6 พ.ค.2565 - นายยงยศ แก้วเขียว นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย ให้สัมภาษณ์กรณีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า เสนอยกเลิกระบบรัฐราชการรวมศูนย์ โดยให้ยุบนายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เนื่องจากเป็นการซับซ้อนกับการทำหน้าที่ของเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และให้ยกเลิกผู้ว่าราชการจังหวัดแบบแต่งตั้งเป็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดแทน พร้อมกับรณรงค์เชิญชวนประชาชนเข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น ว่า การรณรงค์นั้น เป็นการรณรงค์กับผู้ที่ไม่มีความรู้กับเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) ซึ่งการทำหน้าที่ของการบริหารราชการส่วนภูมิภาคที่มีผู้ว่าราชการจังหวัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และนายอำเภอ เป็นการทำงานแบบแยกหน้าที่กันอย่างสิ้นเชิงกับอปท. ไม่ใช่ตามที่คณะก้าวหน้าเข้าใจ
เนื่องจากการทำงานของการบริหารราชการส่วนภูมิภาค เป็นการทำงานเพื่อรวมเป็นรัฐเดี่ยวของการบริหารราชการแผ่นดิน ที่มีระบบรัฐราชการแบบรวมศูนย์ จะให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดแทนการแต่งตั้งแบบนี้เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากต้องถ่วงดุลอำนาจในการทำหน้าที่ของการบริหารราชการส่วนภูมิภาค โดยต้องแยกออกจากการเลือกตั้งอย่างชัดเจน หากมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งไปคุมอำนาจรัฐในการบริหารราชการภายในจังหวัด อาจทำให้ฝ่ายประชาชนที่แพ้การเลือกตั้งไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งในกระบวนการการปกครองส่วนภูมิภาคมีกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นธรรม และตนเข้าใจว่าการรณรงค์ของคณะก้าวหน้าเป็นการคิดในแนวนโยบาย แต่อาจไม่เข้าใจถึงรูปแบบอย่างถ่องแท้ จึงกล่าวอ้างว่ายกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาค ที่เป็นการขัดกับหลักการของการปกครองบริหารแผ่นดินทั้งประเทศ รวมถึงกำนัน ผู้ใหญ่บ้านอีกด้วย
นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย กล่าวต่อว่า ทั้งหมดคือการออกนโยบายเพื่อหาเสียงเพราะการบริหารราชการแผ่นดินที่ดำรงอยู่ได้ เป็นรูปแบบที่มีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง และเป็นการถ่วงดุลอำนาจระหว่างการปกครองส่วนภูมิภาคและอปท.ให้กับพี่น้องประชาชนในเขตพื้นที่ จะมาบอกว่าจะยกเลิกผู้ว่าราชการจังหวัด ให้เป็นแบบเลือกตั้ง ทำไม่ได้ และการเลือกตั้งก็มีอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นนายกอบต. นายกเทศมนตรี แต่ถ้ามีความประสงค์ในบทบาทหรือหน้าที่อะไรก็ให้เพิ่มไป ไม่ใช่จะเขียนกฎหมายหรือร่างกฏหมายขึ้นมาใหม่เพื่อยุบองค์กรใดองค์กรหนึ่ง ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในประเทศไทย เพราะระบบการรวมศูนย์ราชการที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในกระบวนการยุติธรรมต้องมีคนจากส่วนกลางเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้สังคม
ผู้สื่อข่าวถามถึง บทบาทหน้าที่ความแตกต่างของแต่ละองค์กรของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและนายอำเภอ กับอปท. มีความแตกต่างกันอย่างไร นายยงยศ กล่าวว่า ในส่วนของหน้าที่กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและนายอำเภอ เราแยกกันอย่างสิ้นเชิง โดยกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและนายอำเภอดูแลเรื่องการปราบปรามยาเสพติด การรักษาความสงบเรียบร้อย ช่วยเหลือประชาชน อำนวยความเป็นธรรม รักษาความมั่นคงภายในธำรงไว้ซึ่งความยึดโยงความเป็นชาติเดียวกัน แต่อปท.มีหน้าที่ต้องทำให้พื้นที่นั้นๆเจริญ โดยยึดรูปแบบของพื้นที่ในลักษณะของภูมิศาสตร์ที่ตั้ง เป็นลักษณะเฉพาะในพื้นที่ อาทิ การออกใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงภายใน หากให้อปท. เป็นผู้ออกใบอนุญาตจะทำให้ประชาชนเลือกข้าง และไม่สามารถจะปฏิบัติหน้าที่ได้
