หากจะกล่าวถึงความสำเร็จของการพัฒนาชุมชนใดสักชุมชนหนึ่ง แน่นอนว่า ย่อมมีความแตกต่างกัน ตามวิถีของแต่ละชุมชน
บางชุมชนกว่าจะสำเร็จได้ ย่อมผ่านร้อนผ่านหนาว ผ่านอุปสรรคมากมาย ผ่านการเดินทาง ผ่านการขับเคลื่อน ความร่วมมือร่วมใจจากหลายๆหน่วยงาน
จนมาถึงทุกวันนี้ เรื่องราวของการขับเคลื่อนชุมชน ให้สำเร็จเป็นรูปธรรม และเป็นที่พึงพอใจ สร้างความภาคภูมิใจจนเป็นที่ประจักษ์ได้นั้น นับว่ามีความสลับซับซ้อน เต็มไปด้วยรายละเอียดมากมาย และมีความยากในภาคปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง เพราะต้องอาศัยความสามัคคี ร่วมมืออย่างจริงจัง จริงใจ ระยะเวลา จนบ่มเพาะชุมชน ให้ก้าวขึ้นมายืนหยัดได้ด้วยตนเอง
การที่จะทำให้ชุมชนได้เรียนรู้ ได้จัดการตนเองได้ จนนำไปสู่ความสำเร็จในแง่การบริหารจัดการ การสร้างคนทำงาน หรือสร้างเอกลักษณ์ของชุมชน ด้วยการคัดเลือกทุนทางทรัพยากรของชุมชน การค้นหาศักยภาพของชุมชนทั้งเรื่องคนทำงาน แกนนำชุมชนหรือคนรุ่นใหม่ ล้วนแล้วแต่เป็นส่วนสำคัญหรือองค์ประกอบหลักที่จะทำให้ชุมชนได้เดินหน้าด้วยตนเอง ได้สร้างสรรค์ความสวยงามด้วยสองมือ สองขาและแรงใจของคนในชุมชน
ชุมชนเกาะปู ตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ชุมชนชาวเล ที่ใช้ชีวิตในการทำประมงพื้นบ้าน มีวิถีที่เรียบง่าย คือ ชุมชนที่กำลังกล่าวถึง แต่เดิมนั้นชุมชนได้พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด กุ้ง หอย ปู ปลา ชาวบ้านอยู่กันแบบเรียบง่าย ต่างคนต่างทำ จนกระทั่ง โครงการพัฒนาชุมชน ของบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้ เข้ามาสร้างโมเดลชุมชนดีมีรอยยิ้มในจังหวัดกระบี่ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็ง ผ่านกระบวนการพัฒนาที่เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ร่วมกันสร้างเศรษฐกิจชุมชน ให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่ม จัดกระบวนการกลุ่มใหม่ วางโครงสร้างระบบการบริหารจัดการ รวบรวมแกนนำคนสำคัญของชุมชน มาร่วมกันจดเป็น วิสาหกิจชุมชน ขึ้น เพื่อให้เกิดการต่อยอด ขยายผล สร้างงาน สร้างอาชีพใหม่ให้ชุมชน จนเกิดเป็นโครงการที่สำคัญ นับเป็นการต่อยอดการสร้างสรรค์อาชีพทำให้ชุมชนได้ลืมตาอ้าปากได้ มีรายได้อย่างยั่งยืน
ชุมชนเกาะปู..ในวันนี้
ด้วยหลักคิด แนวทางปฏิบัติดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น ได้เปลี่ยนให้ชุมชนจากเดิมที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการกลุ่ม มาเป็นชุมชนที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นชุมชนดีมีรอยยิ้มกระบี่ ที่ดำเนินการขับเคลื่อนงานพัฒนา จนเกิดกระบวนการเรียนรู้ การจัดการอย่างเป็นระบบ จนมีโครงการสำคัญ 3 โครงการได้แก่
“โครงการปลิงดี” ปลิงทะเล น้อยคนอาจจะคาดไม่ถึงว่าที่ชุมชนแห่งนี้ อุดมไปด้วยปลิงทะเล ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ อาศัยกินหญ้าทะเล ที่ขึ้นเต็มอยู่รอบเกาะ และมีอยู่จำนวนมาก วันนี้ชุมชนได้ค้นพบวิธีสร้างรายได้จากการขายปลิงทะเล จนกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของชุมชน ด้วยการนำมาแปรรูปและขายสด ชุมชนดีมีรอยยิ้มกระบี่มองเห็นโอกาส จึงพยายามรวมกลุ่มชาวบ้านเพื่อขยายพื้นที่การเลี้ยงปลิงทะเล ด้วยการรวบรวมสมาชิกจำนวน 70 คน จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนปลิงดี ชุมชนดีเกาะปู ระดมทุนเพื่อขยายและสร้างคอกเพาะสำหรับเลี้ยงปลิงบนพื้นที่ 1 ไร่ สามารถเลี้ยงปลิงได้กว่า 3,000 ตัว นอกจากนั้น ยังเชื่อมโยงกับเครือข่าย ประชารัฐกลุ่มอันดามัน ขยายฐานการผลิตและเพาะเลี้ยงปลิงไปยังพื้นที่ อ.เกาะยาวน้อย จ.พังงา และ อ.แหลมไทร จังหวัดตรัง เพื่อการผลักดันพื้นที่ให้เป็นศูนย์กลางการด้านการเพาะเลี้ยงและแปรรูปปลิงทะเล ให้จำหน่ายได้ทั้งปลิงสด ปลิงตากแห้ง เนื้อปลิงพร้อมปรุง ในพื้นที่ภาคใต้
“โครงการแปรรูปอาหารทะเล” ชุมชนบ้านเกาะปู มีพื้นที่อุมดมไปด้วยทรัพยากรทางทะเล ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพประมง ส่งขายให้กับแพรับซื้อในพื้นที่ ทำให้ได้ราคาที่ต่ำกว่า เมื่อเทียบกับการขายตรงให้กับผู้บริโภค อีกทั้งในบางฤดูกาล ปริมาณสัตว์น้ำที่จับมาได้มีจำนวนมาก ทำให้ขายไม่หมด ชุมชนดีมีรอยยิ้มกระบี่จึงมีแนวคิดที่จะเพิ่มช่องทางการตลาด ในรูปแบบการขายอาหารทะเลสดไปยังผู้บริโภคโดยตรง และพัฒนาการแปรรูปสินค้าอาหารทะเลในรูปแบบ พร้อมปรุง และ พร้อมทาน เช่น ปลาแดดเดียว น้ำพริกปูม้า น้ำพริกปลาย่าง เพื่อเป็นทางเลือกให้กับลูกค้า โดยเน้นการจัดส่งของที่สด คุณภาพดี สะอาด ปลอดภัย นอกจากนี้ ชุมชนดีมีรอยยิ้มกระบี่ยังได้ร่วมกับกลุ่มสตรีแปรรูปชุมชนบ้านเกาะปู วางแผนพัฒนาอาชีพและการแปรรูปอาหารทะเล ให้เป็นฐานการผลิตและแปรรูป พร้อมทั้งจัดระบบการจำหน่ายที่เหมาะสม นำไปสู่การยอมรับในจังหวัดใกล้เคียง สร้างรายได้สู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง
“โครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเกาะปู” ด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ของเกาะปู มีลักษณะเหมือนปูคว่ำ ง่ายต่อการจดจำ ทำให้เกาะปู กลายเป็นเกาะในฝันของฝั่งอันดามัน มีความสวยงามชวนหลงใหล หากได้มาสัมผัสเพียงสักครั้ง ด้วยความเป็นธรรมชาติที่ คงความสวยงดงาม อุดมสมบูรณ์ เมื่อยามได้มาเที่ยว ทำให้เกิดการพัฒนาชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล นักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้วิถีชาวเล และวิถีวัฒนธรรมไทย-มุสลิม ชุมชนดีมีรอยยิ้มกระบี่มองเห็นถึงศักยภาพชุมชน จึงได้ร่วมพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่ม จดจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเกาะปู จัดทำแผนพัฒนาการท่องเที่ยว จัดทำเส้นทางและกิจกรรมการท่องเที่ยวบ้านเกาะปู ใน 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) ท่องเที่ยวทางทะเล คือ ล่องเรือรอบเกาะ ชมธรรมชาติวิถีริมเล ตกหมึก เก็บหอยชักตีน ชมทะเลแหวก หญ้าทะเล อาหารหลักของพยูน นับว่ามีที่เที่ยวรอบเกาะเลยทีเดียว (2) ท่องเที่ยวทางบก ส่วนใหญ่จะเป็นแนวผจญภัย เดินป่าขึ้นเขา สัมผัสธรรมชาติ ชมวิวบนจุดสูงสุดของเกาะปู ชิมอาหารพื้นบ้าน หรือขี่มอเตอร์ไซด์รอบเกาะ ชมวิถีไทยมุสลิม (3) กิจกรรม CSR หรือจิตอาสาพัฒนาพื้นที่ เช่น ปลูกหญ้าทะเล ให้พยูน นอกจากนั้นกลุ่มยังมีการพัฒนาการตลาดและการประชาสัมพันธ์ซึ่งนำไปสู่การเกิดรายได้สู่ชุมชน โดยใช้การบูรณาการร่วมกันระหว่างชุมชน หน่วยงานในพื้นที่ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
เสียงจากชุมชน..คนเกาะปู
นายธนยศ หลานหลงส้า ประธานกลุ่มปลิงดีชุมชนดีเกาะปู ได้กล่าวอย่างประทับใจไว้ว่า “ขอขอบคุณ ไทยเบฟมากๆ ที่มีโครงการพัฒนาชุมชน ส่งน้องเจ้าหน้าที่ลงมาปฏิบัติงานในพื้นที่ ส่วนตัวของ น้อง ๆ มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงานมาก เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ร่วมกับชุมชน ฝึกให้ชุมชนดำเนินธุรกิจบนฐานทุนที่ชุมชนมี ร่วมติดตาม ประเมินผลจากการดำเนินงาน รวมกลุ่มชาวบ้านมาร่วมขับเคลื่อนโครงการปลิงซึ่งเป็นช่องทางการพัฒนาที่สร้างอาชีพสร้างรายได้ให้ชุมชนได้อย่างแท้จริง”
หรืออีกหนึ่งเสียงที่สะท้อนถึงความสำเร็จ ของ นายสามารถ เก็มบาเส ประธานกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านเกาะปู “โครงการพัฒนาชุมชนเข้ามาร่วมพัฒนาพื้นที่ ถือเป็นแรงกระตุ้นและแรงผลักดันการขับเคลื่อนงานท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นอย่างดี ทำให้ชุมชนเกิดความสนใจและรวมกลุ่มการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อให้การท่องเที่ยวในชุมชนกลับมาขับเคลื่อนอีกครั้ง ดีใจที่ชาวบ้านได้กลับมาลืมตาอ้าปากได้อีกครั้ง ชาวบ้านก็มีความสุข”
จากทั้ง 2 เสียง ยิ่งตอกย้ำถึงความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนเกาะปู จากที่เคยอยู่อย่างตัวใครตัวมัน ต่างคนต่างหารายได้จากทรัพยากรทางทะเล ที่ไม่มีทิศทางหรือจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มาวันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นกับชุมชนนับว่าเป็นความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด เป็นแบบอย่างให้กับชุมชนชาวประมง ชุมชนชาวเกาะ ที่ต้องหันมาให้ความสำคัญกับกระบวนการกลุ่ม การค้นหาแกนนำให้พบ ให้ระเบิดจากข้างใน เพื่อที่จะพัฒนาชุมชนของตนเองให้มีรายได้แน่นอน ต่อเนื่อง และควบคู่ไปกับการอนุรักษ์รักษา แหล่งที่มารายได้อันมหาศาล ที่เกิดจากความร่วมมือ ร่วมใจ สานพลังให้เป็นชุมชนดีมีรอยยิ้มกระบี่...นี่แหละ สูตรสำเร็จของชุมชนที่จะนำสู่ชุมชนต้นแบบในอนาคต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“กรุงเทพ ดีต่อใจ Bangkok Bestival 2025” เชื่อมโยงพื้นที่สีเขียวกลางกรุง จัดกิจกรรม “ฮีลกาย ฮีลใจ” สู่การใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน
ต้อนรับศักราชใหม่เริ่มต้นด้วยวัน “ศุกร์แรก” ของปี กับเทศกาล “กรุงเทพ ดีต่อใจ Bangkok Bestival 2025” กิจกรรมแห่งความสุข ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์ทุกความต้องการของคนเมืองทุกเพศทุกวัย ภายใต้ความร่วมมือของ
“ซึ้งใจมาหาถึงบ้าน” คาราวาน “ผ้าห่มผืนเขียว” เดินทางข้ามหุบเขา มอบไออุ่นถึงมือพี่น้องชาวพิษณุโลก
หากเอ่ยถึงจังหวัดภาคเหนือนตอนล่าง พิษณุโลกเป็นจังหวัด ที่มีลักษณะเป็นเทือกเขาและที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะตำบลบ่อภาค เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่เข้าถึงยาก
กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงาน'ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร นครนายก'
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปยังเขื่อนขุนด่านปราการชล อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ทรงเปิด “ศูนย์ฝึกอบรมสุดาเดือนเพ็ญและที่พักของมูลนิธิชัยพัฒนา” และงาน “ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร จังหวั
เตรียมปักหมุดสัมผัสลมหนาวใกล้เมืองกรุง ในงาน “ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร จังหวัดนครนายก” 12-15 ธันวาคม นี้
เตรียมปักหมุดเดินทางท่องเที่ยวสัมผัสลมหนาวใกล้เมืองกรุงฯ กันได้ในงาน “ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร จังหวัดนครนายก” ที่จะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 12 -15 ธันวาคม นี้ ณ เขื่อนขุนด่านปราการชล
คาราวาน “ผ้าห่มผืนเขียว” ปีที่ 25 เดินทางสู้หนาว มอบรอยยิ้ม และไออุ่นถึงมือพี่น้องชาวหนองคาย
นับเป็นเวลา 25 ปี ที่คาราวาน "ผ้าห่มผืนเขียว" ในโครงการ “ไทยเบฟ..รวมใจต้านภัยหนาว" ได้ออกเดินทางส่งมอบรอยยิ้ม และความอบอุ่นไปยังพี่น้องผู้ประสบภัยหนาวในพื้นที่ห่างไกล