สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของทุกคนในสังคมไทย เป็นลูกโซ่ เป็นวงกว้างในทุกภาคส่วน และเป็นระลอกแล้วระลอกเล่าอย่างต่อเนื่อง จวบจนวันนี้ นับเข้าปีที่สามแล้ว ซึ่งคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ความเดือดร้อนจาก “สงครามโรค” เสมอภาคกันทั่วทุกมุมโลก แต่อีกด้านหนึ่งถือเป็นแรงกระตุ้นเตือนและผลักดันให้เราเรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนและพัฒนาตนเองให้ก้าวผ่านวิกฤตเพื่ออยู่ให้รอดอยู่ให้เป็นกับโลกใบใหม่
สำหรับประเทศไทยแล้ว เรามองข้ามความจริงไม่ได้ว่า วิกฤตจากโควิด-19!! กลายเป็นโอกาสสำคัญทำให้คนส่วนใหญ่ได้หันกลับมาเข้าถึงเข้าใจใน “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” นั่นคือการรู้จักพึ่งพาตนเอง
ด้วยแนวคิดการเรียนรู้จักพึ่งพาตนเองตามหลักของเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้คนไทยเกิดแรงบันดาลใจ สามารถเสริมสร้างกำลังใจ “เททิ้ง” ความหมดอาลัยตายอยาก และเลิกตีโพยตีพาย โทษดินฟ้าอากาศหรือแม้แต่โยนความผิดให้ “โควิด” เป็นแพะรับบาป ทั้งนี้สามารถพิสูจน์ทราบได้จาก “รอยยิ้ม” ที่ระบายเต็มหน้าของชาวบ้านที่อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี
สำหรับรอยยิ้มที่ยังมี ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจอันเป็นผลพวงจากไวรัสโควิด-19 นั้น คงต้องยกความดีความชอบให้กับ โครงการ ไทยเบฟ...ร่วมสร้างชุมชนดีมีรอยยิ้ม ภายใต้โครงการพัฒนาชุมชน ตามแนวคิดและนโยบายของผู้บริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ที่ระลึกอยู่เสมอว่า “เรามุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นคง ยั่งยืน ให้ชุมชนสังคมเติบโตควบคู่กับธุรกิจของเรา” ซึ่งแรงบันดาลใจจากทุกคน เพื่อชุมชนที่ยั่งยืน
แนวคิดและนโยบายการพัฒนาชุมชนรอบโรงงานของไทยเบฟ จึงเป็นพันธกิจที่มีการลงมือสร้าง และส่งเสริมให้ชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้มาอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลายาวนานมากกว่า 15 ปี โดยใน จ.สุราษฎร์ธานี ภายใต้โครงการชุมชนดีมีรอยยิ้ม ชาวบ้านที่รวมตัวกัน และมี “โค้ชจิตอาสา” จากไทยเบฟ สามารถสร้างรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืน ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทุกวันนี้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านบาท โดยมีจำนวนสมาชิกผู้ได้รับผลประโยชน์ 429 ราย ผ่านโครงการที่ขับเคลื่อนจำนวน 3 โครงการ ได้แก่
“โครงการผักดีชุมชนดีที่ท่าฉาง” มุ่งเน้นการสร้างช่องทาง การตลาดผักและผลไม้ปลอดภัยให้แก่เกษตรกรใน อ.ท่าฉาง โดยการจัดทำ MOU ระหว่างชุมชนและผู้รับซื้อโดยตรง พร้อมทั้งยกระดับผลผลิต โดยการขอรับรองมาตรฐาน GAP ในผักและผลไม้กว่า 16 ชนิด เช่น แตงกวา ฟักเขียว ฟักทอง ผักบุ้ง มะนาว เป็นต้น สนับสนุนให้มีการหันมาบริโภคผักและผลไม้ปลอดภัยมากขึ้น อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกษตรกรมีทักษะการผลิต การคัดเลือก การบรรจุและขนส่งผลผลิตอย่างมีคุณภาพก่อนส่งตรงถึงมือผู้บริโภค นับเป็นการสร้างรายได้โดยตรงให้กับเกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางและยังเตรียมขยายพื้นที่ไปสู่อำเภออื่นๆ ในอนาคตอีกด้วย
“โครงการผลิตเห็ดครบวงจร” ผลักดันให้เกิดศูนย์การเรียนรู้การผลิตเห็ดครบวงจรในพื้นที่ อ.ท่าฉาง สนับสนุนให้ชุมชนจัดตั้งคณะทำงานและการรวมกลุ่มอย่างเป็นระบบ พร้อมเชื่อมโยงหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมพัฒนาศักยภาพให้ชุมชน ผ่านการสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการกลุ่ม เพิ่มทักษะการผลิตก้อนเชื้อเห็ดและการเพาะเห็ดเพื่อจำหน่าย การคำนวณต้นทุน ราคาจำหน่าย ซึ่งไทยเบฟได้สนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้างโรงบ่มก้อนเชื้อเห็ดและโรงเพาะเห็ดชุมชน โดยขณะนี้มีโรงเพาะเห็ดขนาดเล็กในชุมชนแล้ว จำนวน 6 โรงเรือน
“โครงการชุมชนรอบโรงงานในกลุ่มโรงงานเครือไทยเบฟพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี” พัฒนาแปลงเพาะปลูกผักปลอดภัย และร่วมพัฒนายกระดับมาตรฐานการแปรรูปสินค้าเครื่องแกงก้อนกึ่งสำเร็จรูป ภายใต้แบรนด์ “ครัวขึ้นเครื่อง” โดยมีการบริหารจัดการและวางแผนงานร่วมกันระหว่างชุมชนดีฯ โรงงาน และชุมชน ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงงานกับชุมชนในพื้นที่ สร้างรายได้เสริมให้เกิดแก่ชุมชนรอบโรงงาน
ทั้งนี้คำบอกเล่าด้วยความปลื้มปีติของชาวบ้าน น่าจะเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดีเยี่ยม “เดิมกลุ่มปลูกผักเพื่อขายในชุมชน ขายได้บ้างไม่ได้บ้าง จนเมื่อไทยเบฟเข้ามาดำเนินโครงการชุมชนดีมีรอยยิ้มร่วมกับทางกลุ่ม เข้ามาให้คำปรึกษาในการวางแผนการเพาะปลูกและช่วยหาตลาดเพื่อรองรับผลผลิตให้กลุ่ม ทำให้สมาชิกบางส่วนที่เลิกปลูกผัก หันกลับมาปลูกผักอีกครั้ง ส่งเสริมให้กลุ่มผลิตก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า และเตรียมพัฒนาให้กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้การผลิตเห็ดครบวงจรในปีนี้ ทำให้กลุ่มสามารถลดต้นทุนลงได้มากและเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิกได้อย่างทั่วถึงค่ะ” เสียงสะท้อนจาก นางสุภาภรณ์ ไกรวงศ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผักปลอดภัยบ้านเสวียด
ตอกย้ำด้วยความในใจจาก นายสมพร ใจชื่น ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรตำบลท่าโรงช้าง ที่ระบุว่า “รู้สึกดีใจที่ไทยเบฟเห็นความสำคัญของการสร้างงาน สร้างอาชีพในชุมชน มาช่วยชุมชนสร้างโรงผักกางมุ้ง เพื่อให้เราได้ปลูกผักปลอดสารไว้ใช้กิน ใช้ขาย และยังเปิดโอกาสให้ทางชุมชนนำสินค้าของสมาชิกกลุ่มต่างๆ เข้าไปจำหน่ายให้กับพนักงานในโรงงานในเครือไทยเบฟ อีกทั้งเข้ามาช่วยดูในเรื่องการบริหารจัดการกลุ่ม การทำบัญชี ช่วยเป็นที่ปรึกษาด้านต่างๆ และยังช่วยเชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆ เข้ามาช่วยพัฒนาชุมชนของผม ทำให้ชุมชนมีรายได้และความสุขเพิ่มขึ้น อยากให้ไทยเบฟทำโครงการดีๆแบบนี้ต่อไปครับ”
สิ่งที่น่าสนใจคือ ในช่วงสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการจัดจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เงาะโรงเรียนนาสาร ในพื้นที่ อ.บ้านนาสาร ทางโครงการพัฒนาชุมชนของไทยเบฟ ก็ได้เข้าไปช่วยพัฒนาช่องทางตลาดออนไลน์ เพื่อแก้ปัญหาเงาะโรงเรียนนาสารขาดช่องทางจัดจำหน่าย สร้างยอดขายได้มากถึง 6,000 กิโลกรัม ในระยะเวลาเพียง 1 เดือน
เรื่องดีๆอันเป็นชีวิตจริงไม่ได้อิงนิยาย ที่เกิดขึ้นในชุมชนห่างไกลเมืองหลวงนั้น เป็นสิ่งสะท้อนบอกได้ชัดเจนว่า ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างและพัฒนาชุมชนดีมีรอยยิ้มมีความเข้มแข็งตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยังมี “ไทยเบฟ” เป็นกำลังใจเคียงข้างชุมชนแห่งนี้ และพร้อมยืนหยัดว่า ท่ามกลางวิกฤตต่างๆ จะยังคงเดินหน้าสร้างรอยยิ้มและความสุขให้กับชาวบ้าน พร้อมผลักดัน “ชุมชนดีมีรอยยิ้มสุราษฎร์ธานี” ให้พึ่งพาตนเองได้ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมศักยภาพของชุมชน สืบสานและส่งต่อองค์ความรู้ ภูมิปัญญา เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ยลสายน้ำ ยินทำนอง” Melodies of the River ประมวลภาพความประทับใจในงาน River Festival 2024 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 สืบสานประเพณีลอยกระทงแบบรักษ์โลก ใส่ใจสิ่งแวดล้อม
สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมไทย กับประเพณีลอยกระทงแบบรักษ์โลกในงาน River Festival 2024 สายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 – 16 พฤศจิกายน
ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร นครนายก น้อมรำลึก ร.9
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นายกกิตติมศักดิ์และประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา พระราชทานพระราชานุญาตให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดงาน “ชัยพัฒนาแฟร์” ขึ้น เพื่อแสดงแนวคิดด้านการพัฒนา
นุ่งโจงห่มสไบลอยกระทง ยลวิถีคืนเพ็ญที่ ’สุขสยาม’
Bangkok River Festival 2024 เทศกาลสายน้ำแห่งวัฒนธรรมไทย ปีที่ 10 “ยลสายน้ำ ยินทำนอง” ที่เชิญชวนมาร่วมสืบสานประเพณีลอยกระทงริมสองฝั่งสายน้ำเจ้าพระยา
สุราษฎร์ธานี จัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกปี67 ย้ำชุมชนต้องเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยคนจน
UN – HABITAT หรือ ‘โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ’ กำหนดให้วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปีเป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ หรือ ‘World Habitat Day’
โครงการ ไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว สานต่อปณิธานแห่งการ “ให้” ปีที่ 25 “มากกว่าความอบอุ่น คือสังคมแห่งการให้ที่ยั่งยืน”
จากความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ อีกทั้งภัยพิบัติรุนแรงหลายรูปแบบที่ต้องเผชิญในยุคของ Global Boiling (สภาวะโลกเดือด) กระทบต่อหลายพื้นที่ตอนบนของประเทศไทยในแถบภาคเหนือ