ถามต่อว่า ประเด็นดังกล่าวที่นายธนาธร เสนอจะมีความเป็นไปได้หรือไม่ นายยงยศ กล่าวว่า เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากนายธนาธร ไม่เข้าใจรูปแบบที่แท้จริงของการบริหารราชการแผ่นดินในประเทศไทยที่มีการถ่วงดุลอำนาจเหมาะสมและลงตัวอยู่แล้ว
“ในฐานะที่ผมเป็นกำนัน หากจะยกเลิกหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ก็ถือเป็นเรื่องของการยกเลิกรูปแบบของการปกครองส่วนภูมิภาคด้วย ถ้ายกเลิกจะให้เราเป็นหรือทำอะไรก็ได้ แต่ต้องถามว่าจะทำให้การบริหารราชการแผ่นดินเกิดความยุ่งยากและวุ่นวายในเรื่องของการกำกับดูแลประชาชนให้ปฎิบัติหน้าที่ตามกฏหมายหรือไม่ ซึ่งการเป็นกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นแขนงหนึ่งของการรักษาความสงบเรียบร้อยที่มีอยู่ทุกชุมชน ทุกหมู่บ้าน และเราคือผู้ที่รวบรวมความต้องการและความเดือดร้อนของประชาชนสู่ราชการและรัฐบาล เปรียบเสมือนคนตรงกลาง จะยกเลิกหน้าที่นี้เป็นไปไม่ได้ ” นายยงยศ กล่าว
เมื่อถามว่า หากการรณรณค์แนวคิดดังกล่าวได้รับการยอมรับจากสังคม ทางสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทยจะมีการแสดงท่าทีอย่างไร นายยงยศ กล่าวว่า แนวคิดดังกล่าวเป็นไปไม่ได้ อาจมีแค่การลงชื่อ และคิดว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย หรือหากได้รับการยอมรับจริงอาจมีการระดมเรียกร้องความต้องการของบุคลากรทั้งในชมรมและสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย ว่าเราไม่เห็นด้วยกับความคิดของนายธนาธร เนื่องจากสิ่งที่นายธนาธรคิดไม่ได้อยู่ในรูปแบบของการบริหารราชการแผ่นดิน การจะยกเลิกเป็นความคิดที่ง่ายเกินไป ทางสมาคมต้องมีการแสดงตรงข้ามกับนายธนาธรอย่างแน่นอน
“แนวคิดนี้เป็นการสร้างกระแสในการเมืองที่โดนใจฝ่ายตรงข้าม เขาอาจจะได้แค่กลุ่มมวลชนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น แต่จะเกิดการแตกแยกทั้งสังคม” นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้าน กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แฉอีโม่ง วิ่งเต้นล้มปมชั้น 14 เตือนหยุดทำเถอะ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2568 ให้จับตาดูวันที่ 15 ม.ค.ที่แพทยสภาขีดเส้นตายให้แพทย์รักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 ส่งรายงานการรักษามาตรวจสอบการเอื้อหนีติดคุก แล้วยังต้องติดตามผลตรวจสอบของ ป.ป.ช.กรณีชั้น
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ดร.เสรี ฟาดพรรคขี้โม้-พรรควาทกรรม
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “พรรคหนึ่งมีแต่วาทกรรม ไม่เคยทำงาน
พ่อนายกฯ ลั่นพรรคร่วมรัฐบาลต้องอยู่ด้วยกันจนครบเทอม
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการประเมินสถานการณ์การเมืองในปี 2568 ว่า การเมืองคงไม่มีอะไร ยังเหมือนเดิม พรรคร่วมรัฐบาลก็เหมือนเดิม การที่ไม่เห็นด้วยกับอะไรกันบ้าง ก็เป็น
เทวดาแม้วของขึ้น! เปิดศึกขาประจำกว่า 10 คน รวม ‘แก้วสรร-แฝดน้อง‘
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 41): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น