16 ก.พ.2565 - นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ ด้านประสานการมีส่วนร่วม เปิดเผยว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ลงพื้นที่ อ.เมือง อ.ปะนาเระ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี อ.จะนะ จ.สงขลา อ.ตากใบ จ.นราธิวาส และอ.เมือง จ.ยะลา เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการด้านเด็กและสตรี (ศป.ดส.) นักวิจัย เครือข่ายภาคประชาสังคม ผู้นำท้องที่และท้องถิ่น เกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานด้านสตรีในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เน้นย้ำการทำงานของภาครัฐต้องให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะการกำหนดยุทธศาสตร์ของสตรี ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงเป็นพลังในการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างสูงสุด ภายใต้แนวทางที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมของพื้นที่ และตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนทั้งพุทธและมุสลิมในทุกๆมิติ
ทั้งนี้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมและสร้างการมีส่วนร่วมจากพลังสตรีจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ระยะ 6 ปี) เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมี กลุ่ม/องค์กร/เครือข่ายการปฏิบัติงานด้านสตรี 64 องค์กร ร่วมหารือให้ความคิดเห็น และเตรียมเสนอต่อคณะกรรมการกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ก่อนเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
ขณะเดียวกัน กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมต่อยอดการเสริมบทบาทผู้หญิงและความเสมอภาคระหว่างเพศ โดยจะจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมพลังสตรี ระหว่างวันที่ 17-18 ก.พ นี้ ที่ จ.ปัตตานี แก่กลุ่มเครือข่ายสตรีในจังหวัดชายแดนใต้ โดยเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิและโอกาสในการเข้าถึงสิทธิ รวมถึงแนวทางและช่องทางการให้ความช่วยเหลือให้กับเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ทำงานด้านสตรีในพื้นที่ เพื่อให้สตรีเป็นพลังในการพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคม อีกทั้งจะอบรมเรื่องการเขียนโครงการและจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะ (Gender Responsive Budgeting: GRB) ซึ่งเป็นไปตามมติครม.ที่เพิ่งเห็นชอบเมื่อ ม.ค.ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรที่เป็นธรรมและเหมาะสมตามความจําเพาะของผู้หญิง ซึ่งการผลักดันโครงการทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ตอบสนองต่อความต้องการกลุ่มสตรี จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความเสมอภาคระหว่างเพศ
นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า จากการลงพื้นที่รับฟังข้อมูล พบว่า การขับเคลื่อนของหลายภาคส่วนในการส่งเสริมบทบาทสตรี ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้มีจำนวนผู้หญิงเพิ่มมากขึ้นอย่างมากในการมีส่วนร่วมในงานด้านการพัฒนาและการช่วยเหลือสังคม แต่ยังคงมีจำนวนน้อยที่มีตำแหน่งระดับกำหนดนโยบายหรือตัดสินใจ ดังนั้น นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงให้นโยบายในการขับเคลื่อนงานด้านสตรี นอกจากส่งเสริมการสร้างรายได้ สุขภาวะผู้หญิง ความเท่าเทียมระหว่างเพศแล้ว ยังต้องจัดสรรงบประมาณที่เน้นการพัฒนาศักยภาพผู้หญิง เพื่อเพิ่มโอกาสในการมีส่วนร่วมทางการเมือง การบริหารและการตัดสินใจในทุกระดับ รวมถึงการสร้างทัศนคติยอมรับสิทธิและบทบาทผู้หญิงด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จนท. เร่งหาหลักฐาน ไล่กล้องวงจรปิด หาเบาะแสเหตุระเบิดแคมป์ก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม
ความคืบหน้าคนร้ายระเบิดแคมป์คนงานก่อสร้างเจ้าแม่กวนอิม อ.เทพา จ.สงขลา คนงานบาดเจ็บ 3 ราย ทรัพย์สินเสียหาย และมีการวางระเบิดอีก 2 ลูกเพื่อดักสังหารเจ้าหน้าที่ ส่งผลให้นักเรียนที่กำลังเข้าค่ายกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี
ทีมโทรโข่งรัฐบาล ติวเข้มโฆษกกระทรวงส่ง 'ข่าวดี' ทุกสัปดาห์ เร่งตีปี๊บผลงาน 3 เดือน
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายคารม พลพรกลาง นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
'ยะลา' คุมเข้ม 24 ชม. ระวังคาร์บอมบ์ หลังสายข่าวเตือนมีป่วนช่วง 15-30 พ.ย.
พ.ต.อ.จิรวัฒน์ ดูดิง ผกก.สภ.เบตงได้อำนวยการสั่งการให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ เพิ่มมาตรการเข้ม หลังมีการแจ้งเตือน ระหว่างวันที่ 15 – 30 พ.ย. 67 ให้เฝ้าระวั
ครม. ตั้ง 'บิ๊กรอย' นั่งที่ปรึกษาภูมิธรรม 'คารม-ศศิกานต์' รองโฆษกรัฐบาล
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 3 ราย ดังนี้ 1.พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ เป็นที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีของนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯและรมว.กลาโหม
'ทวี' สวมบท สส. รับ 'คดีตากใบ' ไม่เป็นธรรม ไร้เงาผู้ต้องหา
'ทวี' ชี้ 'ตากใบ-ไฟใต้' ทุกภาคส่วนต้องร่วมหาทางออก ย้ำสังคมขาดความยุติธรรมมีความแตกแยก ผู้มีอำนาจอาจอยู่ไม่ได้ เร่งเยียวยาจิตใจคนชายแดนใต้
ทั่วโลกจับตา! 'คดีตากใบ' สะท้อนไทยล้มเหลว ปล่อยละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำ
แอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย หวั่นคดีตากใบหมดอายุความ กลายเป็นใบเบิกทางละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีก ชี้ชัด ทั่วโลกจับตาดูอยู่ เชื่อจะเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงบนเวทีสาธารณะระหว่างประเทศต่อเนื่อง