4 ม.ค. โลกใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดในรอบปี

4 ม.ค.2568 - สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า โลกใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในรอบปี ระยะห่างประมาณ 147 ล้านกิโลเมตร โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรีและดวงอาทิตย์ไม่ได้อยู่ตรงศูนย์กลางวงรีพอดี ดังนั้นมี 2 ตำแหน่งที่โลกจะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดและไกลดวงอาทิตย์ที่สุดในรอบ 1 ปี จุดที่ใกล้ที่สุด เรียกว่า Perihelion และจุดที่ไกลที่สุด เรียกว่า Aphelion

ในวันนี้ ดวงอาทิตย์จะขึ้นตอนเวลา 06:42 น. และตกเวลา 18:03 น. ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว จุดนี้หลายคนในเมืองไทยมักสับสนและเข้าใจผิดว่าฤดูหนาวเป็นเพราะโลกอยู่ไกลดวงอาทิตย์ แต่ที่จริงแล้วตรงกันข้าม ฤดูหนาวของประเทศไทยโลกจะอยู่ในจุดที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่มากสุด ดังนั้น ฤดูหนาวไม่ได้เกิดเพราะโลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ที่สุด และฤดูร้อนไม่ได้เกิดเพราะโลกอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด

เนื่องจากแกนหมุนของโลกเอียงทำมุม 23.5 องศา กับระนาบตั้งฉากวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลกจึงได้รับแสงอาทิตย์ในปริมาณต่างกัน ทำให้มีอุณภูมิต่างกัน รวมถึงมีระยะเวลากลางวันและกลางคืนที่ต่างกันด้วย เป็นเหตุให้เกิดฤดูกาลขึ้นบนโลก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มาแล้ว 'ฝนดาวตกควอดรานติดส์' ต้อนรับปี 2025 ดูด้วยตาเปล่าได้ทั่วไทย

สดร.ชวนชม 'ฝนดาวตกควอดรานติดส์' ปรากฏการณ์แรกบนฟ้าต้อนรับปีใหม่หลังเที่ยงคืนวันที่ 3 - รุ่งเช้า 4 ม.ค. 68 นี้ดูด้วยตาเปล่าได้ทั่วไทย

เปิดภาพดาวหาง 'จื่อจินซาน-แอตลัส' กับทางช้างเผือก และดาวศุกร์ เหนือองค์พระธาตุคู่เชียงใหม่

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยภาพดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส กับทางช้างเผือก และดาวศุกร์

IRPC ผสานสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ต่อยอดขยายผลงานนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์

บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) โดย คุณอนุชา สมจิตรชอบ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์นวัตกรรมไออาร์พีซี ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) นำโดย ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เพื่อร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้ง ต่อยอดในการขยายผลงานนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์

วันนี้ 'วันครีษมายัน' กลางวันยาวสุดของปี พระอาทิตย์อยู่บนท้องฟ้าเกือบ 13 ชม.

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แจ้งว่า ในวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เป็น “วันครีษมายัน”

สดร.เผยภาพดาวหาง ฝีมือคนไทยบันทึกจากยอดดอยอินทนนท์

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยภาพดาวหาง 12P/Pons-Brooks ที่เป็นฝีมือคนไทยบันทึกได้ช่วงหัวค่ำวันที่ 11 มีนาคม 2567 จากยอดดอยอินทนนท์ อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่