สำหรับผม เห็นในภาพรวมว่าหากรัฐบาลตัดสินใจปฏิรูปประเทศในเรื่องสำคัญ เรื่องใหญ่ เรื่องที่ส่งผลสะเทือนเสมือนเป็นหัวรถจักรที่จะนำขบวนปฏิรูปด้านอื่นให้เคลื่อนตามไป โดยตัวของรัฐบาล หรือพูดง่าย ๆ ว่าโดยตัวนายกรัฐมนตรีเอง ก็จะเป็นงานยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่สร้างคุณค่าให้ตัวท่านว่าควรคู่กับการอยู่บริหารประเทศจนครบวาระ
15 มี.ค.2565- นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา โพสต์เฟซบุ๊ก Kamnoon Sidhisamarn คดีแตงโม
ย้อนนึกถึงกฎหมายให้อัยการร่วมสอบสวนที่ถูกทำแท้ง !
การที่ผู้คนทั้งที่เกี่ยวข้องโดยตรงและไม่เกี่ยวข้องออกมาตั้งข้อสังเกตและข้อสงสัยในคดีการเสียชีวิตของคุณแตงโมมาก รวมทั้งร้องไปที่คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนสิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา เป็นอีกรูปธรรมหนึ่งที่สะท้อนความไม่เชื่อมั่นในการทำงานของตำรวจ โดยเฉพาะในคดีที่ผู้ต้องหาหรือผู้ต้องสงสัยมีเงินทองและเครือข่ายอิทธิพลในระบบอุปถัมภ์
ถึงต้องมีการปฏิรูปตำรวจไงครับ
โดยเฉพาะปฏิรูประบบการสอบสวนในชั้นตำรวจ ซึ่งสำคัญมาก เพราะเป็นต้นสายธารของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
สมควรให้ตำรวจทำงานเพียงลำพังหน่วยเดียวเหมือนเดิม หรือให้หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมทำงานด้วยตั้งแต่ต้นในคดีที่มีความสำคัญ
ตรงไปตรงมาก็คือควรให้อัยการเข้ามาร่วมสอบสวนด้วยตั้งแต่ต้นมั้ย
แทนที่จะให้นั่งรอสำนวนสอบสวนจากตำรวจเพื่อยื่นฟ้องหรือไม่สถานเดียว ซึ่งมีจุดอ่อน เพราะถ้าเห็นสำนวนไม่สมบูรณ์ แม้สั่งสอบสวนเพิ่มเติมได้ก็จริง แต่เวลาอาจไม่ทันตามกำหนดที่กฎหมายบังคับไว้ หรือพยานหลักฐานอาจไม่ครบถ้วนเหมือนช่วงเหตุการณ์เกิดขึ้นหมาด ๆ
ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เป็นเรื่องเก่าที่พูดกันมาเป็นสิบ ๆ ปีแล้ว
รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 258 ง. (2) บัญญัติไว้ว่า…
“ปรับปรุงระบบการสอบสวนคดีอาญาให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างพนักงานสอบสวนกับพนักงานอัยการอย่างเหมาะสม…”
ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการให้อัยการเข้ามาร่วมสอบสวนในคดีสำคัญเสร็จออกมาจากชั้นกฤษฎีกาตั้งแต่ปลายปี 2561 ตีอต้นปี 2562 แล้ว
“ร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. ….”
เป็นกฎหมายปฏิรูปในลักษณะที่เรียกได้ว่าเป็นกฎหมายคู่กับร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. …
แต่รัฐบาลไม่ส่งเข้ารัฐสภา
เพราะตำรวจคัดค้าน
ในขณะที่คู่ของเขาคือร่างพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. … ถูกส่งเข้าสภาแล้วก็จริง แต่ก็ถูกแก้ไขในประเด็นสำคัญโดยตำรวจเสียไม่น้อย แล้วยังมาถูกแก้ไขในชั้นกรรมาธิการของรัฐสภาอีกพอสมควร
จะอ้างว่าไม่ควรทำเป็นกฎหมายเฉพาะควรแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทีเดียวเลยดีกว่า ก็ฟังไม่ขึ้น
เพราะรัฐบาลไม่แถลงออกมาให้ชัดเจน
แล้วทีกรณีกฎหมายฉีดจู๋ฝ่อ หรือชื่อจริงเขาคือร่างพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. …. ล่ะ นั่นก็ใช้รูปแบบตราเป็นกฎหมายเฉพาะเหมือนกัน แถมเร่งรัดเป็นพิเศษอีกด้วย ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญชัดเจน
มาย้อนดูรายละเอียดโดยสังเขปของร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญาที่เปิดโอกาสให้อัยการเข้ามาร่วมสอบสวนในคดีสำคัญกันสักหน่อยดีไหมครับ
ร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ. … กำหนดให้อัยการเข้ามาร่วมในกระบวนการสอบสวนของตำรวจได้ตั้งแต่ต้นในคดี…
- คดีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษขั้นต่ำให้จำคุกตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานหนักกว่านั้น
- คดีตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์
- คดีอื่น ๆ ตามที่อัยการสูงสุดกับผบ.ตร.ร่วมกันกำหนด
