FC ปชป.แนะหัวหน้าอย่าออกเพียงเพราะจิ้งจกขี้ใส่บ้าน ฉะโกงเลือกตั้งยังมีหน้ามาด้อยค่าพรรค

แฟ้มภาพ

23 เม.ย.2565 - นายสุทิน วรรณบวร อดีตผู้สื่อข่าวสำนักข่าวต่างประเทศ ซึ่งสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า "คนที่ถูกศาลตัดสินจำคุกเพราะโกงการเลือกตั้งพร้อมทั้งศาลสั่งให้พ้นจากความเป็น ส.ส. ถูกตัดสิทธ์การเมือง พ้นจากสมาชิกพรรคการเมืองไปแล้ว ไม่ควรหน้าด้านออกมาพูดในนามพรรคและหนักไปทางด้อยค่าผู้บริหารพรรค เพราะตัวเป็นคนนอกแล้ว ควรใช้เวลาในการหาข้อแก้ตัวในศาลฏีกาดีกว่า"

นายสุทิน โพสต์ถึงพรรคประชาธิปัตย์ด้วยว่า "มีปัญหากับผู้ต้องหาคนเดียวต้องทิ้งพรรคเหมือนหนูเข้าบ้านตัวเดียวต้องเผาบ้าน ถ้ามีปัญหาปากท้องประชาชนจนทนไหวไหม

คนเดียวมีปัญหาทุกคนในพรรคก็พูดว่าให้กระบวนการยุติธรรมดำเนินการเต็มที่พรรคไม่มีการแทรกแซงหรือช่วยเหลือผู้ต้องหา แถมยังเสนอตัวช่วยเหลือทางกฏหมายแก่ผู้ตกเป็นเหยื่อด้วย

ตั้งแต่หัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรค การลาออกตอนนี้คือการหนีปัญหา แต่ถ้าสมาชิกพรรคมีเป้าหมายจะย้ายพรรคอยู่แล้วฉวยโอกาสลาออกตอนนี้ได้ แต่ไม่ควรทับถมพรรคก่อนจากไป เพราะพรรคไม่มีความผิดอะไร

ผู้ต้องลาออกจากพรรคไปแล้วและยินดีเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม คดีจะจบลงอย่างไรควรปล่อยให้เป็นดุลพินิจของศาล ไม่ใช่มาเหมาเอาว่าผู้หาผิดแล้ว และ ทุกคนในพรรคก็ผิดไปด้วย

พรรคอื่นที่เจ้าของพรรคถูกตัดสินจำคุกไม่รู้กี่คดีหนีไปอยู่ต่างประเทศลูกพรรคยังนับหน้าถือตาแถมยังประกาศว่าจะนำพาพรรคให้ชนะแบบแลนด์สไลด์

ไม่ต้องเอาอย่างพรรคนั้นก็แต่ไม่ควรลาออกแบบหุงข้าวประชดหมาปิ้งปลาประชดแมว รักพรรคจริงต้องกันแก้ปัญหา อยู่บ้านเดียวกันจุดไหนสกปรกต้องช่วยกันปัดกวาดกวาดล้าง ไม่ใช่เห็นจิ้งจกขี้ใส่บ้านนิดเดียวบอกว่าหัวหน้าครอบครัวต้องลาออก และ ตัวเองต้องไปเพราะทนความสกปรกไม่ได้ บ้านหลังใหม่ที่จะไปอยู่อาจสกปรกกว่าบ้านหลังเก่าก็ได้ แต่คนอาศัยเขาไม่โวยวายเพราะเกรง (กลัว) เจ้าของบ้าน"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สุริยะ' ชี้ 'วิโรจน์' พูดให้ดูดี ไม่สนนามสกุลเดียวกับ 'ธนาธร' ก็จะตรวจสอบ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม กล่าวกรณีฝ่ายค้านออกมาระบุว่าเตรียมจองคิวอภิปรายไม่ไว้วางใจกระทรวงคมนาคมว่า เป็นการทำหน้าที่ของฝ่ายค้านที่จะตรวจสอบรัฐบาลถือว่าเป็นเรื่องปกติ

พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ? (ตอนที่ 53)

ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกา วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร