พยากรณ์อากาศ 24 ชม.ข้างหน้า ‘กทม.-ปริมณฑล’ มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่

13 เม.ย.2568-กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือและภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนและฝนตกหนักที่จะเกิดขึ้น ควรหลีกเลี่ยงเส้นทางที่มีปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำซึ่งอาจเกิดน้ำท่วมขังในระยะสั้นได้ และไม่ควรอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการจัดกิจกรรมกลางแจ้งช่วงเทศกาลสงกรานต์

สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน

สำหรับภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเนื่องจากลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

สภาวะอากาศที่มีผลต่อการสะสมฝุ่นละอองในระยะนี้: การสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันบริเวณภาคเหนือตอนบน อยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างมาก โดยมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากมีฝนตกเพิ่มขึ้นในบริเวณดังกล่าว

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 18:00 น. วันนี้ ถึง 18:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง  โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พะเยา พิษณุโลก และพิจิตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิสูงสุด 26-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง  ส่วนมากจังหวัดนครราชสีมา และบุรีรัมย์ อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส  ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ภาคกลาง มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง  ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี  สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิสูงสุด 36-37 องศาเซลเซียส  ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งโดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ บริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์  สงขลา ยะลา และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส  อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่  ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล มีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส  ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘สปภ.’ คาด 28 เม.ย.เคลียร์ซากตึกสตง.ถล่มถึงชั้น 1 ลั่นนำผู้สูญหายส่งคืนญาติทุกราย

เจ้าหน้าที่ได้มีการปรับแผนการทำงาน โดยเปิดพื้นที่ด้านหน้าและด้านข้างของอาคารที่ถล่มออก เป็นรูปตัว U เพื่อให้สามารถเข้าถึงซากอาคารได้สะดวกมากขึ้น

กรมอุตุฯ เตือนทั่วไทย รับมือภัยอากาศแปรปรวน!

กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนประชาชนไทยตอนบนระวังพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกบางพื้นที่ ขณะที่ภาคใต้ยังมีฝนตกหนักและคลื่นลมแรงในทะเลอันดามัน ชี้ฝุ่นละอองภาคเหนือ–อีสานสะสมสูงจากลมอ่อน

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 4 แจ้งเตือนพื้นที่รับมือ 'พายุฤดูร้อน' ถล่มหนักต่อเนื่อง 6 วัน

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 26 เมษายน – 1 พฤษภาคม 2568) ฉบับที่ 4