'หัวหน้าพรรคสามัญชน' โยน 6 คำถาม ตรวจสอบเหมืองทองอัครา จับตา'นอมินี' ถือหุ้น

แฟ้มภาพ

หัวหนัาพรรคสามัญชน โยนคำถาม 6 ข้อ ร่วมตรวจสอบเหมืองทองอัครา ก่อนนับถอยหลังเปิดใหม่อีกรอบ  จับตามีนอมินีเอี่ยวถือหุ้นหรือไม่

 

6 ก.พ. 2565 – นายเลิศศักด์ คำคงศักดิ์ หัวหน้าพรรคสามัญชน โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุ ประเด็นข้อสงสัยการถือหุ้นของคิงส์เกตในเหมืองทองอัคราฯ/เหมืองทองคิงสเกท  ที่กำลังกลับมาเปิดใหม่เพื่อแลกกับการที่ประยุทธ์ไม่ต้องเสียค่าโง่ 24,750 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน ณ ปัจจุบัน  โดยประมาณ)

รายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน)  บริษัทลูกของบริษัท คิงสเกท แคปปิตอล จำกัด  ณ วันที่ 18 ตุลาคม 2559  ก่อนออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 72/2559 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2559  ได้แจ้งว่ามีผู้ถือหุ้นไทย 5 คน  จำนวน 530,000,100 หุ้น  คิดเป็นเงิน 265,000,050 บาท  ผู้ถือหุ้นต่างชาติ 3 คน  จำนวน 493,999,900 หุ้น  คิดเป็นเงิน 246,999,950 บาท  รวมทั้งหมด 8 คน  1,024,000,000 หุ้น  512,000,000 บาท

โดยหุ้นของผู้ถือหุ้นไทยทั้ง 5 คน  มีดังนี้

(1) นางณุชรีย์ ไศละสูต  หุ้นบุริมสิทธิ 530,000 หุ้น

(2) นางรัตนา พูนสมบัติเลิศ  หุ้นสามัญ 20 หุ้น

(3) นายโยธิน อินทรประสงค์  หุ้นสามัญ 20 หุ้น

(4) นางสาวจุฑารัตน์ อนรรฆธนะกุล  หุ้นสามัญ 40 หุ้น

(5) นางกาญจนา สุทธิประภา  หุ้นสามัญ 20 หุ้น

หุ้นของผู้ถือหุ้นต่างชาติทั้ง 3 คน  มีดังนี้

1. บริษัท คิงสเกท แคปปิตอล จำกัด  สัญชาติออสเตรเลีย  หุ้นสามัญ 68,249,880 หุ้น  หุ้นบุริมสิทธิ 4,000,000  หุ้น

2. นายรอส โดนัลด์ สมิธ-เคิร์ก  สัญชาติออสเตรเลีย  (ประธานกรรมการบริหารคิงส์เกต คอนโซลิเดทเต็ด ลิมิเต็ด  และประธานกรรมการบริษัทอัคราฯ)  หุ้นสามัญ 20 หุ้น

3. เอเชีย โกลด์ ลิมิเต็ด (เป็นบริษัทลูกของบริษัทคิงส์เกต)  สัญชาติมอริเชียส  หุ้นสามัญ 421,750,000 หุ้น

คิดเป็นสัดส่วนผู้ถือหุ้นสัญชาติไทย ต่อ สัญชาติอื่น  เท่ากับ  52 ต่อ 48  เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542

พอหลังออกคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 72/2559  หุ้นของบริษัทอัคราฯที่แจ้งแก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2561,  30 ตุลาคม 2562,  30 ตุลาคม 2563 และ 29 ตุลาคม 2564 ทั้งรายชื่อผู้ถือหุ้น  ประเภทหุ้นและจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นไทยและผู้ถือหุ้นต่างชาติยังคงเป็นรายชื่อ  ประเภทและจำนวนเดียวกันกับที่แจ้งแก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าไว้ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2559  ก่อนมีคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 72/2559

จึงมีคำถาม/ข้อสงสัยที่ยังไม่คลี่คลายหลายประการ  อาทิเช่น

1. บริษัทคิงส์เกตนำบริษัทอัคราฯที่ตัวเองถือหุ้นโดยสัญชาติออสเตรเลียและมอริเชียสอยู่ที่ร้อยละ 48 (และมีผู้ถือหุ้นที่เป็นสัญชาติไทยอยู่ที่ร้อยละ 52)  ไปฟ้องราชอาณาจักรไทยต่ออนุญาโตตุลาการตามกลไกข้อตกลงเขตการค้าเสรี TAFTA ได้หรือไม่  อย่างไร ?

