จับเรือประมงอินโดนีเซีย 2 ลำพร้อมลูกเรือ 19 คน รุกล้ำน่านน้ำภูเก็ต

28 ม.ค. 2565 - เมื่อเวลา 10.00 น. พลเรือตรีทินกร กาญจนเตมีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสำนักงานศรชล.ภาค3 ,นาวาเอกพิเชษฐ์ ซองตัน ผู้อำนวยการกองสารนิเทศ สำนักฝ่ายอำนวยการ ศูนย์รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 ,พ.ต.ท.จีรยุทธ นิยมเดช สารวัตรสถานีตำรวจน้ำภูเก็ต, นายณชพงศ ประนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต ,นายไพโรจน์ ก้องสุวรรณคีรี ผู้แทนหัวหน้าด่านตรวจประมงภูเก็ต ร่วมกันแถลงข่าว การจับกุมเรือประมงสัญชาติอินโดนีเซีย จำนวน 2 ลำ รุกล้ำน่านน้ำลักลอบจับสัตว์น้ำในเขตน่านน้ำภูเก็ต

น.อ.พิเชษฐ์ กล่าวว่า วันนี้ ได้รับมอบหมายจาก พล.ร.ท.สมพงษ์ นาคทอง ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 ให้ดำเนินการแถลงข่าวการจับกุมเรือประมงอินโดนีเซีย โดยการจับกุมครั้งนี้ สืบเนื่องจาก เมื่อวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา ผู้บังคับการเรือหลวงแกลง กำลังนำเรือออกทำการลาดตระเวนตรวจการณ์ทางทะเลเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อย และการกระทำความผิดในทะเล ตามแผนการปฏิบัติงานอยู่นั้น

เวลาประมาณ 16.00 น. ได้ตรวจพบเรือประมงอินโดนีเซียจำนวน 2 ลำ กำลังทำการประมงในน่านน้ำไทย บริเวณทางทิศตะวันตกของเกาะภูเก็ต ห่างจากฝั่งประมาณ 38.5 ไมล์ทะเล (แบริ่ง 270 องศาจากเกาะภูเก็ต ระยะห่างจากฝั่งประมาณ 38.5 ไมล์ทะเล) จึงได้เข้าทำการตรวจค้นและจับกุม

ผลการตรวจค้นเรือประมงอินโดนีเซียลำที่ 1 ชื่อเรือ SINAR MAKMUR 05 ลักษณะเรือ เป็นเรือประมง ตัวเรือสีเขียว เก๋งเรือสีน้ำเงิน มิติเรือ กว้าง 4.6 เมตร ยาว 14.5 เมตร ขนาดเรือ 25 ตันกรอส ลูกเรือ 14 คนรวมไต๋เรือ ในจำนวนนี้มี 1 คน อายุ 13 ปี การตรวจระวางเรือ ตรวจพบปลาในระวางครึ่งระวาง

ผลการตรวจค้นเรือประมงอินโดนีเซียลำที่ 2 ชื่อเรือ KM.BAHAGIA 02 ลักษณะเรือ ตัวเรือสีขาว เก๋งเรือสีส้ม มิติเรือ กว้าง 3.2 เมตร ยาว 13.05 เมตร ลูกเรือ 5 คนรวมไต๋เรือ

หลังจากที่ได้ดำเนินการตรวจค้นและจับกุมแล้ว ได้ควบคุมเรือประมงอินโดนีเซียทั้ง 2 ลำ พร้อมลูกเรือทั้งหมด กลับเข้าสู่ฝั่งโดยจะทำการเข้าจอดเทียบท่าที่ท่าเรือรัษฎาจังหวัดภูเก็ต ในเช้าวันที่ 28 มกราคม 2565 เพื่อส่งมอบผู้กระทำผิดทั้งหมดให้เจ้าพนักงานดำเนินการทางกฎหมายในการส่งฟ้องศาล การฝากขัง ส่วนของกลางเรือทั้งสองลำ ในขั้นต้นจะเก็บไว้ที่ท่าเรือรัษฎาแห่งนี้ รอคำพิพากษาของศาลว่าจะให้ดำเนินการอย่างไร

เบื้องต้น ทางด่านตรวจประมงภูเก็ต ได้แจ้งข้อกล่าวหา การเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และทำประมงไม่ได้รับอนุญาตในน่านน้ำไทย

ทั้งนี้ การจับกุมครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของปี 2565 ที่ผ่านมา ในปี 2564 มีการจับกุมเรือประมงอินโดนีเซียที่ลักลอบเข้ามาทำการประมงในน่านน้ำไทยได้ 1 ครั้ง ปัจจุบันผู้ต้องหายังถูกจำขังอยู่ในประเทศไทย ส่วนของกลาง(เรือประมงอินโดนีเซีย) ยังคงจอดเก็บไว้ที่ท่าเรือรัษฎาแห่งนี้

สถิติการรับแจ้งว่ามีเรือประมงอินโดนีเซียลักลอบเข้ามาทำการประมงในน่านน้ำไทย ในแต่และปี มากกว่า 10 ครั้ง ส่วนใหญ่จะเป็นการเข้ามาลักลอบขโมยอุปกรณ์ดักจับปลาของเรือประมงไทย ที่วางดักปลาไว้ แต่เมื่อทางเราได้รับแจ้ง และนำเรือออกไปจับกุม เรือเหล่านั้นก็หนีออกไปยังน่านน้ำอินโดนีเซีย ไม่สามารถจับกุมได้ทัน สร้างความเสียหายให้กับชาวประมงไทยอย่างมหาศาล

