็นแนวคิดที่ประเทศทุนนิยมนำมาใช้เพื่อแก้ข้อบกพร่องของระบบทุนนิยม
กล่าวคือ การเก็บภาษีผู้มีรายได้สูงในอัตราที่สูง เพื่อนำไปใช้เป็นสวัสดิการสังคม แต่ในขณะเดียวกัน ผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือจากสวัสดิการนั้น ต้องเป็นประชาชนผู้ที่เสียภาษีเช่นกัน
เพราะเงินภาษีเหล่านั้น จะกลับมาเป็นเงินทุนเพื่อให้รัฐมีรายได้นำไปใช้จ่ายในการจัดทำ “รัฐสวัสดิการ”เพื่อให้บริการสาธารณะต่าง ๆ แก่ประชาชน
นั้นหมายความว่า ถ้าประชาชนคนใดไม่เคยเสียภาษี(เงินได้)กับรัฐเลย ย่อมขาดคุณสมบัติในการได้รับ สวัสดิการจากรัฐ
รัฐสวัสดิการ หรือ welfare state หมายถึง รัฐหรือประเทศที่รัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนส่งเสริมและจัดสวัสดิการสังคมให้แก่ประชาชนในประเทศอย่างจริงจังและเป็นระบบ
โดยให้ประชาชนได้รับบริการด้านต่าง ๆ ที่เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน เช่น การศึกษา การรักษาพยาบาล ที่อยู่อาศัย การคมนาคมขนส่ง ซึ่งบริการต่าง ๆ เหล่านี้อาจจะเป็นบริการแบบให้เปล่าหรือคิดค่าบริการในอัตราต่ำ
ในวันที่จะเล่าถึงเฉพาะที่เป็นประเด็นข่าว เรื่องเงินบำเหน็จบำนาญและเบี้ยผู้สูงอายุ
•สวัสดิการข้าราชการ
รัฐบาลตั้งงบประมาณในปี 2566 จำนวนมาก 481,254.9 ล้านบาทเพื่อเป็นสวัสดิการข้าราชการ อันประกอบด้วย ข้าราชการประจำอยู่ราว 1.2 ล้านคน และเป็นข้าราชการบำเหน็จบำนาญเกษียณราชการราว 8 แสนคน นอกจากนี้ยังมีลูกจ้างชั่วคราว พนักงานราชการ และพนักงานจ้างของรัฐ ที่ไม่ได้เป็นข้าราชการจำนวน 7.6 แสนคน
• สวัสดิการประชาชน
รัฐบาลตั้งงบประมาณในปี 2566 เป็นสวัสดิการของประชาชน 468,850.4 ล้านบาท ซึ่งน้อยกว่าของราชการเล็กน้อย สำหรับดูแลประชากรราว 60 กว่าล้านคน
• บำเหน็จบำนาญข้าราชการ Vs เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของประชาชน
ในจำนวนงบประมาณดังกล่าว, งบประมาณ 322,790 ล้านบาทถูกตั้งไว้เพื่อจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญสำหรับผู้เกษียณราชการราว 8 แสนคน เฉลี่ยคนละ 30,000 บาท/เดือน
ในขณะที่เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของประชาชนใช้งบประมาณ 87,580.1 ล้านบาท เพื่อจัดเป็นเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 600-1,000 บาท/เดือน ตามช่วงอายุแก่ผู้สูงอายุ 10 ล้านคน
• พิธา อภิปราย เงินบำเหน็จบำนาญและเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เพื่อการเอาใจประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ แต่เทข้าราชการซึ่งเป็นคนกลุ่มน้อยในประเทศ เพื่อหวังคะแนนเสียง หรือไม่
นักการเมืองผู้เป็นฝ่ายค้านอย่างนายพิธา จับประเด็นนี้มาโจมตีรัฐบาล เพื่อหาเสียงกับคน 60 กว่าล้านคน โดยไม่เหลือน้ำใจให้กับข้าราชการ ลูกจ้างชั่วคราว พนักงานราชการ พนักงานจ้างของรัฐและข้าราชการบำนาญ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ทำงานให้กับรัฐและให้บริการประชาชน ที่สำคัญเป็นกลุ่มคนที่ทำงานเพื่อตอบสนองนโยบายของข้าราชการการเมือง หรือ?
เป็นที่ทราบกันอย่างดีโดยทั่วกันว่า ข้าราชการ ลูกจ้างชั่วคราว พนักงานราชการ พนักงานจ้างของรัฐ กินเงินเดือนที่ต่ำกว่าพนักงานบริษัทเอกชนตลอดอายุการทำงาน ซึ่งอัตราจ้างที่ต่ำกว่าราคาตลาดนี้ เป็นเหมือน….
