11 ก.พ.2565 - กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเรื่อง "อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2565)" ฉบับที่ 4 ระบุว่า ในช่วงวันที่ 11–13 กุมภาพันธ์ 2565 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย
จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565
ภาคเหนือ: จังหวัดอุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565
ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ พิจิตร พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดชัยนาท ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรีสมุทรสงคราม และสมุทรสาคร รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดลพบุรี และสระบุรี
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อุตุฯ เตือนไทยตอนบนรับมือพายุฤดูร้อน ภาคใต้ฝนตกหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้
ผวาอีก! กรมอุตุฯ แจ้งแผ่นดินไหวที่อ.ปาย กลางดึกเมื่อคืนที่ผ่านมา
แผ่นดินไหวขนาด 2.0 เกิดขึ้นที่อำเภอปาย แม่ฮ่องสอน เมื่อกลางดึก ทำให้ประชาชนในพื้นที่รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน แต่ยังไม่มีรายงานความเสียหาย กรมอุตุฯ ยืนยันเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นแผ่นดินไหวที่มีขนาดเล็กแต่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ต่อไป
พายุฤดูร้อนถล่มไทย! เตือนภัยฝนฟ้าคะนอง-ลูกเห็บตกหลายพื้นที่
กรมอุตุฯ เตือนทั่วไทยเผชิญพายุฤดูร้อนจากอากาศร้อนจัด และมวลอากาศเย็นจากจีน พยากรณ์ 24 ชั่วโมงข้างหน้า เสี่ยงพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกหลายจังหวัดเกษตรกร-ประชาชนโปรดระวังความเสียหาย พร้อมติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด
กรมอุตุฯ เตือนอากาศร้อนจัดทั่วไทย ภาคอีสาน-ตะวันออก เสี่ยงพายุฝนฟ้าคะนอง
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า เผยทั่วประเทศเผชิญสภาพอากาศร้อนถึงร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุดแตะ 40 องศาฯ ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีโอกาสเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่
แผ่นดินไหวรุนแรงเขย่าเมียนมา เกิดอาฟเตอร์ช็อกแล้ว 9 ครั้ง
กรมอุตุนิยมวิทยารายงานเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.1 เมื่อเวลา 13.32 น. วันที่ 28 มีนาคม 2568 จุดศูนย์กลางอยู่ในประเทศเมียนมา แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ในหลายจังหวัดของไทย
แผ่นดินไหวรุนแรง ขนาด 7.4 จุดศูนย์กลางในเมียนมา สั่นสะเทือนทั่วไทย
กรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศแจ้งว่าเมื่อเวลา 13.20 น. เกิดแผ่นดินไหว จุดศูนย์กลางอยู่บริเวณประเทศเมียนมา ที่ละติจูด 21.682 องศาเหนือ ลองติจูด 96.121 องศาตะวันออก ขนาด 7.4 ความลึก 10 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน