‘กนก วงษ์ตระหง่าน’ สะท้อนส่วนของการศึกษาไทยที่หายไป

13 ม.ค.2568-นายกนก วงษ์ตระหง่าน รองประธานคณะที่ปรึกษาขับเคลื่อนนโยบาย รมว.การพัฒนาสังคมฯ โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “กนก วงษ์ตระหง่าน (Kanok Wongtrangan)” เรื่อง “ส่วนของการศึกษาไทยที่หายไป” ระบุว่า ตลอด 20 กว่าปีที่ผ่านมา การสอนในทุกระดับเน้นการสอนเรื่อง“แนวคิด หลักการ ทฤษฎี” ที่เรียกกันง่ายๆว่า ”เรียนจากตำรา“ เป็นสำคัญ

สิ่งที่ขาดหายไป คือการนำแนวคิด หลักการ ทฤษฎี เหล่านั้นไปสู่การปฏิบัติในสถานการณ์จริงของชีวิต เช่น การทำงานจริง การแก้ไขปัญหาชุมชนจริง จนถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เกิดผลสำเร็จจริง ตัวอย่าง เช่น การเรียนด้านการพัฒนาสังคมที่เน้นเรื่องการพัฒนาปัจเจกบุคคลให้มีทักษะ การกระทำ และหน้าที่ที่จำเป็นในสังคม แต่คำถามสำคัญคือการพัฒนาสังคมปฏิบัติจริงในครอบครัว ชุมชนและสังคม ทำอย่างไร การสอนยังไม่มีภาคการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือความรู้ทางทฤษฎีมากกว่าความรู้ภาคปฏิบัติของการพัฒนาสังคม

ประเด็นการสอนภาคปฏิบัติคือการสอนที่มากกว่าทฤษฎี แต่เป็นการสอนการประยุกต์ทฤษฎีสู่การปฏิบัติเพื่อการแก้ปัญหาในชีวิตจริงของการทำงาน นั่นหมายความว่าการสอนภาคปฏิบัติจะต้องศึกษา“บริบท”ความเป็นจริงของปัญหาหรือโจทย์ที่ต้องการแก้ไข ดังนั้นการเรียนรู้สภาพแวดล้อมความเป็นจริงของโจทย์ปัญหาจึงสำคัญไม่น้อยไปกว่าทฤษฎีที่จะใช้เพื่อการแก้ปัญหานั้น การจะเข้าใจบริบทของโจทย์ปัญหาได้ ผู้สอนและผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ปัจจัยของบริบทที่เกี่ยวข้องกับโจทย์ปัญหา เช่น สภาพความเป็นอยู่ อาชีพรายได้ ภูมิสังคมของพื้นที่ โครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ และอำนาจ ของพื้นที่ที่โจทย์ปัญหาตั้งอยู่ ประเด็นที่ยากที่สุดของการแก้ปัญหา คือการปรับเปลี่ยน“ความคิดและการกระทำ”ของปัจเจกบุคคลและคนที่เกี่ยวข้องที่ต้องการแก้ไขปัญหานั้น

การเรียนรู้เพื่อการประยุกต์“แนวคิด หลักการ ทฤษฎี”ไปสู่การแก้ปัญหาในความเป็นจริง(ชีวิตจริง)ให้สำเร็จ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของการศึกษา(การเรียนรู้) ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดของการศึกษาไทย คือการศึกษาไทยไม่ได้สอนและเรียนรู้เรื่องที่สำคัญที่สุดของการศึกษา

การศึกษาไทยจึงเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อที่เราปล่อยให้การศึกษาไม่เป็นประโยชน์จริงกับผู้เรียนและสังคมได้ถึงขนาดนี้

อีกไม่กี่วันจะถึงวันครู ผมจะเขียนถึงครูว่า สิ่งที่ขาดหายไปของครูคืออะไร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เซียนการศึกษา “วิษณุ เครืองาม” เสนอตั้งกรรมการนวัตกรรมทางการศึกษา Active Learning พร้อมภาครัฐสานต่อเพื่อการศึกษาในอนาคต

ท่ามกลางการเปลี่ยนผ่านของรัฐบาล แนวทางการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนในประเทศไทยยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องได้รับความต่อเนื่อง หลักสูตร Active Learning จึงถูกหยิบยกขึ้นมาพิจารณาอย่างจริงจัง

‘กนก’ สะท้อน ปัญหาความยุติธรรมโดยกฎหมาย บังคับใช้ กม.มากกว่าตัวบทของ กม.

ประเด็นที่เกิดคำถามต่อไป คือกฏหมายมุ่งเน้นบังคับไม่ให้คนกระทำผิด มากกว่าการทำให้คนกระทำผิดเป็นคนดี ใช่หรือไม่

เชิญชวนน้องๆ กลุ่มมัธยมศึกษา (เทียบเท่า) ร่วมประกวดสื่อสร้างสรรค์ "Digi Camp ค่ายเยาวชนไทยรู้เท่าทันสื่อ" ปี 2

ถ้าคุณเป็นเยาวชนที่สนใจ...การใช้สื่อโซเชียลมีเดียบนโลกอินเทอร์เน็ตในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การโพสต์ และการแชร์ข้อมูลต่าง ๆ ทั้งในฐานะผู้รับสาร ผู้ส่งต่อ