ทบ.ชนะคดี จีที 200 แล้ว ศาลฎีกาสั่ง “เอวิเอ แซทคอม” จ่ายค่าเสียหายครบตามจำนวน เชื่อคำสั่งศาลปกครองไม่มีผล ด้าน สวทช. แจงค่าตรวจ GT200 ถูกกว่าต่างประเทศ ได้มาตรฐานสากล เผยทอดสอบละเอียด ผ่าทุกเครื่อง
4 มิ.ย.2565 - จากกรณีที่ ส.ส.ฝ่ายค้านอภิปรายถึงงบประมาณกระทรวงกลาโหม ในส่วนของกองทัพบกทำสัญญาจ้างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 7,570,000 บาท ไปตรวจสอบเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด GT200 จำนวน 757 เครื่อง ตกเครื่องละ 10,000 บาท นั้น จากการตรวจสอบข้อมูลจากกองทัพบก พบว่า ในคดีอาญา ที่กองทัพบกได้ฟ้องบริษัท เอวิเอ แซทคอม ผู้ขาย กับพวก รวม 5 คน ต่อศาลฐานร่วมโกง ปรากฎว่าเมื่อเดือนที่ผ่านมาศาลฎีกาพิพากษาให้กองทัพบกชนะคดีแล้ว และ ให้จำเลยคืนเงินตามมูลค่าของงบประมาณที่จ่ายไป ระหว่างนี้รอการบังคับคดีชดใช้ค่าเสียหาย
ส่วนคดีที่ฟ้องร้องต่อศาลปกครอง กองทัพบกดำเนินการคู่ขนานกันไป โดยจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์ ทำให้อัยการส่งเรื่องให้กองทัพบกตรวจสอบ GT200 ทุกเครื่องเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน และให้ สวทช.ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐตรวจสอบ แต่เมื่อศาลฎีกาพิพากษาเป็นที่สิ้นสุดแล้ว จึงไม่มีผลต่อการชดใช้เพิ่มเติม หรือ ส่งผลใดๆ ต่อคำพิพากษาศาลฎีกา เนื่องจากได้ชดใช้ไปในส่วนแรกแล้ว ขณะที่ สวทช.ก็ดำเนินการต่อไปตามที่ ทบ.ว่าจ้างดำเนินการ
ด้าน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ออกเอกสารข่าว ยืนยันการตรวจทดสอบ GT200 เป็นไป ตามหลักมาตรฐานสากล โดยเนื้อหาระบุว่า ศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยให้บริการ ซึ่งดำเนินการวิเคราะห์ ทดสอบ ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้มาตรฐานสากล ได้รับการประสานจากกรมสรรพาวุธทหารบก เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องตรวจจับสารเสพติด อาวุธ และวัตถุระเบิด (GT200) ทุกเครื่องทั้ง 757 เครื่อง ว่าใช้งานได้หรือไม่ด้วยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ รวมถึงการผ่าพิสูจน์เครื่อง เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญประกอบการดำเนินคดีปกครอง การทดสอบจึงต้องดำเนินการตามหลักการทดสอบทุกรายการที่มีการดำเนินการทดสอบเครื่อง GT200 และใช้เป็นบรรทัดฐานของข้อมูลประกอบการพิจารณาคดีก่อนหน้านี้
การดำเนินการทดสอบทุกรายการต้องดำเนินการตามหลักการที่เป็นมาตรฐานสากล เพื่อให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ครบถ้วน และเชื่อถือได้ในชั้นการพิจารณาของศาล ทั้งการตรวจวัดไฟฟ้าสถิต การแพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การวัดประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง รวมถึงการผ่าพิสูจน์เครื่อง
สำหรับค่าบริการทดสอบทั้งหมด ศูนย์ PTEC คำนวณจากการใช้วัสดุและอุปกรณ์ทดสอบ ห้องปฏิบัติการทดสอบ ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการใช้สารเสพติดและวัตถุระเบิดในการทดสอบ เพื่อให้ได้คุณภาพของผลการทดสอบตามเอกสารว่าจ้างที่ระบุทุกรายการ ทั้งนี้ ค่าบริการดังกล่าวมีราคาถูกกว่าการทดสอบโดยห้องปฏิบัติการต่างประเทศ
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สวทช. ปฏิบัติหน้าที่ในทุกภารกิจบนหลักวิชาการและจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพบนพื้นฐานในการรักษาผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ และขอยืนยันเจตนารมณ์ในฐานะองค์กรวิจัยและพัฒนาที่จะใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมและประเทศต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผบ.ทบ. ร่วมพิธีปิดทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธี กลุ่มประเทศอาเซียน ทหารหญิงไทยคว้ารางวัล
พลเอก พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก เดินทาง ร่วมในพิธีปิดการทดสอบยิงปืนทางยุทธวิธีกองทัพบกกลุ่มประเทศอาเซียน ครั้งที่ 32 (The 32nd ASEAN Armies Rifle Meet - AARM) หรือ AARM 2024
โฆษก ทบ. เผยคำสั่งย้ายเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก เซ่นปมทำร้ายร่างกาย
พันเอก ฐิต์รัชช์ สมบัติศิริ โฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า จากการที่กองทัพบกตั้งคณะกรรมการสอบสวนกรณีมีผู้ร้องเรียนเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบกมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ทำร้ายร่างกายผู้ใต้บังคับบัญชา ในสังกัดกรมยุทธศึกษา
ผบ.ทบ. เซ็น แต่งตั้ง-โยกย้าย ผู้บังคับกองพันทั่วประเทศ 461 นาย
การแจกจ่ายคำสั่งกองทัพบกที่ 442/ 2567 โดยมี พ.อ.พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก ลงนาม เมื่อวันที่ 20 พ.ย.2567 แต่งตั้งโยกย้ายนายทหารระดับผู้บังคับกองพันทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 461 นาย
ผบ.ทบ. ถอด 'คอแดง' ใส่ชุดฝึก 'คอเขียว' หลังปรับโครงสร้างหน่วยทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ 904
พล.อ.พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติการกองทัพบก นำคณะผู้บังคับบัญชาของกองทัพบก เดินทางไปตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ และศูนย์การบินทหารบก
ศปช.ส่วนหน้า เผยคืบหน้าฟื้นฟูแม่สาย ในพื้นที่รับผิดชอบ 'มหาดไทย-กลาโหม'
ในการประชุมศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยวาตภัยและดินโคลนถล่ม (ศปช.ส่วนหน้า) วันที่ 8 ตุลาคม 2567 ซึ่งมี น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวหน้าศูนย์ฯ และพลเอกณัฐพล นาคพาณิชย์