25 ม.ค.65- ร.ต.อ. พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร ได้โพสต์ข้อความผ่าน เฟสบุ๊คในชื่อ เอิร์ธ พงศกร ขวัญเมือง – Earth Pongsakorn Kwanmuang ว่า
ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวและญาติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ชนคนข้ามถนน บริเวณทางม้าลายหน้าสถาบันไตภูมิราชนครินทร์ ถนนพญาไท ที่สร้างความสูญเสียอย่างไม่สามารถประเมินค่าได้
อุบัติเหตุบริเวณทางแยกหรือทางม้าลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เป็นปัญหาที่ กทม. พยายามผลักดันและแก้ไขให้ได้ โดยร่วมมือกับทางตำรวจที่เป็นผู้บังคับใช้กฎหมายได้โดยตรง
อุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ 1.เรื่องกายภาพ สภาพแวดล้อมเชิงโครงสร้าง และ 2.วินัยจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ต้องใช้การแก้ไขผ่านการบังคับใช้กฎหมาย
หนึ่งในโครงการที่ได้เริ่มทำการศึกษา และวางระบบ และมีผลบังคับใช้ได้ในช่วงเดือนหน้านี้ คือทางม้าลายแยกอโศก
1)ดำเนินการแก้ไขในส่วนกายภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนโดยทำทางม้าลายให้กว้างขึ้น เป็นสีแดง-ขาว มีคำเตือน “พื้นที่จับปรับ” เพิ่มพื้นที่ให้รถจักรยานยนต์จอดรอไฟแดง ยกพื้นถนนให้เป็นเนินหลังเต่าตรงทางม้าลายที่เลี้ยวซ้ายผ่านตลอดเพื่อให้รถชะลอตัว รวมทั้ง ติดตั้งไฟส่องสว่างและไฟจราจรข้ามถนนแบบมีปุ่มกด เพื่อให้ทุกคนเดินข้ามทางม้าลายได้อย่างปลอดภัย
2)แต่หลังจากที่ปรับปรุงมาระยะหนึ่งแล้ว ทางม้าลายบริเวณแยกอโศก ก็ยังไม่สามารถเปลี่ยน “วินัยการจราจร” ของผู้ขับขี่ได้ ยังคงมีการทำผิดในลักษณะเดิมอยู่ ดังนั้นเพื่อทวงสิทธิให้คนข้าม ให้สามารถข้ามทางม้าลายได้อย่างปลอดภัย กทม. จึงร่วมมือกับ สน.ทองหล่อ นำเทคโนโลยี ai มาใช้เก็บข้อมูลผู้ฝ่าฝืนวินัยจราจร เพื่อจะได้ดำเนินคดีตามกฎหมาย จากเดิมตำรวจตั้งด่านจับปรับมุมหนึ่ง อีกฝั่งหนึ่งก็ทำการฝ่าฝืน และด้วยความที่เป็นแยกขนาดใหญ่ และมีแยกลักษณะนี้อีกหลายแยก จำนวนเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เพียงพอที่จะจับปรับทุกคนที่ทำความผิดได้ จึงเพิ่มระบบตรวจจับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎจราจร ซึ่งจากที่ได้ทดสอบระบบมา 1 เดือน สามารถตรวจจับผู้กระทำความผิดที่แยกนี้กว่า “25,094 ราย”
การร่วมมือกับ สน. ทองหล่อ เป็นการนำร่องการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อหวังเปลี่ยนพฤติกรรมคนให้มี “วินัยจราจร” โดยลดการให้เจ้าหน้าที่ หันมาใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งหากประสบความสำเร็จ กทม.จะผลักดันโครงการนี้เป็นโมเดลต่อยอดให้ตำรวจในพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งมีอำนาจ สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 รายพื้นที่ทั่วไทย
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด
นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 ทั่วประเทศ 'เหนือ-กทม.' ยังอ่วม
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
67 พื้นที่ กทม. พบค่าฝุ่นสูงกระทบสุขภาพ
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร