เปิดรายชื่อ 23 กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทยชุดใหม่

28 ต.ค.2564 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 13.30 น. ภายหลังจาก นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรค ทำให้กรรมการบริหารพรรคสิ้นสภาพไปด้วย จึงต้องเลือกหัวหน้าพรรคใหม่ และกรรมการบริหารพรรค ที่มีการเลือกเป็นการภายใน โดยที่ประชุมมีการเสนอชื่อ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน เป็นหัวหน้าพรรคเพียงรายชื่อเดียว

จากนั้นนพ.ชลน่าน เสนอรายชื่อกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่จำนวน 23 คน ประกอบด้วย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรค รองหัวหน้าพรรค 4 คน นายสุทิน คลังแสง นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร ส.ส.มหาสารคาม นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ส.ส.เชียงใหม่ นายสรวงศ์ เทียนทอง อดีตรมช.สาธารณสุข นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา เป็นเลขาธิการพรรค

รองเลขาธิการ 8 คน ประกอบด้วย นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์ ส.ส.อุบลราชธานี นายคุณากร ปรีชาชนะชัย ส.ส.สุรินทร์ นายจักรพล ตั้งสุทธิธรรม ส.ส.เชียงใหม่ นายนพ ชีวานันท์ ส.ส.พระนครศรีอยุธยา นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล น.ส.อรุณี กาสยานนท์ นายจิรวัฒน์ ศิริพาณิชย์ ส.ส.มหาสารคาม นางมนพร เจริญศรี ส.ส.นครพนม

กรรมการบริหาร 5 คน น.ส.ณหทัย ทิวไผ่งาม นส.จิราพร สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล ส.ส.เลย นายพชร นริพทะพันธุ์ น.ส.กิตติ์ธัญญา วาจาดี ส.ส.อุบลราชธานี และน.ส.ธีราภา ไพโรหกุล นายทะเบียนพรรค 1 คน นายจักรพงษ์ แสงมณี เหรัญญิกพรรค 1 คน นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์ อดีตส.ส.เพชรบูรณ์

ขณะที่โฆษกพรรค คือ น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ ยันไร้แผนปรับครม. ตอนนี้พรรคร่วม-รมต.ไม่มีใครดื้อ ไม่เสียใจ 'ทักษิณ' พูดนำก่อน

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงนโยบายปรับลดค่าไฟตรงนี้ถือเป็นหลักประกันเก้าอี้ของ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงานด้วยหรือไม่ ว่า อันนี้ไม่ทราบเลยว่าทำไม

‘สรวงศ์’ โต้รัฐบาลรับลูกพ่อนายกฯ อ้างเป็นแค่วิสัยทัศน์อดีตผู้นำ

ทำเนียบรัฐบาล นายสรวงศ์ เทียนทอง รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายทักษิณ ชินวัตร การกา

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ร่างแก้ไขรธน.เพิ่มหมวด 15/1 ตั้งสสร.ร่างรธน.ฉบับใหม่ มีผลเท่ากับยกเลิกรธน.ทั้งฉบับ

ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ ดร.ณัฏฐ์  นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีพรรคเพื่อไทยเตรียมขอมติจากที่ประชุม สส.ของพรรค เห็นชอบกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ฝ่ายกฎหมายของพรรคจัดทำไว้เสนอประกบกับร่างของ

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 42)

ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้แสดงให้เห็นถึงการปกครองภายใต้คณาธิปไตยสืบทอดอำนาจของคณะราษฎรตลอดระยะเวลา 13 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2476-2489