'ดร.ธรณ์' อธิบายการกำจัดคราบน้ำมันรั่ว ชี้คราบสีดำหายไปหมดแล้วแต่ส่วนหนึ่งจมลงไปในทราย รับการประเมินผลกระทบเหนื่อยมาก เพราะพื้นที่ได้รับผลกระทบกว้างมาก ในขณะที่งบประมาณก็จำกัด
4 ก.พ.2565 - ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความพร้อมภาพในเฟซบุ๊กถึงความคืบหน้าการกำจัดน้ำมันรั่ว ว่า
ความยุ่งยากของปัญหาคราบน้ำมันคือมันไม่จบง่ายๆ จึงนำภาพที่ทีมงานคณะประมง มก. กำลังทำงานมาอธิบาย เพื่อนธรณ์ค่อยๆ ดูไปอ่านไปนะครับ
เริ่มจากภาพแรก before & after เป็นจุดเดียวกับที่เคยนำมาให้เพื่อนธรณ์ดู แต่หนนั้นเป็น before ก่อนเกิด & เมื่อเกิด
หนนี้ EP2 - before คือวันที่ 29 ช่วงที่คราบน้ำมันเข้าฝั่ง เทียบกับ after คือวันนี้แหละ เพิ่งถ่ายเมื่อตอนเย็น
จากภาพจะเห็นชัดว่าหาดสะอาดแล้วจ้ะ เมื่อดูจากที่สูง คราบน้ำมันสีดำหายไปหมดแล้ว
ทว่า…หายไปไหน ?
ต้องขอบคุณทีมงานกำจัดคราบที่ทำงานกันเต็มที่ แต่ก็ต้องยอมรับว่า มันคงยากที่จะหมด
น้ำมันส่วนหนึ่งจมลงไปในทรายครับ ทีมคณะประมงเดินสำรวจไปทีละจุดตามที่ผมเล็งไว้ จากนั้นก็ขุดลงไปดู
สามภาพเรียงกันคือน้ำมันที่เจออยู่ใต้ทราย มองไม่เห็นจากด้านบน (อ่านคำอธิบายในแต่ละภาพนะครับ)
นั่นคือความลำบากของการประเมินผลกระทบในครั้งนี้ เพราะหาดแม่รำพึงยาวหลายกิโลเมตร มีน้ำมันอยู่ใต้ทรายตรงไหนบ้าง ?
นั่นเฉพาะหาดทรายแห่งเดียว ยังมีพื้นท้องทะเลกว้างใหญ่หลายสิบตร.กม. ต้องใช้เครื่องมือลงไปสำรวจ
ยังมีเศษตะกอนสีดำขึ้นตรงอ่าวนั้นนี้ จากที่เป็นข่าวก็หลายแห่ง
ผมบอกเสมอว่า การประเมินผลกระทบหนนี้เหนื่อยมากแน่นอน เพราะพื้นที่ได้รับผลกระทบกว้างมาก
ในขณะที่งบประมาณก็จำกัด นักวิจัยที่พอคุมงานได้ก็จำกัด
คำถามที่ทุกคนอยากได้คำตอบ เมื่อไหร่จะเหมือนเดิม ปูหอยจะรอดไหม สัตว์น้ำจะย้ายไปหรือเปล่า ฯลฯ
ผมเองก็อยากตอบเหมือนกัน แต่มันตอบไม่ได้ มันเหนื่อยมันยากกว่าจะรวบรวมข้อมูลมาให้ได้มากพอคาดการณ์
แม้ตอนนี้ พวกเราก็กำลังเปิดไฟทำงานบนชายหาด เพราะช่วงนี้น้ำลงต่ำในยามค่ำคืน
ขอบคุณนักวิจัยจากกรมทะเลและหน่วยอื่นๆ ทุกท่าน เราทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่
ทะเลไทยเผชิญปัญหาหนักหน่วงครั้งแล้วครั้งเล่า หากนักวิทยาศาสตร์ทะเลไทยแตกกระเซ็นกระสาย เราก็ควรพ่ายแพ้ไปนานแล้ว
แต่เราไม่…และจะไม่ยอมให้เป็นเช่นนั้น
เพราะเราเลือกแล้วที่จะรักทะเล
ปกป้องเธอเมื่อเธออ่อนแอ
ไปหาเธอในยามที่เธอต้องการ…
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดร.ธรณ์ ชี้โลกร้อนฆ่าพะยูน ตายเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว แนะไทยควรพูดใน COP29
ในอดีตพะยูนตายเฉลี่ยเดือนละ 1 ตัว ปัจจุบัน (2566-67) พะยูนตายเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว
โลกร้อนส่งผล ยอดฟูจิ ไม่มีหิมะ ดร.ธรณ์ ชี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล โพสต์ว่า มาถึงวันนี้ ฟูจิซังก็ยังไม่มีหิมะ ไม่ใช่แค่ครั้งแรกในรอบ 130 ปี ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ด้วยซ้ำ
ดร.ธรณ์ แจ้งพายุ ‘จ่ามี’ อีสานล่างโดนแล้ว ‘อุบลฯ’ มาแต่เช้า เคลื่อนเข้า ‘โคราช-ขอนแก่น’
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม
'โลกร้อน-โลกเดือด'! กระทบ 'พะยูน' เข้าใกล้จุดสูญพันธุ์
เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า พะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้พะยูน ก้าวข้าม
'ดร.ธรณ์' ดึงสติ ไม่ต้องตื่นตระหนกพายุลูกใหญ่ถล่ม หากมาจริงจะแจ้งล่วงหน้า
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
พายุเข้ามาที่ชายฝั่งเวียดนาม 'ดร.ธรณ์' แนะหน่วยงานในพื้นที่เตรียมตัวแจ้งเตือนหากฉุกเฉิน
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า