กระทรวงดิจิทัลฯ เผยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ได้รับผลตรวจสอบสัปดาห์นี้แล้ว 45 เรื่อง โดย 9 เรื่องเป็นข่าวเกี่ยวกับโควิด และเป็นข่าวจริง ส่งสัญญาณคนไทยตระหนักรู้เท่าทันข่าวสารบนโซเชียลเพิ่มขึ้น
5 มี.ค. 2565 – นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมประจำสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 25 ก.พ.-3 มี.ค. 65 โดยศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม พบว่ามีข้อความเข้ามาทั้งสิ้น 11,456,915 ข้อความ โดยจากการคัดกรองมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) จำนวน 185 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ 94 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นข่าวเกี่ยวกับโควิด 25 เรื่อง
ด้านความคืบหน้าในการประสานงานเพื่อตรวจสอบ ล่าสุดได้รับผลตอบกลับมาแล้ว 45 เรื่อง ในจำนวนนี้เป็นข่าวเกี่ยวกับโควิดโดยตรง 9 เรื่อง ซึ่งทุกเรื่องยืนยันแล้วว่าเป็นข่าวจริง ผลลัพธ์ดังกล่าว สะท้อนว่า ประชาชนมีความตื่นตัวมากขึ้น ในการแจ้งเบาะแส การตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่อยู่ในช่องทางออนไลน์ก่อนส่งต่อ โดยเฉพาะในประเด็นข่าวที่เป็นเรื่องใกล้ตัว
“ข่าวจริงเหล่านี้นับเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์กับประชาชน ช่วยบรรเทาความหวาดวิตกเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 เพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องจากภาครัฐสู่ประชาชน ได้แก่ เรื่องผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการ ไม่จำเป็นต้องกินยาฟาวิพิราเวียร์ เรื่อง สธ. เตรียมจัดบริการเพิ่มสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด 19 แบบผู้ป่วยนอก เจอ แจก จบ เริ่ม 1 มี.ค. นี้ เรื่อง สปสช.เปิดรับสมัครจิตอาสา ช่วยตอบคำถามผ่านไลน์ สปสช. ประสานผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้าระบบการรักษาที่บ้าน เรื่องศูนย์ฉีดวัคซีนกลางบางซื่อ เปิด Walk in ฉีดวัคซีนเข็ม 1, 2, 3 และ 4 ทั้งคงไทยและชาวต่างชาติ อายุ 12 ปีขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 2 มี.ค. 65 เป็นต้น” นางสาวนพวรรณกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงฯ ยังต้องการความร่วมมือจากประชาชนอย่างต่อเนื่อง ในการทำงานแก้ไขปัญหาข่าวปลอม เมื่อได้รับข่าวสารข้อมูลผ่านโซเชียล ควรตรวจสอบให้รอบด้าน เลือกเชื่อ เลือกแชร์ และสามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ดังนี้ ไลน์ @antifakenewscenter เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ ทวิตเตอร์ https://twitter.com/AFNCThailand และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดีอี เตือนภัย เพจปลอม ธ.ก.ส. ปล่อยสินเชื่อ ผ่าน TikTok
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ตรวจพบข่าวปลอมรายสัปดาห์ที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์ ซึ่งประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “ธ.ก.ส. ปล่อยสินเชื่อ ผ่าน TikTok ..baac.thailand5” รองลงมาคือเรื่อง “กองทุนรวมไทย เพื่อความยั่งยืน เปิดพอร์ต 1,000 บาท รับรองโดย ก.ล.ต.” โดยขอให้ประชาชน อย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ-แชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หวั่นสร้างความสูญเสียทั้งข้อมูลส่วนบุคคล และทรัพย์สิน และอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง
'ดีอี' เตือนอย่าหลงเชื่อ ข่าวปลอม ไทยถูกพายุถล่ม 24 ลูก
ดีอี เตือน ข่าวปลอม “ตั้งแต่ต้นปีมีพายุเข้าไทยมาแล้ว 11 ลูก คาดการณ์ว่าทั้งปีจะเข้ามาทั้งหมด 24 ลูก” ขออย่าเชื่อ-แชร์ หวั่นสร้างวิตกกังวลให้ ปชช.
ดีอี เตือนระวัง 'โจรออนไลน์' อ้างเป็นแบงค์รัฐ 'ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ'
ดีอี ตรวจพบข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์รายสัปดาห์ ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “ธ.อิสลาม ช่วยเหลือประชาชน รับรวมหนี้ ต่อธุรกิจ ปิดหนี้ และหมุนธุรกิจ” รองลงมาคือเรื่อง “กรุงไทยปล่อยสินเชื่อ ผ่านเพจสินเชื่อส่วนบุคคล SME” โดยขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ เลือกแชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หวั่นตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน และมีผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง
'ดีอี' วอนอย่าแชร์ข่าวปลอม 'แก๊งค้าอวัยวะระบาดในไทย'
ดีอีพบข่าวปลอมรายสัปดาห์ ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 “ตำรวจเตือน มีแก๊งค้าอวัยวะระบาดในประเทศไทย” รองลงมาคือ “สส. ที่มีอายุงาน 4 ปี มีสิทธิได้รับเงินบำนาญตลอดชีพ โดยขอให้ประชาชน อย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ เลือกแชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หวั่นตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรือการสร้างการรับรู้ที่ไม่ถูกต้องในสังคม
'ปกรณ์วุฒิ' ประเดิมชงหั่นงบศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมเหี้ยน!
ถกงบฯต่อวันที่ 2 'ปกรณ์วุฒิ' เดือดขอตัดงบศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมทั้งโครงการ ลั่นไม่เคยเป็นกลาง เป็นแค่เครื่องมือของรัฐ ผูกขาดความจริง
เตือน! ออมสินไม่มีนโยบายปล่อยกู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์
'รัดเกล้า' เตือนธนาคารออมสินไม่มีนโยบายให้เงินกู้ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ ตรวจสอบก่อนทุกครั้ง