อุตุฯ เตือนพายุฝนฟ้าคะนอง ลมแรง ลูกเห็บตก อุณหภูมิลดลง 1-3 องศา

24 ก.พ. 2568 – กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ลักษณะอากาศทั่วไป 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ประเทศไทยตอนบนจะมีสภาพอากาศแปรปรวน โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่งในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้แล้ว ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับจะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาเคลื่อนเข้าปกคลุมด้านตะวันตกของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และห่างฝั่งทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย สำหรับเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรงดออกจากฝั่ง

สภาวะอากาศที่มีผลต่อการสะสมฝุ่นละอองในระยะนี้: การสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงค่อนข้างมาก โดยมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น และมีฝนเพิ่มขึ้นในบางพื้นที่

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน สุโขทัย กำแพงเพชร และตาก อุณหภูมิต่ำสุด 16-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นในตอนเช้า โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 13-17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดอุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี นครปฐม สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนัก และลมกระโชกแรงบางแห่ง บริเวณจังหวัดนครนายก ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดระนอง พังงา และกระบี่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุตุฯ เตือนไทยตอนบนรับมือพายุฤดูร้อน ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ 

กรมอุตุฯ เตือนฉบับ 8 รับมือพายุฤดูร้อน มีผลกระทบแล้ว เช็กจังหวัดเสี่ยงอันตราย

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 29 มีนาคม – 1 เมษายน 2568) ฉบับที่ 8

ผวาอีก! กรมอุตุฯ แจ้งแผ่นดินไหวที่อ.ปาย กลางดึกเมื่อคืนที่ผ่านมา

แผ่นดินไหวขนาด 2.0 เกิดขึ้นที่อำเภอปาย แม่ฮ่องสอน เมื่อกลางดึก ทำให้ประชาชนในพื้นที่รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือน แต่ยังไม่มีรายงานความเสียหาย กรมอุตุฯ ยืนยันเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นแผ่นดินไหวที่มีขนาดเล็กแต่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์ต่อไป

พายุฤดูร้อนถล่มไทย! เตือนภัยฝนฟ้าคะนอง-ลูกเห็บตกหลายพื้นที่

กรมอุตุฯ เตือนทั่วไทยเผชิญพายุฤดูร้อนจากอากาศร้อนจัด และมวลอากาศเย็นจากจีน พยากรณ์ 24 ชั่วโมงข้างหน้า เสี่ยงพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกหลายจังหวัดเกษตรกร-ประชาชนโปรดระวังความเสียหาย พร้อมติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด

กรมอุตุฯ เตือนอากาศร้อนจัดทั่วไทย ภาคอีสาน-ตะวันออก เสี่ยงพายุฝนฟ้าคะนอง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า เผยทั่วประเทศเผชิญสภาพอากาศร้อนถึงร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุดแตะ 40 องศาฯ ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออกมีโอกาสเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่

แผ่นดินไหวรุนแรงเขย่าเมียนมา เกิดอาฟเตอร์ช็อกแล้ว 9 ครั้ง

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.1 เมื่อเวลา 13.32 น. วันที่ 28 มีนาคม 2568 จุดศูนย์กลางอยู่ในประเทศเมียนมา แรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ในหลายจังหวัดของไทย