
‘มารศรี’ ยันสิทธิประกันสังคมไม่ด้อยกว่าสิทธิรักษาตัวอื่น
เลขาธิการ ย้ำ สิทธิประกันสังคมไม่ด้อยกว่าสิทธิอื่น มุ่งเน้นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ประกันตนได้สิทธิเพิ่มเติม นอกเหนือสิทธิพื้นฐาน
23 ก.พ. 2568 – ตามที่สื่อมวลชนได้นำเสนอข้อมูล ประเด็นการเข้าถึงบริการสาธารณสุขเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ควรได้รับอย่างเท่าเทียมกัน และมีการเปรียบเทียบระหว่างสิทธิประกันสังคม และสิทธิบัตรทอง ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรนั้น
นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ชี้แจงว่า สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทในการดูแลระบบประกันสังคมคุ้มครองทั้ง 7 กรณี ตั้งแต่เกิดจนวาระสุดท้ายของผู้ประกันตน ( เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน) ซึ่งระบบประกันสุขภาพของผู้ประกันตนเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิทธิประโยชน์ใน 7 กรณีดังกล่าว ที่มีการให้ทั้งบริการทางการแพทย์และเงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วยไม่สามารถทำงานได้ ทั้งนี้เงินที่ใช้จ่ายในการจัดระบบสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมทั้ง 7 กรณี มาจากการจัดเก็บเงินสมทบจาก 3 ฝ่าย ได้แก่ ผู้ประกันตน และนายจ้าง ในอัตราฝ่ายละ 5% และเก็บจากรัฐบาล ในอัตรา 2.75% รวม 3 ฝ่าย 12.75% ปัจจุบันมีผู้ประกันตนในระบบกว่า 24.73 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 (ประกันสังคมภาคสมัครใจแรงงานอิสระ)
ที่ผ่านมา กระทรวงแรงงาน คณะกรรมการการแพทย์ และสำนักงานประกันสังคม ให้ความสำคัญในเรื่องการให้สิทธิประโยชน์ด้านการรักษาที่มีคุณภาพครอบคลุมทุกโรค ให้กับผู้ประกันตนอย่างทั่วถึง โดยได้พัฒนาสิทธิด้านการรักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ทุกกองทุน มีมาตรฐานการรักษาพยาบาลเท่าเทียมกัน โดยที่กองทุนประกันสังคมนอกจากการคำนึงถึงความสำคัญในเรื่องมาตรฐานการรักษาพยาบาลแล้ว ยังให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพและการอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกันตนเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่สะดวก รวดเร็วและการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เช่น
ด้านทันตกรรม คุ้มครองครอบคลุมบริการ ถอนฟัน ผ่าฟันคุด อุดฟัน ขูดหินปูน เบิกได้ในอัตรา 900 บาท/คน/ปี สามารถเข้ารับบริการในสถานพยาบาลหรือคลินิกทันตกรรมที่ MOU ได้ทุกแห่ง ทั้งรัฐและเอกชน มากกว่า 20,196 แห่ง โดยผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่าย รวมทั้งจัดบริการรถทันตกรรมเคลื่อนที่ให้บริการ ณ สถานประกอบการ นอกจากนี้สามารถเบิกฟันเทียมไม่จำกัดวัสดุได้สูงสุดไม่เกิน 4,400 บาทต่อปี กรณีบริการรักษาโรคทางช่องปาก ครอบคลุมอยู่ในเหมาจ่ายของสถานพยาบาลที่กำหนดสิทธิ รวมทั้งอยู่ระหว่างการปรับเพิ่มสิทธิเพื่อให้ผู้ประกันตนเข้าถึงสิทธิในการดูแลช่องปากและฟันอย่างมีคุณภาพมากขึ้น
ยกระดับการรักษา 5 โรคสำคัญ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง นิ่วในไตและถุงน้ำดี มะเร็งเต้านม และก้อนเนื้อที่มดลูกและหรือรังไข่ เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับการผ่าตัดรักษาภายใน 15 วัน โดยผู้ประกันตนสามารถเดินทางไปรับการรักษา ณ โรงพยาบาลตามสิทธิ หรือ โรงพยาบาลที่ทำความตกลง (MOU) จึงลดระยะเวลาการรอคอยการผ่าตัด ลดภาวะแทรกซ้อนไม่ให้อาการของโรคมีความรุนแรงมากขึ้น ช่วยลดระยะเวลาการพักฟื้น ส่งผลให้ผู้ประกันตนกลับไปทำงานได้อย่างรวดเร็ว และขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพิ่มทางเลือกในการรักษาโรคมะเร็งนอกเหนือจากสถานพยาบาลตามสิทธิ สามารถเลือกรักษากับสถานพยาบาลที่มีศักยภาพและเชี่ยวชาญในการรักษาโรคมะเร็งตามที่สำนักงานกำหนดเพิ่มเติมได้ โดยครอบคลุมรักษา โรคมะเร็งได้ทุกชนิด รวมถึงการสนับสนุนค่ายาในบัญชียาหลักแห่งชาติและนอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ยาฮอร์โมนและค่ายามุ่งเป้า ซึ่งเป็นยาราคาสูงที่อยู่ในบัญชียา จ(2) และการจ่ายเพิ่มเติมค่ายานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (ปลูกถ่ายไขกระดูก) คุ้มครอง 8 โรค โดยไม่จำกัดจำนวนผู้ป่วยในการรับบริการ
