"มาร์ค" จี้แก้รัฐธรรมนูญเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยแท้จริง แนะถ้าไม่อยากให้มีรัฐประหาร ฝ่ายตุลาการต้องเปลี่ยนแนววินิจฉัยกฎหมาย ไม่รับรองอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ ยืนยันว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
25 มี.ค.2565 - คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ จัดการเสวนาเวทีสาธารณะ 30 ปีพฤษภาประชาธรรม เหตุการณ์ 17 พฤษภาคม 35 กับการพัฒนาประชาธิปไตย โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งว่า ไม่มีใครปฏิเสธว่า 30 ปีผ่านไป คงจะเป็นเรื่องอยากมากที่คนจะบอกว่าการเมืองไทยมีความก้าวหน้าขึ้น เรากำลังใช้รัฐธรรมนูญซึ่งมีโครงสร้างคล้ายคลึงกันกับเมื่อปี 2521 มากที่สุด ที่ยอมรับว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย รวมถึงการถดถอยในระบบเสรีประชาธิปไตยมีค่อนข้างมากอย่างชัดเจน นอกจากนี้ 20 ปีที่ผ่านมาโลกทั้งโลกเผชิญกับการถดถอยของระบบเสรีประชาธิปไตยเช่นกัน ผู้นำหลายประเทศในขณะนี้ซึ่งเรียกว่าเผด็จการ หรืออำนาจนิยม ก็ได้เปลี่ยนรูปแบบโดยใช้เสื้อคลุมประชาธิปไตยเหมือนในไทย ทั้งมาจากการเลือกตั้ง และมีพรรคการเมือง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าเราอยากจะก้าวเดินไปข้างหน้า เราต้องเก็บเกี่ยวทุกมุมของเหตุการณ์ประวัติ เพื่อออกแบบระบบการเมืองที่สามารถพูดได้เต็มปากว่าปฏิรูปแล้วเป็นเสรีประชาธิปไตยจริงๆ ซึ่งไม่สามารถทำได้โดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ดังนั้นจึงต้องเคลื่อนไหวเพื่อทำให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นไปตามหลักการเสรีประชาธิปไตยจริงๆ อย่างไรก็ตามเรายังมีปัญหาสิ่งตกค้างจากรัฐธรรมนูญ 2560 คือบทเฉพาะกาล มีความสุ่มเสี่ยงสร้างความขัดแย้งหลังการเลือกตั้งกรณีที่สว. 250 คน และเสียงข้างมากที่มาจากประชาชนเห็นไม่ตรงกัน เพราะฉะนั้นการจะก้าวเดินต่อไปจึงต้องแก้รัฐธรรมนูญ ก่อนการเลือกครั้งหน้าจะต้องแก้มาตรา 272 ก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดชนวนของความขัดแย้ง
"หวังว่าในการเลือกตั้งครั้งต่อไปทุกพรรคจะสนับสนุนให้มีการสร้างกติกาให้เป็นเสรีประชาธิปไตย ถ้าเกิดขึ้นได้ จังหวะนั้นเราจะต้องนำบทเรียนต่างๆมาถกเพื่อจัดทำรัฐธรรมนูญ เพื่อให้กระชับและเน้นเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างอำนาจและสิทธิเสรีภาพ อย่าให้รัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ใครอยากได้อะไรแล้วไปใส่ไว้ในนั้น ส่วนเชิงโครงสร้างคนที่มีอำนาจในการบริหารประเทศต้องมาจากประชาชน ขณะเดียวกันหัวใจที่จะทำให้รัฐธรรมนูญที่จัดทำใหม่ให้เกิดความยั่งยืน ไม่เจอปัญหาเหมือนที่ผ่านมา เราต้องแก้สมการที่ยากที่สุดให้ออก ว่าเราจะพึ่งพากลไกการตรวจสอบ ถ่วงดุลในรูปแบบใด ถ้าเราจะกลับไปสู่ระบบที่เสียงข้างมากในสภาทำได้ทุกอย่างผมว่าจะเกิดปัญหาอีก จะทำอย่างไรให้องค์กรอิสระไม่ถูกแทรกแซง บิดเบือนไปโดยผู้ที่มีอำนาจ เหมือนกับที่กำลังเกิดขึ้นในวันนี้ ถ้าออกแบบตอบโจทย์ได้ จะเห็นการพัฒนาปฏิรูปการเมืองที่มีความยั้งยืนและตรงตามเจตนารมณ์ของการต่อสู้ เพื่อระบบเสรีประชาธิปไตย"นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ไม่ว่าเราจะออกแบบรัฐธรรมนูญกันอย่างไร หากมีการรัฐประหารเกิดขึ้นในอนาคต เราต้องยอมรับว่าสิ่งแรกที่คณะรัฐประหารทำก็คือการฉีกรัฐธรรมนูญทิ้ง ซึ่งการหยุดวงจร หรือการสกัดกั้นการรัฐประหารได้ ต้องเกิดขึ้นจากฝ่ายตุลาการในที่สุด ฝ่ายตุลาการต้องเปลี่ยนแนววินิจฉัยกฎหมาย จากที่บอกว่าเมื่อมีรัฐประหารแล้วเกิดองค์รัฐาธิปัตย์ สามารถออกกฎหมายลบล้างทุกสิ่งได้ ต้องมีการวินิจฉัยเสียใหม่ ว่าการกระทำต่างๆของคณะรัฐประหารยืนยันว่าเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นวิธีที่ชัดเจนที่สุดในการคุ้มครองคนที่จะออกมาต่อสู้หรือต่อต้านการรัฐประหารได้ในอนาคต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ
ดิ้นสุดซอย! 'ชูศักดิ์' ชี้ช่องยื่นตีความ พรบ.ประชามติ เป็นกฎหมายการเงิน ไม่ต้องรอ 180 วัน
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการตีความร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การออกเสียงประชามติ ว่าเป็นกฎหมายการเงินหรือไม่
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476