ทางด้าน พลเรือตรี ทินกร กล่าวว่า การที่เรือประมงอินโดนีเซียได้ลักลอบเข้ามากระทำการเช่นนี้ ได้สร้างความเสียหายต่อภาคเศรษฐกิจของไทย และสร้างความเสียหายโดยตรงต่อชาวประมงไทย ซึ่ง เครื่องมือประมง(ซั้ง) ที่วางไว้มีราคาหลายหมื่นบาท วันนี้จับกุมเรืออินโดนีเซีย ได้ 2 ลำ ความผิด ทางประมงได้แจ้งว่า ทำการประมงโดยไม่ได้รับอนุญาตในน่านน้ำไทย เมื่อมีการจับกุมเพิ่มขึ้น ต่อไปปัญหาจะลดลง เพราะเขาคงจะกลัวการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดของเรา

ในส่วนเจ้าของเรือ ส่วนใหญ่ที่ผ่านมา จับกุมได้เป็นเรืออินโดนีเซีย ส่วนเรือไทยที่จับกุมได้ใช้เครื่องมือผิดประเภท ในพื้นที่หวงห้าม ซึ่งศรชล.ภาค 3 รับผิดชอบพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามัน มีความพร้อมดูแลรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล มีการเฝ้าระวังป้องปรามการทำผิดกฎหมาย ทั้งเรือ อากาศยาน การบังคับใช้กฎหมาย การตรวจที่ท่าเรือต่างๆ

ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค 3 มีความมุ่งมั่นอย่างเต็มความสามารถ ที่จะรักษาผลประโยชน์ของท่าน ที่มีอยู่ในทะเลอันดามันแห่งนี้ สามารถติดตามการปฏิบัติงานของ ศรชล.ภาค 3 ได้ทาง Face Book โดยค้นหาคำว่า ศรชล.ภาค 3 และสามารถแจ้งข้อมูลข่าวสารเหตุต่างๆ เพื่อให้ ศรชล.ภาค 3 เข้าคลี่คลายสถานการณ์ ที่หมายเลข 065 668 1700 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ทางด้าน นายณชพงศ์ ประนิตย์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต กล่าวว่า กรณีนี้ต้องตรวจเรือของกลางที่มีการจับกุมเข้ามา พิสูจน์อัตลักษณ์ของเรือ เอกสารเรือ ลักษณะเรือการจดทะเบียนต่างๆ หมายเลขเครื่องยนต์วัดขนาดเรือจำนวนตันกรอส เพื่อเปรียบเทียบสัญชาติเพื่อประกอบการดำเนินคดี ในส่วนพื้นที่เกิดเหตุอยู่นอกเขตที่เจ้าท่ารับผิดชอบเกิน12ไมล์ทะเล ในการดำเนินการแจ้งเรือเข้าออกยังไม่เข้าฐานความผิดพ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทหารเรือ' หนี้ท่วมเงินเดือนเหลือใช้ไม่ถึง 30% นับหมื่นราย

พลเรือเอกชลธิศ นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นผู้แทน ผู้บัญชาการทหารเรือ พร้อม นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี/ประธานคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย และคณะ ร่วมประชุมติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาหนี้สินกำลังพลของกองทัพเรือ

'เศรษฐา' ยังไม่เคาะซื้อเรือดำน้ำ รอความชัดเจนข้อตกลงตอบแทนการค้า

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้าการแก้ไขสัญญาเรือดำน้ำเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์จีน รุ่น CHD620 ได้มีการพูดคุยกับ นายจักรพงษ์ แสงมณี รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แล้วหรือยัง

'สุทิน' ยังไม่เซ็นเปลี่ยนสัญญาซื้อเรือดำน้ำ รอคุยกฤษฎีกา รับกังวลเสี่ยงถูกฟ้อง

นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ ว่า ตนเองยังไม่ได้มีการเซ็นลงนามเปลี่ยนสัญญาการจัดซื้อเรือดำน้ำและยังไม่ได้มีการส่งนายกรัฐมนตรี แต่ได้เซ็นยอมรับผลการศึกษา ซึ่งในเรื่องนี้จะมีการเร่งรัด

'วัชระ' ช่วยทหารเรือชั้นผู้น้อยยื่น ป.ป.ช.สอบทุจริตจัดซื้อปืนกล 30 มม.

"วัชระ เปิดใจยื่นเรื่องนี้แทนกำลังพลชั้นผู้น้อยที่รักชาติไม่ยิ่งหย่อนกว่านายพล เพื่อตอบแทนพี่น้องทหารเรือที่ช่วยนักศึกษามาตลอดตั้งแต่สมัย 6 ตุลาคม 2519 จนถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ..."

ผบ.ทร. ลั่นเรือดำน้ำจีนอยู่ในมือรัฐบาล หากไม่ได้ทัพเรือไทยจะรั้งบ๊วยอาเซียน

พลเรือเอกอะดุง พันธ์เอี่ยม ผบ.ทร. ชี้แจงความคืบหน้าเรือดำน้ำ ว่าอยากที่จะชี้แจงมานาน ยืนยันว่าในปีที่เราเซ็นสัญญา จีนมีสิทธิ์ในการผลิตเครื่อง mtu เยอรมันขาย จึงมีการเซ็นสัญญากัน บางคนเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าจีนมาหลอกเรา อยากจะเคลียร์ให้ชัดเจน

'บิ๊กทิน' ชง ครม. แก้ไขสัญญาจัดหา 'เรือดำน้ำ' แล้ว

พลเรือเอกชลธิศ นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดหาเรือดำน้ำ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการจัดหาเรือดำน้ำจีนของกองทัพเรือ