ในคดีเหล่านี้ กำหนดขั้นตอนให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้พนักงานอัยการที่มีเขตอำนาจได้ทราบทันทีหลังจากแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหารับทราบแล้ว
เมื่อได้รับแจ้งแล้ว ให้พนักงานอัยการมีอำนาจไปเข้าร่วมสอบสวนกับพนักงานสอบสวน ณ ที่ทำการของพนักงานสอบสวน หรือขอให้พนักงานนอบสวนแจ้งความคืบหน้าในการสอบสวนให้ทราบเป็นระยะ หรือขอให้ตรวจสอบพยานหลักฐานหรือประเด็นใดเพิ่มเติมเป็นการเฉพาะ
การกำหนดให้พนักงานอัยการ ‘…ไปเข้าร่วมการสอบสวน ณ ที่ทำการของพนักงานสอบสวน’ ก็เพื่อความชัดเจนและไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา หรือพยาน หากจะต้องพบพนักงานอัยการ
ในการสอบสวนร่วมกันดังกล่าว หรือในกรณีที่พนักงานสอบสวนเห็นว่าควรได้รับคำปรึกษาแนะนำจากพนักงานอัยการ เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควร ให้พนักงานอัยการปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับพนักงานสอบสวนเพื่อให้คำแนะนำหรือตรวจสอบพยานหลักฐานตั้งแต่ชั้นเริ่มต้นการสอบสวน โดยให้พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามคำแนะนำของพนักงานอัยการในเรื่องที่เกี่ยวกับการสอบสวนคดีนั้น
ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่อัยการสูงสุดและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติร่วมกันกำหนด
ในระหว่างที่ยังมิได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขดังกล่าว ให้พนักงานสอบสวนดำเนินการไปตามที่พนักงานอัยการแจ้งให้ทราบเป็นเรื่อง ๆ ไป
ทั้งนี้ ในการแจ้งหรือติดต่อประสานงานกันทั้งหมดตามกระบวนการใหม่นี้ จะแจ้งหรือติดต่อกันทางอิเลคทรอนิคส์ก็ได้ เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว
น่าเสียดาย ร่างกฎหมายฉบับนี้เสมือนถูกทำแท้งเสียก่อน
โดยรัฐบาล
เสมือนถูกทำแท้งโดยไม่ยอมส่งเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในฐานะร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศตาม
หน้าที่
ถามว่ายังพอจะฟื้นคืนชีพได้มั้ย
ในทางทฤษฎีแล้ว – ฟื้นได้
ถ้ารัฐบาลเห็นเป็นเรื่องสำคัญ รีบส่งเข้ารัฐสภา หรือใช้วิธีการอื่น
สำหรับผม เห็นในภาพรวมว่าหากรัฐบาลตัดสินใจปฏิรูปประเทศในเรื่องสำคัญ เรื่องใหญ่ เรื่องที่ส่งผลสะเทือนเสมือนเป็นหัวรถจักรที่จะนำขบวนปฏิรูปด้านอื่นให้เคลื่อนตามไป โดยตัวของรัฐบาล หรือพูดง่าย ๆ ว่าโดยตัวนายกรัฐมนตรีเอง ก็จะเป็นงานยุทธศาสตร์ทางการเมืองที่สร้างคุณค่าให้ตัวท่านว่าควรคู่กับการอยู่บริหารประเทศจนครบวาระ ประชาชนที่ได้ประโยชน์โดยตรงจับต้องได้จะเป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็กให้ท่านสู้กับสภาวะเสียงปริ่มน้ำในสภาผู้แทนราษฎรได้สบาย ๆ แน่ เรื่องร่างกฎหมายให้อัยการเข้ามาร่วมสอบสวนนี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเฉพาะที่เกี่ยวกับการตรากฎหมายเท่านั้น ยังมีร่างกฎหมายปฏิรูปอื่นที่เสมือนถูกทำแท้งไปเงียบ ๆ หรือเรื่องอื่น ๆ ที่ทำได้โดยใช้อำนาจบริหารอีกพอสมควร
แต่ในทางปฏิบัติ – ขออนุญาตพูดด้วยความสุภาพว่าไม่คาดหวังครับ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !
คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544
ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั
ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544
เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .
'คำนูณ' จับผิดเส้น 'ละติดจูด' ที่ 11° 'E' เอกสารแนบท้าย MOU44 เตือนกต.อย่าคิดผิดในหลักการ
นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว !ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” เอกสารแนบท้าย MOU 2544
ไม่เลิก MOU 44 ได้สอง-เสียสาม !
คำถามของท่านนายกรัฐมนตรึเมื่อวันก่อนที่ว่าถ้าเราเลิก MOU 2544 แล้วจะ “ได้” อะไร ดูเหมือนท่านจะเห็นว่าเราจะ “ไม่ได้” อะไรเลยละกระมัง จึงสรุปว่าจะไม่เลิกและจะเดินหน้าต่อ
ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !
ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง