กรมชลประทาน วางมาตรการล่วงหน้ารับมือน้ำทะเลหนุนสูง ช่วง 14 – 18 กุมภาพันธ์ 2565 สอดคล้องกับประกาศของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ(กอนช.) พร้อมเตรียมรับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงที่จะเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้งอย่างรัดกุม เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
15 ก.พ. 2565 นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้วางแผนการบริหารจัดการน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงในช่วงฤดูแล้งของทุกปี โดยกรมชลประทานได้พิจารณาแนวทางเพื่อรับมือและกำหนดมาตรการควบคุมความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยการเพิ่มการระบายจากเขื่อนภูมิพล ตั้งแต่ช่วงวันที่ 2 – 5 กุมภาพันธ์ 2565 ในอัตราเฉลี่ยวันละ 24 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมกับรักษาระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ และควบคุมปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราเฉลี่ย 85 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
สำหรับที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้ปรับแผนเพิ่มการระบายน้ำ ในอัตราเฉลี่ยวันละ 5.18 ล้านลูกบาศก์เมตร ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากนั้นจะทยอยปรับลดการระบายลงเหลืออัตราเฉลี่ยวันละ 4.32 ล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะเดียวกันจะควบคุมระดับเหนือเขื่อนพระรามหก ให้อยู่ในเกณฑ์ และปรับแผนเพิ่มการระบายน้ำอยู่ในอัตราเฉลี่ย 40 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จากนั้นจะทยอยปรับลดการระบายลงเหลืออัตราเฉลี่ย 20 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในลำดับต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้พิจารณาผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลอง-เจ้าพระยา โดยการระบายน้ำผ่านทาง ประตูระบายน้ำ (ปตร.) สิงหนาท 2 ในอัตราไม่ต่ำกว่า 12 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที พร้อมควบคุมปริมาณน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา เขื่อนพระรามหก และปตร.สิงหนาท 2 รวมกันที่บริเวณอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในเกณฑ์ไม่ต่ำกว่า 100 – 120 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
จากแผนการระบายน้ำและบริหารจัดการน้ำข้างต้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำทั้งหมดไหลมาบรรจบเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ช่วงวันที่ 14 – 18 กุมภาพันธ์ 2565 ได้ตามการคาดการณ์ ซึ่งสอดคล้องกับประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 1/2565 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงและความเค็มรุกตัวบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา
ปัจจุบัน แม่น้ำเจ้าพระยา ตรวจวัดค่าความเค็มที่สถานีสูบน้ำสำแล จังหวัดปทุมธานี อยู่ที่ 0.22 กรัมต่อลิตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยที่ผ่านมากรมชลประทานมีมาตรการบริหารจัดการน้ำในการบรรเทาปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาอย่างรัดกุม พร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำเค็มรุกอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชนให้มากที่สุด ทั้งนี้กรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำจากอ่างเก็บน้ำและอาคารชลประทานให้สอดคล้องกับช่วงการหนุนของน้ำทะเลอย่างเหมาะสมตลอดช่วงฤดูแล้งนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมชลประทานคุมเข้มบริหารจัดการน้ำรับมือฤดูมรสุมภาคใต้
นายวิทยา แก้วมี รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานประชุมเตรียมความพร้อมแนวทางการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2567 ณ ห้องประชุมสำนักงานชลประทานที่ 16 เพื่อเตรียมความพร้อมวางแผนรับมือในพื้นที่ภาคใต้ใกล้เข้าสู่ฤดูฝน
ผู้ว่าฯเชียงใหม่ยันตัวเมืองรับมือมวลน้ำปิงไหว
ผู้ว่าฯ เชียงใหม่ยันรับมือมวลน้ำปิงไหวสั่งเปิดประตูฝายท้ายเมืองพร่องรอมวลใหม่ ชป.1 ตั้ง war room ติดตามาใกล้ชิด
ครม.อนุมัติงบ 9,187 ล้านบาท เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำฤดูฝน
นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายใต้กรอบวงเงิน 9,187.4462 ล้านบาท
สั่งกรมชลฯทำแผนเร่งด่วน 'บริหารจัดการน้ำ' จี้เกาะติดรายอำเภอ
นายกฯ รุดกรมชลประทาน ถกบริหารจัดการน้ำ สั่งทำแผนแก้ปัญหาเร่งด่วนใน 3 ปี พร้อมวางโครงการระยะยาว แก้ไขปัญหาภัยพิบัติมีประสิทธิภาพ พร้อมฝากอนุทิน ดูแลขุดลอกแม่น้ำโก-ลก
โฆษก กษ.ยันจัดสรรน้ำพร้อมรับมือโค้งสุดท้ายฤดูแล้ง!
โฆษกเกษตรฯ เผยโค้งสุดท้ายฤดูแล้ง กรมชลฯ จัดสรรน้ำเตรียมพร้อมรับมือฝน ช่วยเหลือประชาชน
สิ้นสุดฤดูแล้ง 30 เม.ย. รองโฆษกฯ เผยสถานการณ์น้ำภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี
'คารม' เผยสถานการณ์น้ำภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำมีจำนวน 55% ของความจุเก็บกัก หรือปริมาณ 45,940 ล้าน ลบ.ม ระบุประเทศไทยสิ้นสุดฤดูแล้ง 30 เม.ย นี้