ประกาศ ฉ.1 เตือนน้ำทะเลหนุน-น้ำเค็มรุกเจ้าพระยา 14-18 ก.พ.นี้

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ออกประกาศเตือนประชาชนฉบับ1 ให้เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงและความเค็มรุกตัวบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ระหว่างวันที่ 14-18 ก.พ.2565

13 ก.พ.2565-กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ออกประกาศฉบับที่ 1/2565 เรื่อง  เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงและความเค็มรุกตัวบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ระบุว่า กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ติดตามข้อมูลระดับน้ำทำนายสูงสุด – ต่ำสุด ปี 2565  ของ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ คาดการณ์จะเกิดน้ำทะเลหนุนสูงในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน 2565โดยข้อมูลฐานน้ำขึ้นสูงสุดแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าสถานีป้อมพระจุลจอมเกล้า จะเกิดภาวะน้ำทะเลขึ้นเต็มที่ ในช่วงวันที่ 14 – 18 กุมภาพันธ์ 2565 ระดับน้ำอยู่ที่ +1.40 ม.รทก.  ในช่วงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 4 มีนาคม 2565 ระดับน้ำอยู่ที่ +1.50 ม.รทก. และในช่วงวันที่ 16 – 18 มีนาคม 2565 ระดับน้ำอยู่ที่ +1.25 ม.รทก. ประกอบกับอิทธิพลของลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ ส่งผลให้ในช่วงดังกล่าวนี้เกิดสภาวะน้ำทะเลหนุนสูง คาดว่าจะทำให้ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมส่งผลกระทบต่อบริเวณพื้นที่ชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำ รวมทั้งเกิดน้ำเค็มรุกตัวเข้าสู่บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำใช้อุปโภคบริโภค และการใช้น้ำเพื่อการเกษตรได้

ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โปรดดำเนินการ ดังนี้1. ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ตรวจสอบความมั่นคงอาคารป้องกันริมแม่น้ำ และเสริมคันบริเวณจุดเสี่ยงบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมน้ำนอกแนวคันกั้นน้ำ แนวเขื่อนชั่วคราวในบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ) และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำตามริมแม่น้ำทราบล่วงหน้า

2. เตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที 3. ติดตามสถานการณ์น้ำทะเลหนุนในช่วงเวลาดังกล่าว และตรวจวัดคุณภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง พร้อมปรับแผนบริหารจัดการน้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อนระบายน้ำ และประตูระบายน้ำ เพื่อควบคุมคุณภาพน้ำให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและเร่งผลักดันน้ำเค็มโดยเร็ว

4. ปรับแผนการผลิตน้ำประปาเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อคุณภาพน้ำที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค รวมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อการน้ำใช้อุปโภคบริโภค และรวมทั้งการใช้น้ำเพื่อการเกษตรบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ให้แก่ประชาชนทราบล่วงหน้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชาวบ้านโวยชลประทานตราด ประตูน้ำชำรุด น้ำทะเลหนุน สวนทุเรียนยืนต้นตายอื้อ

นายธำรงศักดิ์ นคราวงษ์ โครงการชลประทานตราด,นายอภิเดช บุญล้อม นายกตำบลตะกาง นายวินัย ขยันยิ่ง เกษตรจังหวัดตราด,นายเตธรรศ รัตนชัย ปลัดป้องกันอำเภอเมืองตราด เดินทางมารับฟังปัญหาของชาวตำบลตะกาง และตำบลชำราก ที่ประกอบการเกษตรกว่า 100 คน

กอนช. สรุปสถานการณ์น้ำทั้งประเทศ เร่งกักเก็บรับมือ 'เอลนีโญ'

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศประจำวันว่า ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก

24 จว.เช็กด่วน! ‘กอนช.’ เตือนช่วง 5-10 ก.ย.เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก

กอนช. ได้ติดตามสภาพอากาศ พบว่าร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรง

นายกฯ ติดตามพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม-แล้ง ล่วงหน้า 6 เดือน พร้อมรับมือสถานการณ์ได้ทันท่วงที

นายกฯ ติดตามประเมินวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม-แล้ง ล่วงหน้า 6 เดือน ตามปริมาณฝนคาดการณ์ ONE MAP ย้ำประชาชนติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ได้ทันท่วงที