'อนุทิน' ยินดีผู้รับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล พร้อมหารือพัฒนาสาธารณสุขไทย

“อนุทิน” แสดงความยินดีผู้ได้รับพระราชทานรางวัลเจ้าฟ้ามหิดล พร้อมหารือประเด็นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านสาธารณสุขของประเทศไทย

28 ม.ค.2565 -  น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เมื่อเวลา 15.00 น. คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำคณะผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล(Prince Mahidol Award) ประจำปี 2563 และประจำปี 2564 ประกอบด้วย ศ.ดร. นพ. วาเลนติน ฟูสเตอร์ นพ.เบอนาร์ด พีคูล ศ.ดร.กอตอลิน กอริโก ศ.ดร.นพ.ดรู ไวส์แมน และ ศ.ดร. ปีเตอร์ คัลลิส เข้าพบนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล

ทั้งนี้ ระหว่างการเข้าพบ รองนายกรัฐและรมว.สาธารณสุข ได้กล่าวในนามของนายกรัฐมนตรี รัฐบาลไทยและประชาชนชาวไทย แสดงความยินดีและชื่นชมต่อการอุทิศตนของผู้ได้รับพระราชทานรางวัลทุกท่านในการช่วยเหลือผู้ป่วยหลายร้อยล้านคนทั่วโลกด้วยผลงานการศึกษาวิจัยที่สร้างคุณูปการสำคัญต่อมวลมนุษยชาติ วงการแพทย์และสาธารณสุขโลกรวมทั้งประเทศไทย พร้อมกันนี้รองนายกรัฐมนตรีได้หารือกับผู้ได้รับพระราชทานรางวัลเจ้าฟ้ามหิดลในประเด็นที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านสาธารณสุขของประเทศไทยด้วย

โดยผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลเห็นพ้องว่า ประเทศไทยมีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือและสนับสนุนในด้านการแพทย์และการสาธารณสุข เช่น เรื่องโรคเอดส์ โรคไข้เลือดออก การวิจัยและพัฒนาวัคซีนต้นแบบ “ChulaCoV19” โดยอยากให้ไทยเข้ามามีบทบาทนำในด้านนี้ พร้อมเชื่อมั่นว่าประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ เวชภัณฑ์ ตลอดจนวัคซีน และสามารถเป็นศูนย์กลางให้กับอาเซียนต่อไปได้รวมทั้งเสนอแนะให้ไทยนำองค์ความรู้ของผลการวิจัยต่างๆ ที่ค้นพบ และแลกเปลี่ยนทรัพยากรทางการแพทย์ร่วมกับประเทศอื่นๆ มาประยุกต์ใช้ ต่อยอดเป็นเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

ทั้งนี้ ผู้ได้รับพระราชทานรางวัล ปี 2563 สาขาการแพทย์ ได้แก่ ศ.ดร.นพ.วาเลนติน ฟูสเตอร์ จากสหรัฐอเมริกา เป็นผู้มีผลงานการวิจัยด้านเกล็ดเลือดในกระบวนการเกิดการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งโรคหัวใจนั้นถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย ซึ่งรัฐบาลให้ความสำคัญกับการป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมาโดยตลอด โดยองค์ความรู้จากงานวิจัยของ ดร.ฟูสเตอร์ จะมีส่วนสำคัญช่วยเพิ่มและเสริมศักยภาพทางการแพทย์ของไทยและของโลกต่อไป

ทางด้าน นพ.เบอนาร์ด พีคูล จากฝรั่งเศส ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลปี 2563 ในสาขาสาธารณสุข ถือเป็นผู้อุทิศตนเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคที่ถูกละเลย อาทิ โรคมาลาเรียซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขสำหรับประเทศกำลังพัฒนา โดยที่ผ่านมาประเทศไทยได้ทำงานเป็นเครือข่ายให้ความรู้และเฝ้าระวังทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้ตั้งเป้าหมายที่จะกำจัดไข้มาลาเรียเป็นศูนย์ (Zero Malaria)

ทางด้านผู้ได้รับพระราชทานรางวัล ปี 2564 ประกอบด้วย ศ.ดร.กอตอลิน กอริโก จากสหรัฐอเมริกาและฮังการี , ศ.ดร.นพ.ดรู ไวส์แมน จากสหรัฐอเมริกา และ ศ.ดร.ปีเตอร์ คัลลิส จากแคนาดา ซึ่งทั้ง 3 ท่าน เป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาวิจัยวิธีการนำเมสเซนเจอร์ อาร์เอนเอ (mRNA) มาใช้ในทางการแพทย์เพื่อประโยชน์ในการป้องกันหรือรักษาโรค และเป็นรากฐานสำคัญในการนำเทคโนโลยี mRNA มาใช้ในการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อนุทิน' ควง 'เนวิน' ทำพิธียกยอดฉัตร วงเวียนรัชกาลที่ 1 เสริมมงคลรับปีใหม่

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย เป็นประธานในพิธียกยอดฉัตรตามโครงการปิดทองเบิกฟ้า สักการบูชา มหาราช รัชกาลที่ 1 ที่บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช(รัชกาลที่ 1)

ส่อง 'พรรคปฏิบัติการ' ปี 68 'ภูมิใจไทย' ถูกขวางยิ่งโต

“พรรคภูมิใจไทย” ภายใต้การนำของ “อนุทิน ชาญวีรกูล” รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย ถือเป็นองค์กระกอบตัวแปรสำคัญทางการเมือง ที่ทำให้เกิดรัฐบาลไฟต์บังคับนี้ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย

โควิดพุ่ง! ติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 3,039 ราย ดับ 1 คน 'เชียงใหม่' ป่วยสูงสุด

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่