** การหักเงินเดือนล่วงหน้าเพื่อสบทบทุนไว้เป็นสวัสดิการในภายหลัง**
ดังนั้น เงินบำเหน็จบำนาญหลังเกษียณ หรือสวัสการในการรักษาพยาบาล ก็คือเงินเดือนของข้าราชการ ลูกจ้างชั่วคราว พนักงานราชการ พนักงานจ้างของรัฐ ที่ถูกหักเอาไว้รายเดือน นับตั้งแต่วันเริ่มงานจนถึงวันเกษียณ
ในขณะที่ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ทำงานกับหน่วยงานราชการนั้น เท่ากับไม่เคยทำประโยชน์กับงานราชการและไม่เคยถูกหักเงินใดๆ เพื่อสมทบทุนไว้เป็นเงินสวัสดิการในอนาคตเลย
แบบนี้นายพิธา จะพูดเอาใจประชาชนทั่วไปซึ่งถือว่าคนนอก แล้วทำร้ายจิตใจคนที่ทำงานให้กับรัฐและนักการเมือง ซึ่งถือเป็นคนใน อย่างนั้นหรือ?
เห็นตัวเลขข้าราชการ 2 ล้านคน กับประชาชน 60 กว่าล้านคน ก็เลยเลือกเอาใจ 60 กว่าล้านเสียงเพื่อหาคะแนนเสียง อย่างนั้นหรือ
ผมไม่ได้บอกว่า ให้ละเลยต่อสวัสดิการของประชาชน
ผมไม่ได้บอกว่า เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 600-1,000 บาท/เดือน นั้นเพียงพอหรือเหมาะสม แน่นอนว่า ไม่เพียงพอ และควรจะเพิ่มขึ้น แต่มันต้องค่อยเป็นค่อยไป
ยอดเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 600-1,000 บาท/เดือน จะเพิ่มขึ้นได้นั้น ส่วนหนึ่ง ต้องมาจากการเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย จากประชาชนทุกคนที่มีหน้าที่เสียภาษี
นั้นหมายความว่า ในช่วงวัยทำงาน ประชาชนทุกคนที่มีหน้าที่เสียภาษี ต้องมีความซื่อสัตย์ต่อการจ่ายภาษีให้ถูกต้องด้วย
ไม่ใช่ตลอดวัยทำงาน จ่ายภาษีต่ำกว่าความเป็นจริงหรือไม่จ่ายเลย แต่เมื่อเกษียณอายุแล้ว กลับมาเรียกร้องสวัสดิการจากรัฐ ทั้งที่ไม่จ่ายภาษีตามความเป็นจริงหรือไม่เคยจ่ายภาษีให้รัฐเลย
พิธากล่าวว่า หากทำบำนาญแบบไม่มีแหล่งรายได้เลย หนี้สาธารณะจะน่ากลัวมาก
ความจริงบำเหน็จบำนาญ มีแหล่งที่มาจากการหักภาษีจากข้าราชการและการจ่ายเงินเดือนที่ต่ำกว่าราคาตลาด ซึ่งเปรียบเสมือนการหักเงินเอาไว้เป็นสวัสดิการล่วงหน้าเรียบร้อยแล้ว
ในขณะที่เบี้ยผู้สูงอายุ แทบจะไม่มีแหล่งรายได้เลย ดังนั้นหนี้สาธารณะจะน่ากลัวมากตามที่พิธากล่าวไว้ตั้งแต่ต้น
จริงหรือไม่!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เอ็ดดี้ ข้องใจปม ‘เกาะกูด’ ถาม ‘ทักษิณ’ มีข้อตกลงอะไรกับ ‘ฮุนเซน’ หรือไม่
ทักษิณ ชินวัตร ไร้น้ำยา ไม่สมราคาคุย หรือ ทักษิณ ชินวัตร มีข้อตกลงอะไรกับฮุนเซน หรือไม่ อย่างไร เป็นคำถามที่ค้างคาใจประชาชนคนไทยทั้งชาติ
'อัษฎางค์' ข้องใจ ม.นเรศวร จ้างฝรั่งมาบั่นทอนสถาบันพระมหากษัตริย์ หรืออย่างไร?
อัษฎางค์ ยมนาค โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ระบุข้อความว่า มหาวิทยาลัยนเรศวรจ้างฝรั่งมาบั่นทอนสถาบันพระมหากษัตริย์ หรืออย่างไ
สงสัย 'อเมริกา' คือจุดเริ่มต้นการชุมนุมของนิสิตนักศึกษาเดือนตุลาถึงขบวนการสามกีบหรือไม่?
อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า สหรัฐอเมริกา(ผู้รักษาสันติภาพ ที่ทำลายสันติภาพ) คือจุดเริ่มต้นการชุมนุม
ศาลรธน.ยืนยัน ‘อุดม’ ไม่เสียดสี แค่ตอบ ‘ข้อกม.’
ศาลรัฐธรรมนูญทำหนังสือตอบกลับสภาผู้แทนฯ ยืนยัน "อุดม สิทธิวิรัชธรรม" ตุลาการศาล รธน. แสดงความเห็นหลังยุบพรรคก้าวไกล "ยุบ 3 วันตั้งพรรค"
'อัษฎางค์' ยกตัวออย่างเห็นภาพแทรกแซงธนาคารกลาง = หายนะ
นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก #ประชานิยม + #การแทรกแซงธนาคารกลาง = #หายนะ เมื่อฝ่ายการเมืองคิดจะใช้นโยบายประชานิยม