ฝั่งธนฯเปลี่ยนไปแล้ว ผู้ว่าฯกทม.เปิดภาพ ถนน-สะพาน-ทางลอด แก้ปัญหารถติด

10 ก.พ.2565 - เพจเฟซบุ๊ก "ผู้ว่าฯ อัศวิน" พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพสต์ภาพถนนพรานนก-ถนนพุทธมณฑลสาย 4 บรรเทาปัญหาการจราจรฝั่งธนฯ พร้อมระบุว่า ในทุกๆ วันจะมีพี่น้องประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฝั่งธนบุรี และปริมณฑลเดินทางเข้ามาทำงานในพื้นที่ กทม. โดยจะใช้เส้นทาง ถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนกาญจนาภิเษก ถนนพุทธมณฑลสาย 2 ถนนเพชรเกษม ถนนบรมราชชนนี ถนนสายรองโดยรอบ ทำให้การจราจรหนาแน่นโดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน

เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรในพื้นที่ฝั่งธนบุรี กทม.ได้เริ่มก่อสร้างถนนพรานนก-ถนนพุทธมณฑลสาย 4 โดยแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ช่วง มีระยะทาง 15.2 กม. ซึ่งเปิดใช้งานแล้วในช่วงแรกจากถนนจรัญสนิทวงศ์-ถนนกาญจนาภิเษก ความยาว 7.13 กม.และช่วงที่ 2 จากถนนกาญจนาภิเษก-ถนนพุทธมณฑลสาย 2 ระยะทาง 1.67 กม.

ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรบริเวณถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนกาญจนาภิเษก ถนนพุทธมณฑลสาย 2 ถนนเพชรเกษม ถนนบรมราชชนนี ถนนสายรองโดยรอบ และยังเชื่อมโยงโครงข่ายถนนระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯโซนตะวันออก-ตะวันตกให้สมบูรณ์ เดินทางสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งรองรับปริมาณการจราจรได้ 100,000 คัน/วัน
และเมื่อแล้วเสร็จทั้งโครงการจะเป็นโครงข่ายใหม่ที่เชื่อมจาก รพ.ศิริราช เขตบางกอกน้อย, เขตตลิ่งชัน, เขตทวีวัฒนา และอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ที่การเดินทางจะสะดวกและปลอดภัย

#กรุงเทพเปลี่ยนไปแล้ว

นอกจากนี้ ผู้ว่าฯกทม. ยังได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุอีกว่าสะพาน - ทางลอด เปลี่ยนไปแล้ว “สะพานข้ามแยกจรัญสนิทวงศ์” บรรเทาปัญหารถติดฝั่งธนบุรี
 
ฝั่งธนบุรีในตอนนี้แตกต่างไปจากเดิมมาก เพราะเมืองขยายตัว มีคนอยู่อาศัยหนาแน่น และเป็นที่ตั้งของ รพ.ศิริราช ทำให้การเดินทางสัญจรค่อนข้างเป็นปัญหา กทม.จึงก่อสร้างสะพานข้ามแยกจรัญสนิทวงศ์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน
.
สะพานข้ามแยกจรัญสนิทวงศ์ ตัวสะพานมีขนาด 2 ช่องจราจร 2 ทิศทาง ยาว 360 เมตร กว้าง 8.40 เมตร และได้ขยายถนนคอนกรีตเสริมเหล็กเพิ่มขึ้นจาก 2 ช่องจราจร เป็น 4 ช่องจราจร ความยาวประมาณ 2,500 เมตร รวมทั้งทำทางเท้า ระบบระบายน้ำ ระบบป้าย และเครื่องหมายไฟจราจร
.
การก่อสร้างสะพานข้ามแยก ที่มีระยะทางข้ามแยกถนนเลียบทางรถไฟตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ ช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดให้กับประชาชนเขตบางกอกน้อย ผู้ที่สัญจรไปมา บริเวณถนนอรุณอัมรินทร์ ไปจนถึงสะพานพระปิ่นเกล้า และบริเวณใกล้เคียงให้คล่องตัวมากขึ้น ลดเวลาการเดินทาง และยังเป็นการเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางให้กับคนที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาลศิริราชอีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด

นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด