ฉะ 'ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' จะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน

19 มี.ค.2565 - นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Nantiwat Samart โดยมีรายละเอียดดังนี้

จะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน

ข่าวการนับอายุของประธานศาลรัฐธรรมนูญไม่น่ามีปัญหา นึกว่าจะจบง่ายๆ ตุลาการซึ่งเป็นนักกฎหมายที่วินิจฉัยคดีคนอื่นมาตั้งเยอะ มาตกม้าตายเอาง่ายๆด้วยเรื่องการนับอายุประธานศาล ต้องโยนเรื่องให้กรรมการสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาด

คำถามแรก เลขาธิการวุฒิสภาทำหน้าที่เป็นเลขาของกรรมการสรรหา และเป็นนายทะเบียนขององค์กรอิสระต่างๆ ที่จะต้องจดแจ้งและเตือนให้วุฒิสภาทราบว่า กรรมการองค์กรอิสระใดกำลังจะครบวาระ หากนายวรวิทย์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญต้องครบวาระเนื่องจากอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ใน 1 มีนาคม 65 กฎหมาย พรป.ศาล มาตรา 19 บัญญัติว่า เลขาธิการรัฐสภาต้องแจ้งให้มีการสรรหาคนใหม่ล่วงหน้าก่อนครบวาระ 120 วัน คือ 4 เดือน นั่นคือ กระบวนการสรรหาต้องเริ่มเมื่อธันวาคม 64 ไม่เชื่อว่าเลขาธิการวุฒิฯ จะหลงลืมปล่อยให้ไม่มีการสรรหาจนประธานศาลรัฐธรรมนูญครบวาระ มั่นใจได้แน่ว่า เลขาวุฒิน่าจะไม่ผิดพลาด

ข่าวแนะนำ

ประการที่สอง พรป.ศาลรัฐธรรมนูญมาตรา 18(4) บัญญัติว่า ตุลาการรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งเมื่ออายุครบ 75 ปี และในบทเฉพาะกาลมาตรา 79 ระบุว่า ประธาน (เน้นนะ)​และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งดำรงตำแหน่งยังไม่ครบวาระตามรัฐธรรมนูญปี 2550 (9 ปี)​ ในขณะนั้นมีตุลาการที่มาจากรัฐธรรมนูญปี 2550 จำนวน 4 คน และดำรงตำแหน่งอยู่ก่อน พรป.

ศาลฉบับนี้ประกาศใช้บังคับ ให้ดำรงตำแหน่งต่อไป จนครบวาระตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2550 และในรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 208 (4) กำหนดให้ตุลาการพ้นจากตำแหน่งเมื่ออายุ 75 ปี และในบทเฉพาะกาลมาตรา 273 บัญญัติไว้ว่า ตุลาการที่อยู่ก่อนรัฐธรรมนูญฉบับนี้บังคับใช้ ให้ดำรงตำแหน่งต่อไปตามรัฐธรรมนูญปี 2550

ประธานศาลดำรงตำแหน่งตุลาการตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ใช่ไหม คำตอบคือใช่ วาระในตำแหน่งคือ 9 ปี แต่รัฐธรรมนูญ ปี 60 ให้พ้นจากตำแหน่งเมื่ออายุครบ 75 ปี ประธานคนปัจจุบันจึงยังสามารถอยู่ในตำแหน่งต่อไป เพราะเพิ่งอายุ 70 ปีไม่ถึง 75 ปี แต่จะครบวาระในตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญปี 2550 คือ ครบ 9 ปีใน กันยายน 2566

อธิบายง่ายๆอย่างนี้

ขออย่าให้ความอยากได้ใคร่เป็นโน่นเป็นนี่ มาบดบังแสงสว่างในใจท่านตุลาการ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ไพบูลย์' เบรกหัวทิ่มมือกฎหมายเพื่อไทย  คลอดประชามติ 2 ครั้ง

“ไพบูลย์” โต้ ”ชูศักดิ์“ ใช้คำวินิจฉัยส่วนตน 6 ตุลาการอ้างทําประชามติ 2 ครั้งไม่ได้ บอก ต้องยึดคําวิฉัยกลาง ชี้มีแค่แก้รายมาตราเท่านั้นไม่ต้องทำ

วัฒนาแห้ว! ศาล รธน.มีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง

'วัฒนา' แห้ว 'ศาล รธน.' มติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง ปมขอให้ชี้ขาดคำพิพากษาขององค์คณะผู้พิพากษาคดีทุจริตบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

'ไพศาล' เผยเหตุศาลรธน. ให้อัยการสูงสุดชี้แจงคำร้องสอบ 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า ทำไมศาลรัฐธรรมนูญต้องให้อัยการสูงสุดชี้แจงคำร้องขอเกี่ยวกับการล้มล้างการปกครอง

ศาลรธน. ถามอัยการสูงสุด ปมคำร้องทักษิณครอบงำเพื่อไทย ขีดเส้นตอบกลับใน 15 วัน

ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาในคดีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 กล่าวอ้างว่ นายทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคเพื่อไทย ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพ

ดร.ณัฏฐ์-นักกม.มหาชน ชี้ชัด 'ล้มล้างการปกครอง' ต้องมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ

มือกฎหมายมหาชน ชี้ “ล้มล้างการปกครอง” สารตั้งต้นนำไปสู่ยุบพรรคเพื่อไทย ต้องมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจน เพียงพอ กำลังดำเนินอยู่และไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