'สกลธี' หวังจับสลากได้เลขเบอร์ 6 สอดรับนโยบาย

'สกลธี' ไม่กังวลคู่แข่งชิงพ่อเมือง บอกเป็นการแข่งขันกับตัวเอง เผยจับได้เบอร์ไหนก็ได้ แต่หวังได้เลขตัวเดียวโดยเฉพาะเบอร์ 6 พร้อมสอดรับนโยบาย 6 ด้าน

31 มี.ค.2565 - เมื่อเวลา 6.10 น. นายสกลธี ภัททิยกุล อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เดินทางมาถึงศาลาว่าการ กทม.2 ดินแดง เพื่อสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม. โดยก่อนเดินเข้าอาคาร นายสกลธี ให้สัมภาษณ์ว่า เมื่อคืนนอนแต่หัวค่ำทำใจให้สบาย พร้อมจับหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร และถือฤกษ์สะดวกในการเดินทางมาในวันนี้ ปกติหากมีการลงสมัครทางการเมืองจะเดินทางไปไหว้ศาลหลักเมืองและพระแม่ธรณีบีบมวยผม รวมถึงศาลเจ้าพ่อเสือทุกครั้ง ส่วนวันนี้จะพิเศษเพราะจะสักการะพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เพราะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ซึ่งไม่กังวลในเรื่องของตัวผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพฯ คนใด เพราะเหมือนเป็นการแข่งขันกับตัวเองนำเสนอนโยบายให้กับประชาชนชาวกรุงเทพฯ

เมื่อถามว่าจะทักทายกับ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อดีตผู้ว่าฯ กทม.ด้วยหรือไม่ นายสกลธี กล่าวว่า ต้องสวัสดีทักทายอยู่แล้ว เพราะถือเป็นอดีตผู้บังคับบัญชาที่ให้ความเคารพ

ถามว่าคาดหวังกับการจับสลากหมายเลขประจำตัวผู้สมัครหรือไม่ นายสกลธี กล่าวว่า ไม่ได้ได้คาดหวัง แต่ถ้าได้ตัวเลขมือเดียวจะเป็นเรื่องดี ตัวเลขไหนก็ไม่สำคัญ เพราะสมัยได้เป็น ส.ส. ก็ได้เบอร์ 12 ซึ่งไม่ใช่เลขตัวเดียวทั้งหมด เพราะขึ้นอยู่กับประชาชนที่เขาจะจำได้และเลือก ส่วนตัวไม่มีเลขนำโชค

ถามย้ำว่าหมายเลข 6 คือเลขในใจ เพราะมีการชูนโยบาย 6 ด้านใช่หรือไม่ นายสกลธีกล่าวว่า เลขนี้ชอบอยู่แล้ว ถ้าได้ก็จะสามารถนำมาต่อยอดกับนโยบายได้ และเป็นเรื่องดี สำหรับนโยบายนั้นมาจากประสบการณ์ที่เคยเป็นรองผู้ว่าฯ มาแล้ว ซึ่งหลายอย่างที่ได้ทำจะนำมาต่อยอด และในสิ่งที่ยังไม่ได้ทำในช่วงที่เป็นรองผู้ว่าฯ เนื่องจากไม่ได้ดูแลกำกับอยู่ก็จะนำมาใส่เป็นนโยบายในการหาเสียงครั้งนี้ ซึ่งหลายอย่างมาจากการร้องเรียนของประชาชน

นายสกลธี ย้ำตอนท้ายว่ากรุงเทพฯ ดีอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องมีการจัดการที่ดีขึ้นและดีกว่านี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด