แฟ้มภาพ
26 มี.ค.2565 - นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “สภาพปัญหาของกระบวนการยุติธรรมไทยกับมุมมองของนักการเมืองต่อกระบวนการยุติธรรมไทย” ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ให้แก่ผู้เข้ารับการอบรมหลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 26 จัดโดยสถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม เมื่อ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา
โดบนายชวน กล่าวว่า วันนี้เป็นการบรรยายถึงสภาพปัญหาของกระบวนการยุติธรรมไทยที่ได้เรียนรู้ และรับทราบจากประสบการณ์ของการทำหน้าที่ในฐานะที่เป็นนักการเมือง ทั้งในฐานะที่เคยได้ทำหน้าที่ในส่วนของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร เพื่อถ่ายทอดมุมมองของนักการเมืองต่อกระบวนการยุติธรรมไทย โดยหลักสำคัญที่ต้องยึดเป็นหลักในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประชาชน คือ หลักธรรมาภิบาล 6 ประการ ซึ่งเมื่อกล่าวถึงหลักธรรมาภิบาลแล้วจะพบว่าสภาพปัญหาของกระบวนการยุติธรรมไทย สามารถจำแนกได้ดังต่อไปนี้
นายชวน กล่าวต่อว่า 1.ปัญหาเกี่ยวกับระบบการบริหารงานยุติธรรม 2.ปัญหาเกี่ยวกับระบบการดำเนินคดีอาญา 3.ปัญหาเกี่ยวกับระบบการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิด 4.ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติโดยไม่ชอบธรรมจากบุคคลในกระบวนการยุติธรรม
5.กระบวนการยุติธรรมขาดการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากประชาชน 6.กระบวนการยุติธรรมขาดองค์ความรู้และศักยภาพในการพัฒนา และ 7.บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมขาดจิตสำนึกและขาดทัศนคติที่ดีในการให้บริการความยุติธรรมแก่ประชาชน
นายชวน กล่าวอีกว่า จากสภาพปัญหาข้างต้นสะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยประสบกับปัญหาสำคัญหลายประการ ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม ทั้งเรื่องกฎหมายบางฉบับที่ล้าสมัยและไม่สอดคล้องกับสภาพของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป การใช้อำนาจในการออกกฎหมายที่เอื้อประโยชน์ต่อคนเฉพาะกลุ่ม และปัญหาด้านการทุจริตคอร์รัปชันที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับคนส่วนใหญ่ในสังคม ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างรวดเร็ว เป็นธรรม และทั่วถึง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นการผลักดันให้เกิดการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปทางด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
“การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานได้ อีกทั้งยังเป็นกลไกในการควบคุมติดตามและตรวจสอบ โดยมีประชาชน หรือองค์กรภายนอกเข้ามามีส่วนร่วม ประกอบกับการยึดหลักคุณธรรม คือการยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีระเบียบวินัย ซึ่งผู้บริหารและข้าราชการทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการประจำต้องตั้งใจปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่ โดยให้ความสำคัญกับผู้รับบริการหรือประชาชน นอกจากนี้ ต้องทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจเรื่องสำคัญของสังคม
ฉะนั้น จึงต้องปรับวิธีคิดโดยให้ทุกฝ่ายบูรณาการการทำงานร่วมกัน และนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้เพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จ รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาสังคมในกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น ส่งเสริมให้ประชาชนได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลข่าวสารและผู้ที่มีส่วนเข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม ตลอดจนการรณรงค์ให้ประชาชนรู้สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย และตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการยุติธรรมในฐานะเป็นกลไกหลักในการผดุงไว้ ซึ่งหลักนิติธรรมอย่างจริงจัง” นายชวน กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ป.ป.ช.สะดุ้ง! ยก 6 เหตุผลปราบคอร์รัปชันไร้ประสิทธิภาพ คนโกงจึงเหิมลำพอง
สาเหตุที่การป้องกันและปราบปรามการทุจริตไม่ได้ผลไร้ประสิทธิภาพและพวก คนโกงคนชั่วหรือเหิมลำพอง อยู่ได้ก็เพราะ
สว.ปฏิมา กังวลกระบวนการยุติธรรมไทยกำลังถูกสั่นคลอนหนัก!
นายปฏิมา จีระแพทย์ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ปัจจุบันนี้ เราต่างทราบดีว่า การรักษาความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของประเทศคื
'นักกฎหมาย' โต้ยิบ 'กรมที่ดิน' ปมที่ดินเขากระโดง
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีกรมที่ดินชี้แจง 5 ประเด็นเกี่ยวกับที่ดิน 'เขากระโดง' ว่าคำแถลงของกรมที่ดิ
'เสรีพิสุทธ์-โจ๊ก' เบี้ยวแจง กมธ.ปมทักษิณนอนชั้น 14 อดีตรองแพทย์ใหญ่ชิ่งบอกอยู่ช่วงเออรี่รีไรท์
'กมธ. ความมั่นคงฯ' ถกปม 'ทักษิณ' รักษาตัวชั้น 14 ด้าน 'บิ๊กโจ๊ก-เสรีพิศุทธ์' ไม่มา ขณะที่ 'ผอ.ราชทัณฑ์' ยัน เป็นไปตามกฎกระทรวง ส่วนอดีตรองแพทย์ใหญ่ ไม่ทราบเรื่องการรักษา อ้างอยู่ช่วงเออรี่รีไรท์-ลาพักร้อน
‘หมอเปรม’ แฉมีจนท.รัฐ ใช้ กม.หาประโยชน์กับประชาชน ที่ใช้โดรนเพื่อการเกษตร
หมอเปรม แฉมีเจ้าหน้าที่รัฐใช้กฎหมายหาประโยชน์กับประชาชนที่ใช้โดรนเพื่อการเกษตร จี้รัฐบาลแก้กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค รมว.ดีอียันรัฐบาลพร้อมสนับสนุนเต็มที่ให้การใช้โดรนเกิดประโยชน์สูงสุดในทุกภารกิจ
ทั่วโลกจับตา! 'คดีตากใบ' สะท้อนไทยล้มเหลว ปล่อยละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำ
แอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย หวั่นคดีตากใบหมดอายุความ กลายเป็นใบเบิกทางละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีก ชี้ชัด ทั่วโลกจับตาดูอยู่ เชื่อจะเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงบนเวทีสาธารณะระหว่างประเทศต่อเนื่อง