2. เดาว่าคงฟ้องได้แหละตามข้อ 1.  แต่การที่คิงส์เกตเรียกค่าเสียหายจากราชอาณาจักรไทย 24,750 ล้านบาท (ตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ ปัจจุบัน  โดยประมาณ)  เป็นการเรียกค่าเสียหายที่ตั้งอยู่บนฐานที่ว่าคิงส์เกตอ้างตนเป็นเจ้าของบริษัทอัคราฯแต่เพียงผู้เดียว  หรือเสมือนว่าคิงส์เกตเองถือหุ้นอยู่ในบริษัทอัคราฯที่ 100 % ใช่หรือไม่  หรืออย่างไร ?

3. อัตราส่วนค่าเสียหายที่แท้จริงที่คิงส์เกตฟ้องราชอาณาจักรไทยต่ออนุญาโตตุลาการควรอิงหรือคิดให้สอดคล้องตามมูลค่าหุ้นสัญชาติออสเตรเลียและมอริเชียสที่ตัวเองถืออยู่ในบริษัทอัคราฯใช่หรือไม่  อย่างไร ?

4. ในส่วนค่าเสียหายของผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยที่ร้อยละ 52  สามารถนำไปฟ้องราชอาณาจักรไทยต่ออนุญาโตตุลาการตามกลไกข้อตกลงเขตการค้าเสรี TAFTA ได้หรือไม่  อย่างไร,  ถ้าไม่ได้ควรฟ้องด้วยกฎหมายอะไรได้บ้าง ?

5. ข้อตกลงเขตการค้าเสรี TAFTA ให้สิทธิแก่ผู้ถือหุ้นที่ไม่ใช่สัญชาติไทยสามารถถือครองหุ้นในบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยได้ถึงร้อยละ 60  มากกว่าพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ที่ให้สิทธิเพียงร้อยละ 49  ดังนั้น  บริษัทคิงส์เกตก็ควรฟ้องเรียกค่าเสียหายจากราชอาณาจักรไทยต่ออนุญาโตตุลาการตามกลไกข้อตกลงเขตการค้าเสรี TAFTA โดยอิงหรือคิดให้สอดคล้องตามมูลค่าหุ้นสัญชาติออสเตรเลียและมอริเชียส (หรือสัญชาติอื่น ๆ อีกหากมี) ที่ตัวเองถืออยู่ในบริษัทอัคราฯใช่หรือไม่  หรืออย่างไร,  โดยไม่ควรคิดค่าเสียหายเสมือนว่าตัวเองเป็นเจ้าของบริษัทอัคราฯที่ 100 % ใช่หรือไม่  หรืออย่างไร ?

6. รายชื่อผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยทั้ง 5 คน  น่าจะเป็น ‘ตัวแทนอำพราง’  หรือนอมินี  ที่เข้ามาถือหุ้นอำพรางให้แก่คิงส์เกตใช่หรือไม่  หรืออย่างไร ?

วานผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เอ็ดดี้' ชำแหละ! แผนรัฐบาลคุม 'แบงก์ชาติ' บรรลุ 6 เป้าหลัก

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์" ในหัวข้อ "อะไรคือจุดประสงค์ของการแทรกแซงแบงก์ชาติจากฝ่ายการเมือง"

'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน

ตัวจริงเรื่องพื้นที่ทับซ้อน ลั่นอันตราย MOU44 ไทยไม่ยกเลิก ติดกับดักบันได 3 ขั้นกัมพูชา

ตอนนี้เราเข้าไปอยู่ในกับดักขั้นที่สองแล้ว คือมี MOU ไว้แล้ว ก็อย่างที่ผมเสนอว่าสิ่งที่ต้องทำอันแรก ก็คือหนึ่งยกเลิก  MOU44 สอง คือในทุกกรณี เราต้องไม่เข้าไปสู่บันไดขั้นที่สอง