คนกรุงยังหายใจไม่โล่ง ฝุ่น PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น กลับมาส้ม 12 พื้นที่

29ม.ค.2568 - ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2568 เวลา 07.00 น.
ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 32.8 มคก./ลบ.ม.
ฝุ่นละอองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ภาพรวม : คุณภาพอากาศ กทม. อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
เกินมาตรฐาน เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 12 พื้นที่

ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ในช่วง 26.0 - 45.5 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และ พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 12 พื้นที่ คือ
1.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลนคราภิบาล : มีค่าเท่ากับ 45.5 มคก./ลบ.ม.
2.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 43.9 มคก./ลบ.ม.
3.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 40.7 มคก./ลบ.ม.
4.เขตสวนหลวง ด้านหน้าสำนักงานเขตสวนหลวง : มีค่าเท่ากับ 40.4 มคก./ลบ.ม.
5.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 40.0 มคก./ลบ.ม.
6.เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 39.1 มคก./ลบ.ม.
7.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 38.9 มคก./ลบ.ม.
8.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 38.7 มคก./ลบ.ม.
9.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 38.5 มคก./ลบ.ม.
10.สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง : มีค่าเท่ากับ 37.7 มคก./ลบ.ม.
11.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 37.7 มคก./ลบ.ม.
12.เขตสายไหม ป้ายรถเมล์ด้านหน้าสำนักงานเขตสายไหม : มีค่าเท่ากับ 37.6 มคก./ลบ.ม.
.
ในช่วงวันที่ 29 ม.ค. - 3 ก.พ. 2568 การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ "อ่อน" ประกอบกับมีการเกิดอินเวอร์ชั่นใกล้ผิวพื้น อย่างต่อเนื่อง ทำให้มลพิษทางอากาศแพร่กระจายได้อย่างจำกัด ส่งผลให้ความเข้มข้นของฝุ่นละอองมีแนวโน้มส่งตัวถึงเพิ่มขึ้นในช่วงดังกล่าว และคาดการณ์วันนี้ อากาศเย็นในตอนเช้า
.
พื้นที่ กทม. ไม่พบจุดความร้อน
.
ข้อแนะนำสุขภาพ:
คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

1เสียงที่เคยเลือก 'ชัชชาติ' ฟาดกลับ วิกฤตPM2.5 ศึกษามาดีแล้วแต่ทำแบบเดิมๆที่ผู้ว่าฯอัศวินทำ

นายพงศ์พรหม ยามะรัต อดีตรองโฆษกพรรคสร้างอนาคตไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผมมีคนรู้จักในฝ่ายบริหารของผู้ว่าชัชชาติหลายคน เช้านี้ขอเขียนแบบ “เจตนาดี” และอย่ามาผิดใจกับผม เพราะผมก็เป็น 1 เสียงที่เลือกท่านเข้ามาเช่นกัน

ฮือฮา! ทุ่มพันล้านสร้าง 'จูราสสิค เวิลด์' แลนด์มาร์กใหม่กลางกรุง

เจ้าของ 'จูราสสิค เวิลด์' ประกาศลงทุนในกรุงเทพฯ สร้าง 'Jurassic World: The Experienc' แห่งแรกในอาเซียน ทุ่ม 1,200 ล้าน หนุนท่องเที่ยวไทย ปั้นแลนด์มาร์กใหม่ใจกลางกรุง 'บีโอไอ' ไฟเขียวแล้ว

ใช้บังคับแล้ว ประกาศป้องกันและแก้ปัญหา PM 2.5 และบทลงโทษเกษตรกรเผา!

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรการบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ไม่เกิน ๒.๕ ไมครอน (PM2.5) ภาคการเกษตร

ฝุ่นพิษหนาแน่น 'เบลล่า' โพสต์ถามเมื่อไหร่จะแก้ไขอย่างจริงจัง?

นาทีนี้หันไปทางไหนก็เจอแต่ฝุ่น PM2.5 ที่หนาแน่นชนิดที่ว่าบางพื้นที่มองถนนแทบไม่เห็นเลยทีเดียว และเกิดติดต่อกันมาหลายวันแล้ว