17 ก.พ.2565 - นายภัทร เหมสุข นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊กว่า ผมอยากจะแก้ความเข้าใจผิดของหลายๆ เพจที่เขียนเรื่องวันมาฆะบูชาแบบเข้าป่าเข้าดงไปเลย "มาฆปุณณมี (Magha Purnima)" หรือวันมาฆบูชานั้น ทางพุทธศาสนาของไทยเพิ่งมีมาเมื่อร้อยกว่าปีนี้เอง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าทรงกำหนดให้วันเพ็ญมาฆฤกษ์เป็นวันสำคัญทางศาสนา แต่ของฮินดูนั้นมีมานานแล้ว จะบอกว่านานกว่าศาสนาพุทธเป็นพันปีก็ว่าได้
ประการแรกคือวันนี้เป็นวันเพ็ญสำคัญของพื้นที่เขตทรอปปิกโซนเหนือที่มีสี่ฤดู คือเป็นวันที่พ้นจากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิแล้ว ดังนั้นวันเพ็ญมาฆปุณณมี จึงมีความสำคัญมากในสังคมเกษตรกรรม จนกลายเป็นวันบูชาพระศิวะ (Satyanarayan Puja) ในยุคฮินดูเพื่องฟู ซึ่งไม่ต่างเลยกับวันสำคัญทางฤดูกาลอื่นๆ เช่น ศารทวิษุวัต และ วสันตวิษุวัต ที่มีต้นทางมาจากการวัดเวลาของปีที่สัมพันธ์กับสภาพภูมิอากาศและฤดูกาลที่บอกถึงเวลาเพาะปลูก หรือฤดูหนาวกำลังจะมาหรือจากไป
ในยุคก่อนนั้นจะบอกว่าวันเพ็ญมาฆปุณณมี นั้นเป็นวันบูชาพระเจ้าให้อำนวยผลผลิตการเกษตรที่กำลังจะหว่านไถใหม่ในฤดูใบไม้ผลิที่กำลังจะมาถึง ที่สืบเนื่องไปตั้งแต่ที่อารยันจากย่านทะเลแคสเปี้ยนเข้ามาในอินเดียในยุคพระเวทเลยก็ว่าได้ และต่อมาในยุคมหากาพย์ที่กำเนิดศาสนาต่างๆ วันมาฆปุณณมีก็เปลี่ยนเพิ่มเติมไปถึงการบูชาเทพเฉพาะองค์ไปนอกเหนือจากบูชาพระเจ้าเพื่อการเพาะปลูกในสมัยก่อนหน้านั้น และพัฒนาจนเป็นวันบูชาพระศิวะในอินเดียจนถึงทุกวันนี้
ทางศานาพุทธนั้นเมื่อบรรดาผู้ที่ปวารณาตัวเป็นพระภิกษุเลิกนับถือพระเจ้าต่างๆ แล้ว วันเพ็ญมาฆปุณณมีก็ยังสำคัญอยู่ สิ่งที่จะคงรักษาความสำคัญของวันพิเศษเอาไว้ได้คือกลับมาให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าแทนพระเจ้าเดิมของตน สมัยผมเองยังเด็กที่ท่องจำวันมาฆบูชามีพระสงฆ์จำนวน 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมายนั้น จะรู้สึกถึงปาฎิหารและอภิญญาของพระอรหันต์เหล่านั้นเป็นอย่างยิ่งที่กลับมาหาพระพุทธเจ้าตรงวันโดยพร้อมเพรียงกันโดยไม่มีโทรศัพท์หรือโทรเลขในสมัยนั้น แต่ถ้าศึกษาไปจนถึงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของอินเดียแล้ว ความสงสัยหรือโยนความไม่เข้าใจให้เป็นความรับผิดชอบของของคำว่า "ปาฏิหาร" ก็น้อยลงไป เพราะถึงวันนี้ใครๆ ก็บูชาพระเจ้ากันทั้งชมพูทวีปเลยก็ว่าได้มานานแล้ว เพียงแต่เปลี่ยนจากพระเจ้ามาเป็นพระพุทธเจ้าแทนก็เท่านั้นเอง
ไม่ต่างกับตอนเด็กที่ท่องจำพุทธประวัติกัน รวมถึงวัดต่างๆ ก็สอนธรรมะให้แก่พระนวกะว่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสกับอุปกะชีวก "เราตรัสรู้ธรรมด้วยตนเอง ไม่มีใครเป็นครูบาอาจารย์ของเรา" อุปกะชีวก ก็แลบลิ้นและส่ายหน้า ซึ่งมีการสอนต่อว่า เป็นการไม่ยอมรับในสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบไปโดยจับเอาทำเนียมและความเข้าใจแบบคนไทย แต่ที่จริงแล้ว การแลบลิ้นเป็นการเคารพอย่างสูงของคนอินเดียบางกลุ่มในสมัยนั้น สมัยนี้ชนกลุ่มน้อยเช่นพื้นที่แถบที่สูงรอบเผ่านากาก็ยังใช้อยู่ และการส่ายหน้าคือ ใช่ หรือ ยอมรับ ,Yes ที่คนอินเดียใช้มาจนถึงเวลานี้ ไม่ได้ใช้การพยักหน้าแบบคนไทยที่คนอินเดียใช้ในการปฎิเสธ หรือ No สมัยก่อนตอนผมมีเพื่อนในชั้นเรียนเป็นคนอินเดียฝูงใหญ่เกือบครึ่งห้องเป็นครั้งแรก ก็ต้องปรับตัวกับการพยักหน้าและส่ายหน้าที่ตรงข้ามกับที่คนไทยเราใช้กันอยู่หลายวันเหมือนกัน
ตอนนี้คงเข้าใจเรื่อง วันมาฆะบูชา และวันมาฆปุณณมี (Magha Purnima) ของอินเดียแล้วนะครับ ว่าวันเพ็ญมาฆฤกษ์นี้มีความสำคัญก่อนศาสนาพุทธจะเกิดขึ้นมานมนานแล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???
'อัษฎางค์' ชี้ระบอบทักษิณค่อยๆจุดไฟเผาตัวเอง
อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ระบุข้อความสั้นๆว่า ทษ.-รพ.ตร.-เอาลูกสาวมาเป็นนา
'ชูศักดิ์' สั่งสำนักพุทธฯ ศึกษากฎหมายรัฐธรรมนูญ มีมาตรการป้องกันทำลายพระพุทธศาสนา
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวถึงกรณีปัญหาพระออกมาเรี่ยรายเงินจะประสานพศ.แก้ปัญหาอย่างไรว่า
'พระอาจารย์ต้น' เผยสัจลิขิตเป็นของอาตมา พระราชศรัทธาเป็นของพระเจ้าอยู่หัว
"พระอาจารย์ต้น" เผย "สัจลิขิตเป็นของอาตมา พระราชศรัทธาเป็นของพระเจ้าอยู่หัว"
'ไพศาล' วอนหยุดทำลายท่าน ว.วชิรเมธี ได้แล้ว ชี้ใส่ร้ายพระสงฆ์เป็นบาปหนักถึงขั้นตายโหง
นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า พอได้แล้วโยม การเบียดเบียนทำร้ายพระสงฆ์เป็นบาปหนัก
'เอ็ดดี้' ชำแหละ ขบวนการล้มเจ้าในออสเตรเลีย
อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ เรื่อง”ขบวนการล้มเจ้าในออสเตรเลีย“