ชุมชนดีมีรอยยิ้มพระนครศรีอยุธยา ต้นแบบ"บวร"สร้างสรรค์ พัฒนา

เคยมีคำถามว่า การที่จะพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งนั้น ต้องทำอย่างไร ต้องอาศัยปัจจัยใด หรือรูปแบบใด จึงจะทำให้ผลสำเร็จได้

คำถามนี้น่าจะมีหลากหลายคำตอบ แต่คำตอบที่คนส่วนใหญ่มักจะใช้กันและเป็นพื้นฐานในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งอย่างหนึ่งที่นิยมใช้กันมาตลอด เห็นจะไม่พ้นความร่วมมือร่วมใจ ผูกสัมพันธ์และความสมานสามัคคีในชุมชน โดยเฉพาะวัด และ โรงเรียน

เนื่องจาก วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชน เป็นที่ยึดเหนี่ยวให้คนในชุมชนมีความรัก สามัคคีกัน ร่วมกันพัฒนาวัดให้สงบ ร่มรื่น ขัดกล่อมจิตใจให้เอื้อเฟื้อ แบ่งปันกัน เช่นเดียวกับ โรงเรียน เป็นสถานที่ให้ความรู้ ให้การศึกษากับลูกหลานของชุมชนให้เติบโตมา ใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมา เพื่อพัฒนาสังคม เป็นศูนย์กลางของชุมชน ในการจัดกิจกรรมที่จะสานสัมพันธ์คนชุมชนให้มีความรักใคร่กลมเกลียว ร่วมแรงร่วมใจกัน เกิดเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง บ้าน/ชุมชน วัด โรงเรียน และหน่วยงานภายนอก สู่การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน แบบ “บวร”

แต่ความสัมพันธ์ดังกล่าว จะให้แนบแน่นจนนำไปสู่การพัฒนาชุมชนให้เป็นชุมชนสร้างสรรค์นั้น ต้องมีหน่วยงานที่เข้าใจในแนวทางที่จะสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ด้วยทุนของชุมชน โครงการพัฒนาชุมชน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) มีแนวทางในการพัฒนาชุมชน โดยยึดหลัก บวร.เป็นหัวใจหลัก เช่น ชุมชนดีมีรอยยิ้ม พระนครศรีอยุธยา ที่ได้เชื่อมโยงผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ร่วมกันพัฒนา และส่งเสริมเติมเต็มความรู้

ชุมชนสร้างสรรค์..ร่วมกันออกแบบ

“โครงการพัฒนาชุมชนโดยรอบโรงงาน” เกิดขึ้น โดยมี บริษัท เบียร์ทิพย์ 1991 จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นโรงงานในเครือของไทยเบฟที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนพระขาว เป็นหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งเห็นได้จาก การสร้างโรงเรือนขนมไทยที่ใหญ่ขึ้นและได้มาตรฐาน ให้กับ “กลุ่มอาชีพพระขาวขนมไทย” โดยผนึกกำลังร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ โลจิสติก จำกัด และกลุ่มจิตอาสา มาช่วยกันพัฒนาพื้นที่ ทำให้วันนี้ กลุ่มได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ สามารถเพิ่มผลผลิตขนมได้มากขึ้น

นอกจากนี้ ชุมชนดีมีรอยยิ้มพระนครศรีอยุธยา ยังได้เข้ามาช่วยพัฒนาต่อยอดในด้านการสร้างความรับรู้ในตัวสินค้าให้กับกลุ่มอาชีพพระขาวขนมไทย  โดยแนะนำส่งเสริม บอกต่อเรื่องราว และเชื่อมโยงช่องทางตลาดให้หลากหลายขึ้น เช่น การออกร้านในงานต่าง ๆ หรือแม้แต่การขายผ่านช่องทางออนไลน์ ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว

และด้วยศักยภาพของชุมชนที่ต้องการพัฒนาทักษะฝีมือ แสวงหาความรู้อยู่เสมอ จึงร่วมมือกับ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดทักษะการทำขนมไทย ให้มีรสชาติทันสมัย ถูกปากผู้บริโภค สามารถทำการตลาดได้ เป็นการเติมเต็มความรู้ให้ชุมชน เกิดแนวคิดที่สร้างสรรค์ ต่อยอด พัฒนาทั้งสูตรขนม โรงเรือนให้มีมาตรฐานขึ้นมาได้

การทำงานด้วยหลัก บวร.นั้น นอกจากการพัฒนาชุมชนแล้ว วัด เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่มีส่วนสำคัญ ชุมชนดีมีรอยยิ้มพระนครศรีอยุธยา ได้เตรียมพัฒนาพื้นที่ วัดสีกุก ซึ่งตั้งอยู่ใน อ.บางบาล ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ด้วยต้นทุนที่เป็นแหล่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นวัดที่รัชกาลที่ 5 ทรงเสด็จประทับบริเวณ ต้นสะตือ (ปัจจุบันยังคงเด่นตระหง่านภายในวัด) อีกทั้งเคยเป็นสถานที่ตั้งค่ายของกองทัพพม่า เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา

แม้ท่ามกลางสถานการณ์โควิด 19 บทบาทสำคัญของชุมชนดีมีรอยยิ้มพระนครศรีอยุธยา คือช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการขายผลผลิต โดยเฉพาะวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนปลอดภัยตามแนวทฤษฎีใหม่ ซึ่งรวมกลุ่มปลูกเมล่อนที่ขึ้นชื่อที่สุด ทำให้มีผลผลิตออกมาจำนวนมาก แต่ด้วยช่องทางการจำหน่ายที่ยังไม่ครอบคลุม ทำให้เกิดปัญหาปริมาณเมล่อนล้นตลาด ชุมชนดีมีรอยยิ้มจึงได้เข้าไปช่วยทำการตลาดออนไลน์ ทำให้ปัจจุบัน สินค้าถูกระบายออกหมดจนผลิตไม่ทัน ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมาก

คำบอกเล่า...จากชุมชน

แม่ยุพิน สุขเกษม  ประธานกลุ่มอาชีพพระขาว ได้บอกถ้อยคำสั้นๆ แต่เปี่ยมด้วยความหมายและตรงกับใจของชาวบ้านอย่างมาก นั่นคือ “ไทยเบฟเข้ามาช่วยต่อยอดให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น”  รวมถึง แม่วารี กิจสะอาด สมาชิกกลุ่มพระขาวขนมไทย ได้บอกว่า “ไทยเบฟลงมาสนับสนุนก็ดีใจมากๆ เพราะเราจะได้มีที่ประกอบอาชีพที่เป็นสัดเป็นส่วน  ดูดีมีมาตรฐาน สะอาด เป็นที่สะดุดตาของคน”

ปิดท้ายที่ พี่ประสงค์ ไกรสิง รองประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกเมล่อนปลอดภัยตามแนวทฤษฎีใหม่ เล่าว่า “สวนละออฟาร์มนั้นได้รับผลกระทบจากโควิดโดยตรง เดือดร้อนอย่างมาก ผลผลิตออกทุกวัน แต่ไม่สามารถส่งขายได้ แต่ได้ไทยเบฟเข้ามาช่วย ช่วยเพิ่มช่องทางจำหน่าย ทำให้ผลผลิตเราขายหมดภายใน 7 วัน จากเดิมต้องใช้เวลา 15 วัน ไทยเบฟเข้ามาช่วยเหลือเรา เราสามารถส่งไปจังหวัดต่างๆได้ทั่วไทย ทำให้เรารู้จักลูกค้ามากขึ้น ต่อยอดเป็นเครือข่าย เพื่อส่งขายเมล่อนได้มากยิ่งขึ้น”

ทั้งหมดนี้คือความร่วมมือในการพัฒนาต่อยอด หาจุดเชื่อมโยงที่ลงตัว เกิดจากการลงพื้นที่ ค้นหาแกนนำ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในศักยภาพของกันและกัน เป็นการออกแบบร่วมกัน เกิดเป็นชุมชนสร้างสรรค์ ชุมชนที่มีได้รับการพัฒนาตรงจุด ตรงกับความต้องการของชุมชน ที่พลังความสามัคคีต้องมาจากระเบิดจากภายใน ทำให้เสียงของชุมชนดังไปทั่วทุกทิศทาง ทำให้บรรดาเครือข่ายพันธมิตร พร้อมที่จะร่วมกันลงพื้นที่ ร่วมกันสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024 เปิดรายชื่อครั้งที่ 2 กับสุดยอด 30 ศิลปินชั้นนำจากทั่วโลก

มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผสานความร่วมมือครั้งสำคัญกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)

อลิอันซ์ อยุธยา เวิลด์ รัน ซีรีส์ 'อนุรักษ์มรดกไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม'16-17พ.ย.นี้

อลิอันซ์ อยุธยา ร่วมกับ เรซอัพ เวิร์ค ประกาศความพร้อมเตรียมจัดงานวิ่งแห่งปีที่ทุกคนรอคอย Allianz Ayudhya World Run Thailand Series 2024 ภายใต้แนวคิด “World Run World Heritage” งานวิ่งของคนรักษ์โลก “อนุรักษ์มรดกไทย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” เชิญชวนนักวิ่ง วิ่งย้อนรอยประวัติศาสตร์ ในบรรยากาศสุดคลาสสิก ชิมอาหารเลิศรส และช้อปสินค้าท้องถิ่น วันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2567 ณ ศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา(ศาลากลางเก่า) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เสียงเตือนของธรรมชาติ คือ สัญญาณที่โลกแสดงออกมา ถึงเวลาที่มนุษยชาติ ต้องเอาใจใส่รักษ์โลก

ปัจจุบัน “โลก” ของเราเต็มไปด้วยวิกฤตการณ์ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากมาย ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ไม่ใช่ ครั้งแรก และไม่ใช่ครั้งเดียว เพราะแต่ละปีที่ผ่านมาได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งอย่างต่อเนื่อง

กมธ.อุตสาหกรรม ชมตำรวจจับผู้บริหารโรงงานกากอุตสาหกรรมไฟไหม้ได้แล้ว

กมธ. อุตสาหกรรม ชี้เป็นเรื่องดีตำรวจจับผู้บริหารโรงงานกากอุตสาหกรรมไฟไหม้ได้แล้ว แต่ห่วงอีกโกดังใน อ.อุทัย อยุธยา จะเกิดเหตุซ้ำรอยหากมีการอายัดกากสารเคมี

ฉากทัศน์สังคมไทย ตีโจทย์ดึง'คนด้อยโอกาส-สูงวัย'สร้างอนาคต

สังคมไทยเผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำมาโดยตลอด การส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนในสังคม ประชาชนในชุมชนต่างๆ เข้ามามีบทบาทพัฒนาชุมชนตัวเอง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ตลอดจนการให้โอกาสและสร้างความเข้มแข็งคนยากจน และคนด้อยโอกาส

ร่วมขับเคลื่อนเพื่อเมืองที่ยั่งยืน กับ “SX TALK SERIES ครั้งที่ 2” “เมืองของทุกคน : คุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคน”

หลายคนถามหาคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ว่าจะเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สุขภาพ การศึกษา การขนส่ง ที่อยู่อาศัย ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งหมดจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน