ศาลรธน.ร้อน! 4 ตุลาการชงวินิจฉัย 'วรวิทย์' พ้นตำแหน่งประธานหรือไม่

วรวิทย์ กังศศิเทียม

17 มี.ค.2565 - ศาลรัฐธรรมนูญออกจดหมายข่าวระบุว่า ในที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีตุลาการของศาลที่ขอหารือเกี่ยวกับวาระดำรงตำแหน่งของ นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ประธานศาลรัฐธรรมนูญคนปัจจุบันที่เพิ่งมีอายุครบ 70 ปีไปเมื่อวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมาและอยู่ในตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ 9 ก.ย.2557 รวมเป็นเวลา 7 ปี 6 เดือนแล้ว จะต้องพ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่เนื่องจากเป็นผู้มีคุณสมบัติต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ 2550

ทั้งนี้ในที่ประชุมมีความเห็นว่าให้ตุลาการผู้ที่เห็นว่านายวรวิทย์มีปัญหาเกี่ยวกับการดำรงตำแหน่งประธานศาลส่งคำร้องของตนไปยังเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ส่งคำร้องดังกล่าวต่อไปให้เลขาธิการวุฒิสภาเสนอเรื่องต่อประธานกรรมการสรรหาต่อไป เนื่องจากคณะกรรมการสรรหามีอำนาจหน้าที่เป็นผู้วินิจฉัยและความเห็นของของคณะกรรมการสรรหาเป็นที่สุดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 203

ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากรณีนี้สำนักข่าวอิศรา ระบุว่าเมื่อวันที่ 31 ม.ค.2565 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือถึงประธานศาลรัฐธรรมนูญเพื่อทราบถึงความเห็นเกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งของวรวิทย์ในตำแหน่งประธานศาลที่จะพ้นว่าการดำรงตำแหน่งเมื่อครบวาระ 9 ปีในวันที่ 9 ก.ย.2566 ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 โดยจะไม่พ้นจากตำแหน่งเมื่ออายุครบ 70 ปี

จากนั้น 2 ก.พ.2565 นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ มีหนังสือแจ้งเวียนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อทราบเรื่องความเห็นเกี่ยวกับวาระการดำรงตำแหน่งของนายวรวิทย์ โดยหนังสือระบุว่าวรวิทย์มอบหมายให้สำนักงานศาลรวบรวมข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับบทเฉพาะกาลของพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ปี 2561 มาตรา 79

ทั้งนี้นายวรวิทย์ได้รับเลือกให้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ 2550 แต่ในระหว่างที่นายวรวิทย์ดำรงตำแหน่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ซึ่งทั้งสองฉบับมีการกำหนดคุณสมบัติและจำนวนปีของวาระในการดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเอาไว้ต่างกัน

โดยในรัฐธรรมนูฐญฉบับปี 2550 กำหนดให้ตุลาการศาลดำรงตำแหน่งได้นาน 9 ปี และให้พ้นตำแหน่งเมื่อมีอายุครบ 70 ปี แต่รัฐธรรมนูญฉบับ 2560 กำหนดให้ตุลาการดำรงตำแหน่งได้นาน 7 ปี ซึ่งนายวรวิทย์จะขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ตามที่ได้เขาได้รับการแต่งตั้งมา

อย่างไรก็ตาม หลังมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ได้มี พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ปี 2561 ตามออกมากำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล มาตรา 79 ให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการแต่งตั้งตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 และดำรงตำแหน่งมาก่อนที่พ.ร.ป.ฉบับนี้ประกาศใช้ อยู่ในตำแหน่งต่อไป

สำนักข่าวอิศรา ยังได้รายงานถึงผลการหารืออย่างไม่เป็นทางการของตุลาการทั้ง 9 คนในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ด้วยว่า มีตุลาการ 4 คน เห็นว่า นายวรวิทย์ ต้องพ้นจากตำแหน่ง ประกอบด้วย นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ , นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ , นายจิรนิติ หะวานนท์และนายอุดม สิทธิวิรัชธรรม ส่วนอีก 4 คน ที่ยังไม่แสดงความคิดเห็นที่ชัดเจนได้แก่ นายวิรุฬห์ แสงเทียน, นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์, นายปัญญา อุดชาชน และนายนภดล เทพพิทักษ์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ไพบูลย์' เบรกหัวทิ่มมือกฎหมายเพื่อไทย  คลอดประชามติ 2 ครั้ง

“ไพบูลย์” โต้ ”ชูศักดิ์“ ใช้คำวินิจฉัยส่วนตน 6 ตุลาการอ้างทําประชามติ 2 ครั้งไม่ได้ บอก ต้องยึดคําวิฉัยกลาง ชี้มีแค่แก้รายมาตราเท่านั้นไม่ต้องทำ

วัฒนาแห้ว! ศาล รธน.มีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง

'วัฒนา' แห้ว 'ศาล รธน.' มติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง ปมขอให้ชี้ขาดคำพิพากษาขององค์คณะผู้พิพากษาคดีทุจริตบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

'ไพศาล' เผยเหตุศาลรธน. ให้อัยการสูงสุดชี้แจงคำร้องสอบ 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า ทำไมศาลรัฐธรรมนูญต้องให้อัยการสูงสุดชี้แจงคำร้องขอเกี่ยวกับการล้มล้างการปกครอง

ศาลรธน. ถามอัยการสูงสุด ปมคำร้องทักษิณครอบงำเพื่อไทย ขีดเส้นตอบกลับใน 15 วัน

ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาในคดีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 กล่าวอ้างว่ นายทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคเพื่อไทย ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพ

ดร.ณัฏฐ์-นักกม.มหาชน ชี้ชัด 'ล้มล้างการปกครอง' ต้องมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ

มือกฎหมายมหาชน ชี้ “ล้มล้างการปกครอง” สารตั้งต้นนำไปสู่ยุบพรรคเพื่อไทย ต้องมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจน เพียงพอ กำลังดำเนินอยู่และไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