โฆษกกระทรวงแรงงาน สรุปช่วยลูกจ้างบริษัท บริลเลียนท์ อัลไลแอนซ์ ไทย โกลบอล จำกัด ได้รับผลกระทบนายจ้างปิดกิจการ ยันกระทรวงแรงงานทำตามขั้นตอนกฎหมายครบถ้วนแล้ว ด้านผู้นำแรงงานประณามแกนนำบิดเบือนข้อเท็จจริง ชี้นำผิดๆ ไม่หวังดีต่อผู้ใช้แรงงาน
8 มี.ค.2565 - นางเธียรรัตน์ นะวะมะวัฒน์ โฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายการเมือง) กล่าวถึงกรณีที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทยออกมากล่าวหาว่า รัฐบาลล้มเหลว ปล่อยทุนต่างชาติเหยียบย่ำแรงงานไทย รัฐมนตรีแรงงาน ไร้น้ำยา บังคับใช้กฎหมาย ช่วยเหลือลูกจ้าง และบิดเบือนข้อเท็จจริงว่าลูกจ้างถูกลอยแพยังไม่ได้รับค่าชดเชย โดยจะรวมตัวชุมนุมที่ ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 11 มีนาคม 2565 นั้น ขอชี้แจงสรุปประเด็นการช่วยเหลือลูกจ้างบริษัท บริลเลียนท์ อัลไลแอนซ์ ไทย โกลบอล จำกัด ที่ได้รับผลกระทบจากนายจ้างปิดกิจการว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ติดตามและสั่งการให้ดำเนินการช่วยเหลือดูแลลูกจ้างกลุ่มนี้มาโดยตลอดตามข้อห่วงใยและการกำชับของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่วันแรกที่มีการปิดกิจการเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564
โดยอำนวยความสะดวกในการยื่นคำร้องเพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จัดหางานให้กับลูกจ้างที่ประสงค์ทำงาน และในวันที่ 23 มีนาคม 2564 พนักงานตรวจแรงงานสามารถออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายให้กับลูกจ้างจำนวน 242,689,862.71 บาท ดำเนินการจ่ายเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างให้แก่ลูกจ้างจำนวน 32,973,275.44 บาท และแก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง โดยปรับเพิ่มอัตราเงินสงเคราะห์ กรณีนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย สูงสุด 100 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ทำให้ลูกจ้างได้รับเงินสงเคราะห์เพิ่มอีก 10,504,431.44 บาท สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินกรณีว่างงาน เป็นเงิน 65,850,768 บาท ซึ่งการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับลูกจ้างทางตัวแทนลูกจ้างได้เข้ามาขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานที่ช่วยดำเนินการให้อย่างเต็มที่แล้วด้านคดีความได้ยื่นฟ้องคดีแพ่งต่อศาลแรงงานภาค 1 ซึ่งได้มีคำพิพากษาให้นายจ้างจ่ายเงินจำนวน 220,787,592.71 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปี
ด้านคดีอาญาได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรบางเสาธง พนักงานสอบสวนได้ขอศาลจังหวัดสมุทรปราการออกหมายจับนายจ้างมีอายุความภายใน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2564 ถึงวันที่ 5 มิถุนายน 2569 ดำเนินการยื่นขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เนื่องจากศาลล้มละลายกลางได้มีคาสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 กระทรวงแรงงานได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะนัดตรวจคำขอรับชำระหนี้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นอกจากนี้ ได้มีหนังสืออายัดเงินฝากไปยังธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ชื่อบัญชีบริษัทฯ โดยธนาคารได้ส่งแคชเชียร์เช็ค 3 ฉบับ มูลค่า 91,475.29 บาท สั่งจ่ายคืนบัญชีกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง และมีหนังสือถึงอธิบดีกรมศุลกากรและกรมสรรพากรติดตามผลการอายัดทรัพย์สินรายบริษัท บริลเลียนฯ โดยเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 กรมศุลกากรได้มอบเช็คเงินที่ยึดอายัดจากเงินอากรขาเข้าของบริษัท บริลเลียนฯ จำนวน 1,389,388.80 บาท
