28 ม.ค.2565 - จากกรณีที่ บริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ทำให้พนักงานกว่า 300 ชีวิต ตกงาน และออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมที่หน้าสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อทวงเงินชดเชยเยียวยากรณีตกงาน พร้อมตะโกนลั่น "ลุงตู่ ช่วยด้วย!"
ล่าสุด นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2565 นายอเนก โพธิ์ศรี กับพวกรวม 70 คน ซึ่งเป็นลูกจ้าง บมจ. เดอะ วัน ประกันภัย ได้มาชุมนุมที่หน้าสำนักงานคปภ. เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน และผลการประชุมคณะกรรมการกองทุนประกันวินาศภัยของ คปภ. จำนวน 4 เรื่องคือ เรื่องการขอให้ คปภ. คืนเงินของลูกจ้างที่นายจ้างหักไว้จากเงินเดือนลูกจ้างเพื่อเป็นเงินชำระหนี้ของธนาคารอาคารสงเคราะห์
การขอให้ คปภ. คืนเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จำนวน 3 วัน ที่หักจากค่าจ้างลูกจ้างไว้ ตามหนังสือที่ยื่นไว้กับ คปภ. เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2564 และเรื่องค่าจ้างค้างจ่าย 3 วัน ในวันที่ 11-13 ธันวาคม 2564 ค่าชดเชย เงินแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่ถูกเลิกจ้าง ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ที่ 2/2565 ลงวันที่ 13 มกราคม 2565 ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีความห่วงใยลูกจ้างกลุ่มนี้ จึงกำชับให้กระทรวงแรงงานช่วยเหลือดูแลอย่างใกล้ชิด และมอบหมายให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานส่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 ประสานให้คำแนะนำเพิ่มเติมในเรื่องการยื่นคำขอรับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง และคำร้องขอแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นทนายความตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เพื่อฟ้องบังคับตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
โดยนายอเนกฯ ตัวแทนลูกจ้าง บมจ. เดอะ วัน ประกันภัย แจ้งว่าในสัปดาห์หน้าจะมารับคำขอรับเงินสงเคราะห์ฯ และคำร้องขอแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นทนายความฯ เพื่อดำเนินการต่อไป
นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า พนักงานตรวจแรงงาน มีคำสั่ง ที่ 2/2565 ลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2565 สั่งให้บริษัท เดอะ วัน ประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยกองทุนประกันวินาศภัย ในฐานะผู้ชำระบัญชี นายจ้าง จ่ายค่าจ้างของการทำงานวันที่ 11 - 13 ธันวาคม 2564 เป็นเงิน 1,012,446.90 บาท ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้าง เป็นเงิน 1,770,327.46 บาท ค่าชดเชย 64,715,348 บาท และเงินแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 15,186,703.50 บาท ให้กับลูกจ้าง 354 คน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 82,684,825.86 บาท
โดยจะครบกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายให้นายจ้างปฏิบัติตามคำสั่งฯ ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 หากเมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย นายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและไม่นำคดีไปสู่ศาล (เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจะเป็นทนายความแทนนายอเนก โพธิ์ศรี กับพวก ฟ้องคดีกับนายจ้างเพื่อบังคับให้ปฏิบัติตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานต่อศาลแรงงานกลาง และในช่วงเวลานี้ลูกจ้างสามารถมายื่นคำร้องเพื่อขอรับเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างกรณีไม่ได้รับค่าชดเชยจากการถูกเลิกจ้างได้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนก่อน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ราชกิจจาฯ แพร่กฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสะสมและเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่กฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสะสมและเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างพ.ศ. ๒๕๖๗
“สุชาติ” ตัดริบบิ้นงานใหญ่ “ชลบุรี พราว เอ็กโป 2024” ปั้น คนตัวเล็กให้เป็นคนตัวใหญ่ สร้างช่องทางให้ SME สร้างงานให้ประชาชน
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานเปิดงาน “ชลบุรี พราว เอ็กซ์ โป 2024 (CHONBURI PROUD EXPO 2024)” ณ FORYER ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ NICE สวนนงนุช จังหวัดชลบุรี
"พิพัฒน์” ลุยเพื่อแรงงาน ถกประกันสังคมเอสโตเนีย ยกระดับบริการให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกไปทำงานฟาร์มออสเตรเลีย
รัฐบาลเตือนภัยอย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพใช้โซเชียลหลอกทำงานฟาร์มออสเตรเลีย ย้ำรัฐบาลออสเตรเลีย ยังไม่มีความร่วมมือกับไทยด้านการส่งแรงงานและยังไม่มีนโยบายการออกวีซ่าเกษตรให้กับคนไทย
"พิพัฒน์“ รุก! เพื่อแรงงาน เพิ่มรายได้กองทุนฯ พบบริษัทจัดการสินทรัพย์สวีเดน กางแผนผลตอบแทนระยะยาวเฉลี่ย 8 -10% ต่อปี เพื่อกองทุนยืน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี
‘พิพัฒน์’ห่วงแรงงานไทย นำคณะ ถก ! ระบบบำนาญสวีเดน สร้างมาตรฐาน พัฒนาบริการผู้ประกันตน รองรับสังคมสูงอายุ
มื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม คณะกรรมการประกันสังคม และที่ปรึกษา (ชุดที่ 14) รวมถึงผู้บริหาร