กรณีปลูกถ่ายโดยใช้เนื้อเยื่อตนเองหรือพี่น้องหรือเนื้อเยื่อผู้บริจาคที่บริจาคผ่านสภากาชาดไทย ในอัตรา 750,000 – 1,300,000 บาท/ราย
การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เน้นการป้องกันดีกว่าการรักษา โดยผู้ประกันตนนอกจากตรวจสุขภาพพื้นฐานสำหรับคนไทยทุกสิทธิของ สปสช. 24 รายการ ได้แล้ว กองทุนประกันสังคมยังเพิ่มเติมสิทธิการตรวจสุขภาพให้กับผู้ประกันตนเพิ่มเติมจากสิทธิพื้นฐาน ทั้งเพิ่มความถี่ ช่วงอายุ และรายการในการตรวจสุขภาพที่จำเป็นเพิ่มขึ้น เช่น การตรวจมะเร็งเต้านม ตรวจการทำงานของไต คัดกรองการได้ยิน การเอ็กซเรย์ทรวงอก เป็นต้น โดยผู้ประกันตนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด และจัดบริการตรวจสุขภาพเชิงรุกไปยังสถานประกอบการและชุมชนต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกันตนเข้าถึงการตรวจสุขภาพที่สะดวก รวดเร็ว รวมทั้งมีการติดตามประเมินผลสุขภาพของผู้ประกันตน และมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ให้ผู้ประกันตนอายุ 50 ปีขึ้นไปด้วย
เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่า การรักษาพยาบาลเป็นหนึ่งในสิทธิประโยชน์ของกองทุนประกันสังคมเท่านั้น การรักษาพยาบาลไม่ว่าจะเป็นสิทธิใด คุณภาพในการรักษาพยาบาลรวมถึงยาในการรักษาจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานและมีความเท่าเทียมกัน ในด้านการให้บริการ สิทธิประกันสังคมยังกำหนดให้ผู้ประกันตนสามารถเลือกสถานพยาบาลที่ประสงค์จะเข้ารับการรักษาได้ด้วยตนเอง โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนสามารถเปลี่ยนสถานพยาบาลได้ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี หากระหว่างปีผู้ประกันตนมีการย้ายที่อยู่หรือย้ายสถานที่ทำงานก็จะสามารถแจ้งขอเปลี่ยนแปลงสถานพยาบาลได้โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง ทั้งนี้ ขอให้ผู้ประกันตนมั่นใจว่ากระทรวงแรงงาน คณะกรรมการการแพทย์ และสำนักงานประกันสังคมมุ่งเน้นพัฒนาสิทธิประโยชน์ทางการแพทย์เพื่อดูแลคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ประกันตน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'พัฒนา' ยัน 'ตระกูลพร้อมพัฒน์' ไม่เกี่ยวปมซื้อตึก Skyy9
'ลูกสันติ' แจง 'ตระกูลพร้อมพัฒน์' ไม่เกี่ยว ปม สปส.ซื้อตึก Skyy9 ระบุขายให้เอจีอาร์อี101 แล้ว จากนั้นไม่ได้เข้าไปดูอีกเลย ปัดตอบปมราคาพุ่งเกินจริง
'สันติ' โผล่ปัด สปส.ซื้อตึก 7 พันล้านไร้ดีลการเมือง!
'สันติ' ปัด สปส.ซื้อ Skyy9 ไร้ดีลการเมือง บอก ไม่ได้คุย 'สุชาติ' แม้อยู่พรรคเดียวกัน ระบุ ลูกชายเก่งอสังหาฯ ซื้อตึกเก่ารีโนเวทขาย ไม่รู้คนซื้อต่อขายใคร ลั่น 'ตระกูลพร้อมพัฒน์-พร้อมทวีสิทธิ์' ไม่เกี่ยวเรื่องนี้
'พิพัฒน์' ยินดีให้สอบข้อเท็จจริงประกันสังคมใช้งบ 7 พันล้านซื้อตึก!
'พิพัฒน์' ไฟเขียวเปิดทาง คกก.สอบข้อเท็จจริงการใช้งบ สปส. ซื้อตึก 7 พันล้าน เร่งหารือ 'ปลัดแรงงาน' โชว์สปิริตหลีกดูงานประกันสังคม ระหว่างถูกสอบ
กมธ.สาธารณสุขเดือด! รุมสับประกันสังคม
'กมธ. สาธารณสุข' รุมสับ 'ประกันสังคม' ได้งบประมาณมากกว่า-รายจ่ายต่อหัวสูงกว่า 500 บาท แต่สิทธิประโยชน์ต่ำกว่า 'บัตรทอง' จี้โอนให้ 'สปสช.' ดูแลระบบประกันสุขภาพทั้งหมด
‘สปส.’โร่แจงยิบ นักวิชาการหนุน ออกพ้นราชการ
“เลขาธิการ สปส.” ย้ำสิทธิประกันสังคมไม่ด้อยกว่าสิทธิอื่น มุ่งเน้นพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
'นักเศรษฐศาสตร์' เตือน ประชานิยม 30 บาทรักษาทุกโรค กำลังจะ 'ฆ่า' ระบบสาธารณสุข
รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ ประชานิยม 30 บาทรักษาทุกโรค กำลังจะ “ฆ่า” ระบบสาธารณสุขไทย มีเนื้อหาดังนี้