ทั้งนี้ สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทยได้เคยมายื่นหนังสือให้ทางกระทรวงแรงงานเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือและได้มีการประชุมหารือและชี้แจงโดยมีแกนนำที่เข้าร่วมประชุมได้แก่ นายเชีย จำปาทอง นางศรีไพร นนทรี นางสาวธนพร วิจันทร์ นางสาวสุธิลา ลืนคำ นางจิตร ณ วัชรี พะนัด นางสาวเตือนใจ แวงคำ และนางวาสนา คงหินตั้ง หลังจากการประชุมบรรดาแกนนำได้กล่าวขอบคุณนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และข้าราชการกระทรวงแรงงานที่ได้เร่งรัดและให้ความช่วยเหลือลูกจ้างบริษัท บริลเลียนฯ สำหรับประเด็นที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ มากล่าวอ้างในภายหลังว่ากระทรวงแรงงานและรัฐบาลไม่ได้ให้ความช่วยเหลือลูกจ้างกลุ่มนี้และยังขอให้ รัฐบาลนำเงินงบกลางจำนวน 242,689,862.71 บาท มาจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย ค่าจ้างสาหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี โบนัสและเบี้ยขยันให้กับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนนั้น ขอยืนยันว่ากระทรวงแรงงานดำเนินการตามขั้นตอนในกรอบของกฎหมายและช่วยเหลืออย่างเต็มที่แล้ว การนำเงินงบกลางมาจ่ายให้ลูกจ้างไม่สามารถกระทำได้เพราะเป็นเรื่องระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ทั้งนี้ไม่มีประเทศใดปฏิบัติตามข้อเรียกร้องดังกล่าว และยังได้ชี้แจงให้ผู้แทนที่เข้าร่วมประชุมได้รับทราบและเข้าใจแล้ว โฆษกกระทรวงแรงงานกล่าวทิ้งท้าย
ด้านนายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย และประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน เปิดเผยถึงกรณีที่กลุ่มลูกจ้างกรณีบริษัท บริลเลียนท์ อัลไลแอนซ์ ไทย โกลบอล จำกัด ในนามสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย รวมตัวกันเพื่อติดตามทวงถามความคืบหน้าการดำเนินการช่วยเหลือลูกจ้างได้รับผลกระทบจากนายจ้างปิดกิจการที่ทำเนียบรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเงินค่าชดเชยที่นอกเหนืออำนาจของรัฐบาลและ รมว.แรงงาน นั้น ที่ผ่านมาในเรื่องนี้ท่านสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน ได้พยายามให้มีการเยียวยาตามกฎหมายซึ่งได้มีการแก้ไขปรับปรุงระเบียบโดยเฉพาะกฎกระทรวงให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างให้ได้ค่าชดเชยกรณีว่างงาน ซึ่งขณะนั้นสำนักงานประกันสังคม ได้จ่ายเงินว่างงานกรณีลูกจ้างถูกเลิกจ้างไปแล้ว และลูกจ้างกลุ่มดังกล่าวก็ได้ไปขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาลด้วยเช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ รมว.แรงงาน ยังได้มีการผลักดันขับเคลื่อนการเพิ่มเงินสงเคราะห์ลูกจ้าง ส่วนกรณีขอให้ดำเนินการหามาตรการป้องกันไม่ให้นักลงทุนต่างชาติมาลงทุนแล้วหอบกระเป๋าหอบเงินหนีปล่อยลอยแพลูกจ้างเช่นนายจ้างรายนี้นั้น ขณะนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษารูปแบบแนวทางในการให้ความช่วยเหลือลูกจ้างเพิ่มเติม โดยมีผู้แทนจากฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละ 3 คน และผู้แทนจากภาครัฐที่เกี่ยวข้องศึกษาข้อมูลเพื่อนำเสนอคณะทำงานต่อไป
"ในมุมมองผมมองว่าการเคลื่อนของไหวของกลุ่มลูกจ้างที่ออกมาเรียกร้องในครั้งนี้เป็นลูกจ้างกลุ่มเดิม ๆ คนเดิม ๆ ที่เคยเรียกร้องกันมาหลายครั้ง ผมในฐานะประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย และประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน เป็นผู้นำแรงงานที่เคยทำงานร่วมกับกลุ่มลูกจ้างมาหลายกลุ่ม ไม่เคยคิดที่จะให้ต้องออกมาเรียกร้องด้วยวิธีการเดิม ๆ แบบนี้ เพราะที่ผ่านมาก็ได้รับการเยียวยาไปแล้ว การออกมาเคลื่อนไหวในสถานการณ์แบบนี้ เชื่อว่าต้องมีกระบวนการนำพา เพราะมีเรื่องของค่าใช้จ่าย ค่ารถเข้ามาเกี่ยวข้อง ถ้าเป็นผมมีวิธีการต่าง ๆ ที่ดีกว่านี้ในการตั้งคณะทำงานนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกันดีกว่าเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ" นายมนัส กล่าวในท้ายสุด
นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เป็นอีกผู้หนึ่งที่แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า ไม่เห็นด้วยกับสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ ที่ใช้วิธีการชุมนุมกดดันเรียกร้องในประเด็นไม่มีรัฐบาลไหนเขาทำกันโดยเฉพาะประเด็นที่ให้รัฐบาลนำเงินภาษีของประชาชนมาจ่ายค่าชดเชยแทนนายจ้าง ถ้าหากทำตามที่เรียกร้อง บ้านเมืองก็ไม่มีกฎเกณฑ์ นายจ้างที่เลิกกิจการก็จะพากันเบี้ยวทุกรายภาครัฐจะเอาเงินที่ไหนมาจ่ายให้ก่อน
“ผมคิดว่าการเตรียมมาชุมนุมในครั้งนี้ต้องแอบแฝงผลประโยชน์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และที่สังเกตดูที่ผ่านมาผู้มาชุมนุมมักเป็นมือปืนรับจ้างไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัทบิลเลี่ยนฯ จริง ส่วนใหญ่เป็นลูกจ้างที่ตกงานเพราะถูกเลิกจ้าง การออกมาบิดเบือนข้อเท็จจริง ชี้นำผิดๆ ผมขอประณามการกระทำของแกนนำในครั้งนี้เพราะเป็นเรื่องที่ไม่หวังดีต่อผู้ใช้แรงงานจริง สำหรับผู้ที่ติดตามกรณีนี้มาจะทราบดีว่านายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหานี้อย่างเต็มที่ได้เร่งรัดการดำเนินงานทุกขั้นตอนและออกแนวทางใหม่ๆ มาช่วยเยียวยาดูแลลูกจ้าง"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงแรงงาน มอบของขวัญปีใหม่ 2568 ลูกจ้าง นายจ้าง กว่า 20 ล้านบาท
เมื่อเข้าสู่เทศกาลปีใหม่แต่ละกระทรวงได้เตรียมของขวัญให้แก่พี่น้องประชาชน เมื่อเร็วๆ นี้ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ข่าวดี ! ผู้ประกันตนรับเงินสงเคราะห์บุตรเพิ่มเป็นหนึ่งพันบาทต่อบุตรหนึ่งคน มีผลบังคับใช้มกราคม 68
นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เผยว่าตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ มอบหมายให้สำนักงานประกันสังคมศึกษาการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร เพื่อส่งเสริมการมีบุตรให้กับผู้ประกันตน ด้วยสาเหตุจากประเทศไทยมีอัตราการเกิดของประชากรลดลงอย่างต่อเนื่อง
ตอบเคลียร์ “พิพัฒน์” แจงกระทู้ถามสด กรณีศูนย์ออกเอกสารรับรองบุคคล (CI) จะขยายเวลาลงทะเบียน อำนวยความสะดวกไม่ต้องบินกลับประเทศ
วันที่ 26 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ตอบกระทู้ถามสด ของ นายสหัสวัต คุ้มคง สส.พรรคประชาชน ในสภาผู้แทนราษฎร
ข่าวดี รมว.แรงงาน “พิพัฒน์” จัดเต็มของขวัญปีใหม่ปี 68 มอบประกันสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตให้ผู้ประกันตน “ตรวจและรักษามะเร็งฟรี SSO Cancer Care”
นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงาน ได้มอบนโยบายสำคัญให้สำนักงานประกันสังคมดูแลสุขภาพด้านการรักษาที่มีคุณภาพครอบคลุมทุกโรคให้แก่ผู้ประกันตนทุกคนอย่างดี
"พิพัฒน์" กระทรวงแรงงานมอบของขวัญปีใหม่ ให้ลูกจ้างนายจ้าง รวม 7 รายการ มูลค่ากว่า 20 ล้านบาท
วันที่ 24 ธ.ค.2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานแถลงข่าวของขวัญปีใหม่กระทรวงแรงงาน ปี 2568 โดยมี นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวรายงาน นายสิรภพ ดวงสอดศรี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน นายอารี ไกรนรา
ครม. ไฟเขียวขึ้นค่าแรง 400 บาท ประเดิม 4 จังหวัด 1 อำเภอ มีผล 1 ม.ค.68
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.รับทราบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำปี 2568 ตามมติคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22