นายกฯตั้งเป้าเพิ่ม GDP 2 แสนล้านบาท ลดความเหลื่อมล้ำ 10 ล้านคนด้วยเศรษฐกิจ BCG ภายในปี 2566

7 ก.พ.65-ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) ครั้งที่ 1/2565

นายกรัฐมนตรี แสดงความเชื่อมั่นว่าการนำโมเดลเศรษฐกิจ BCG มาประยุกต์ใช้ภายใน 2 ปี จะเพิ่ม GDP ได้เป็น 2 แสนล้านบาท จากการลงทุนของภาคเอกชน โดย 9 เดือนแรกของปี 2564 มูลค่าโครงการที่ขอรับการการส่งเสริมการลงทุนสูงกว่า 128,000 ล้านบาท ตัวอย่าง เช่น บริษัท เนเชอร์เวิร์คส์ เอเชีย แปซิฟิก จำกัด ซึ่งมีแผนลงทุน 15,000 ล้านบาท เพื่อการผลิตพอลิเมอร์ย่อยสลายได้ด้วยเทคโนโลยีการผลิตพลาสติกชีวภาพที่ดีที่สุดในโลก และบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด ลงทุนเพิ่ม 3 พันล้านบาท นอกจากนี้ยังมีบริษัทที่ลงทุนในกิจการโปรตีนทางเลือก และกลุ่มเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เช่น บริษัท เจเนพูติก ไบโอ จำกัด ซึ่งผลิตผลิตภัณฑ์เซลล์และยีนบำบัดเพื่อการรักษาโรคสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด รวมถึงการออกมาตรการส่งเสริมการอุตสาหกรรมแอลกอฮอล์แปลงสภาพ และการให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมแต่กิจการ BCG ที่ลงทุนในภูมิภาค

ตั้งเป้าลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนให้ได้ 10 ล้านคน เป็นต้นว่า การปรับเปลี่ยนจากการผลิตพืชไปสู่การผลิตเมล็ดพันธุ์ ซึ่งที่ผ่านมาสามารถสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรจำนวน 30,000 ครัวเรือน มีรายได้เฉลี่ย 120,000 บาท/ครัวเรือน ทำรายได้ให้ประเทศ 7,400 ล้านบาท ทั้งนี้การมีเมล็ดพันธุ์ดีเป็นพื้นฐานสำคัญในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพของผลผลิตเกษตร

นอกจากนี้ มีเป้าหมายพัฒนาพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ก้าวพ้นความยากจน พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ครอบคลุมพื้นที่ 13 อำเภอ ใน 5 จังหวัด ได้แก่ ศรีสะเกษ สุรินทร์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มีเกษตรกรที่เกี่ยวข้อง 20,000 คน และมีคนจนในมิติเศรษฐกิจ 2,329 คน ด้วยการนำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าไปพัฒนาทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม ตลอดจนพัฒนาพื้นที่การเรียนรู้ นวัตกรชุมชน เชื่อมโยงการตลาดกับภาคเอกชน รวมถึงยกระดับเกษตรกรเพื่อการเป็นผู้ประกอบการ โดยมุ่งหวังว่าจะลดคนจนในมิติเศรษฐกิจลงได้ร้อยละ 50 ในระยะเวลา 3 ปี

เพิ่มจำนวนผู้เข้าถึงยา เวชภัณฑ์และเครื่องมือราคาแพงจำนวน 100,000 คน ซึ่งเป็นผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ประเทศไทยพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุนในการรักษาต่ำลง ดังเห็นได้จากการที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) มีมติเห็นชอบให้สิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับ BCG ใหม่ 2 รายการ ได้แก่ 1) การตรวจยีน BRCA1/BRCA2 ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม 2) การผ่าตัดใส่รากฟันเทียม การรักษาที่มีความแม่นยำสูงจากการใช้ประโยชน์จากโครงการจีโนมิกไทยแลนด์ และระบบบริการแพทย์ทางไกล (Telemedicine)

เพิ่มความสามารถในการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานไม่น้อยกว่า 1,000 ชุมชน โดยการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นชีวมวล หรือพลังงานแสงอาทิตย์ ดังกรณีตัวอย่างของวัดศรีแสงธรรมและหมู่บ้านศรีแสงธรรมที่สามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เพียงพอและส่วนที่เหลือที่สามารนำไปสร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้ไม่น้อยกว่า 10 ล้านตันคาร์บอนเทียบเท่า จากการปรับเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Efficiency) ในระบบการผลิต การใช้พลังงานทางเลือกในภาคขนส่ง ลดการสูญเสียขยะอาหาร การนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้เพื่อให้ลดการใช้ การนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการปลูกป่า

การเพิ่มพื้นที่ป่า 1 ล้านไร่ โดยเน้นการปลูกในพื้นที่เป้าหมายของรัฐ ได้แก่ กรมป่าไม้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยภาคเอกชนที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจำนวน 2 แสนไร่ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง Society for Mangrove Ecosystems (ISME) World Climate Foundation 1 แสนไร่

พัฒนาให้มีผู้มีทักษะสูงเพิ่มขึ้นทั้งในเกษตรกร แรงงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และผู้ประกอบการโดยเฉพาะในกลุ่ม SMEs รวมกันไม่น้อยกว่า 3 แสนคน นอกจากนี้เป้าหมายการพัฒนาสตาร์ทอัพและผู้ประกอบที่ขับเคลื่อนนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ BCG จำนวน 1,000 ราย

นอกจากนี้ ในการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบมาตรการเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อน 4 ด้านที่สำคัญ ได้แก่

  1. การจัดสรรงบประมาณ ได้มอบให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ พัฒนาแนวทางการจัดสรรงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อน BCG ให้สอดคล้องกับแนวทาง มาตรการและโครงการบูรณาการสำคัญที่บรรจุไว้ในแผนปฏิบัติการ BCG เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้สูงสุด สามารถเก็บเกี่ยวผลของการลงทุนที่ได้ดำเนินการมาระยะหนึ่งแล้ว และขยายแบบอย่างความสำเร็จไปในวงกว้างเพื่อให้สามารถผลักดันให้ BCG เป็นวาระแห่งชาติได้สำเร็จ
  2. ภาครัฐปรับยุทธศาสตร์บูรณาการ BCG เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ในเรื่องนี้ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่บูรณาการการทำงานในลักษณะจตุภาคีเพื่อพัฒนาโครงการ BCG เชิงพื้นที่โดยให้นำความต้องการของพี่น้องประชาชนเป็นตัวตั้งเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ และสร้างความมั่งคั่งแบบทั่วถึง
  3. การสร้างระบบนิเวศเพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน มีมาตรการที่เกี่ยวข้องรวม 7 มาตรการ ได้แก่
  4. การปลดล็อกอุตสาหกรรมแอลกอฮอล์แปลงสภาพ เพื่อการต่อยอดเพิ่มมูลค่าให้กับเอทานอลสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง เรื่องนี้จะได้มอบให้กรมสรรพสามิตไปดำเนินการ
  5. การลงทุนโครงสร้างคุณภาพเพิ่มเติม เพื่อผลักดันสินค้าไทยสู่มาตรฐานสากลหรือเป็นสินค้าพรีเมียม โดยเน้นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพที่สำคัญ
  6. เร่งรัดการออก พ.ร.บ. ความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ… เพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชีวภาพ สำหรับอุตสาหกรรม BCG ที่ไม่ใช่อาหาร เพื่อให้มีกลไกการกำกับดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (LMOs) และเพิ่มความเชื่อมั่นของภาคเอกชนจากความชัดเจนของนโยบาย
  7. การให้อุตสาหกรรมนวัตกรรม BCG ในพื้นที่นำร่องได้รับสิทธิประโยชน์การลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อการกระตุ้นให้ภาคเอกชนที่พร้อมลงทุนในธุรกิจ BCG โดยเฉพาะกลุ่มนวัตกรรมเร่งรัดการลงทุนที่มีแผนลงทุนมูลค่าไม่น้อยกว่า 150,000 ล้านบาท ทั้งนี้ การลงทุนดังกล่าวจะกระตุ้นการใช้วัตถุดิบและการจ้างในพื้นที่
  8. การสนับสนุนการผลิตและการใช้ออโต้จีเนียสวัคซีน (Autogenous Vaccine) หรือ วัคซีนที่ผลิตจากเชื้อโรค (เชื้อไวรัสและแบคทีเรีย) ในร่างกายของสัตว์ที่ป่วย สำหรับปศุสัตว์และสัตว์น้ำที่ได้มาตรฐานเพื่อลดความสูญเสียจากโรคระบาด ด้วยการสนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานการผลิต Autogenous vaccine สำหรับปศุสัตว์และสัตว์น้ำที่ได้มาตรฐาน GMP รวมถึงประกาศ Sandbox
  9. การพัฒนาและส่งเสริมการใช้ฉลากสินค้า BCG เพื่อการขยายตลาด เพื่อให้ง่ายในการจดจำ เช่นเดียวกับฉลากสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5
  10. การสนับสนุนให้ TAGTHAi เป็น Thailand Digital Tourism Platform หลักของประเทศ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมการท่องเที่ยวคุณภาพสูง

4 การสนับสนุนภาคประชาสังคม ด้วยการให้การสนับสนุนการ จัดตั้ง National Food Bank การจัดตั้งเครือข่ายผู้ประกอบการผลิตอาหาร การให้ภาคเอกชนร่วมกันพัฒนาระบบสนับสนุนต่าง ๆ เช่น ระบบ Logistics และระบบบริหารจัดการอาหารส่วนเกิน รวมถึงปรับกฎระเบียบเพื่อสนับสนุนการบริจาคอาหารส่วนเกินในลักษณะเดียวกับ พ.ร.บ. บริจาคอาหารของประเทศเกาหลีใต้

นายกรัฐมนตรี ฝากทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม (จตุภาคี) ร่วมกันดำเนินงานขับเคลื่อน BCG ให้เกิดผลโดยเร็ว รวมถึงทำงาน BCG เชื่อมโยงกันเพื่อการเป็นเจ้าภาพ APEC ที่สัมฤทธิ์ผล ทั้งนี้ผลของมาตรการดังกล่าวจะเอื้อให้ทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานได้อย่างเป็นเอกภาพ ผลักดันให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะในภูมิภาค ลดความเหลื่อมล้ำ ยกระดับคุณภาพชีวิต ภายใต้การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนอันเป็นหลักการสำคัญของโมเดลเศรษฐกิจ BCG

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ท้านายกฯอิ๊งค์ ถ้าให้เกียรติสภา ควรมาตอบกระทู้สดผู้นำฝ่ายค้าน

'ปธ.วิปค้าน' ลั่น 'หัวหน้าเท้ง' ถามกระทู้สดนายกฯ แน่นอน ข้องใจทำไมต้องแถลงผลงานวันเดียวกัน ทั้งที่รู้ล่วงหน้าแล้ว เหน็บ 'อิ๊งค์' ถ้าเห็นความสำคัญสภา สะดวกตอบสัปดาห์ไหนก็พร้อมเสมอ

‘นายกฯอิ๊งค์’ ไม่ได้ไปงานวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล ส่ง ‘ชูศักดิ์’ เปิดงานแทน

‘นายกฯอิ๊งค์’ มอบ ‘ชูศักดิ์’ เปิดงานวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล ยัน ให้ความสำคัญปราบโกง ลั่น พร้อมผลักดักกม.สกัดซื้อตําแหน่ง-เรียกรับสินบน