3 ม.ค.2568 - นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรของผู้ประกันตน เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567 เป็น 1,000 บาทต่อเดือดต่อบุตร 1 คน จากเดิม 800 บาท ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป ผู้ประกันตนที่มีบุตรสามารถยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตร 1,000 บาท ได้ ซึ่งจะโอนเข้าบัญชีผ่านระบบพร้อมเพย์ทุกๆ สิ้นเดือน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39 ,จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 800 บาทต่อบุตรหนึ่งคน ,ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น ,อายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 3 คน เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์
นายคารม กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนยื่นขอรับเงินสงเคราะห์บุตรผ่านเว็บไซต์ประกันสังคม 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1.เข้าไปที่เว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th
2.ใส่รหัสเพื่อเข้าสู่ระบบ/หรือสมัครสมาชิก (หากยังไม่เคยสมัครสมาชิก) กรอกรหัสผู้ใช้งาน (เลขบัตรประจำตัวประชาชน) กรอกรหัสผ่านผู้ใช้งาน
3.หลังเข้าระบบสำเร็จ ให้ผู้ประกันตนเลือกไปที่เมนูยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนด้วยตนเอง (e-Self Service) 4.จากนั้นให้ผู้ประกันตนเลือกไปที่เมนู "ขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุน" 5.จากนั้นผู้ประกันตนเลือก "สงเคราะห์บุตร " 6.ให้ผู้ประกันตนกรอกข้อมูลตามที่ระบบระบุไว้ให้ถูกต้องครบถ้วน รวมถึงอัปโหลดเอกสารลงในระบบได้เลย
นายคารม กล่าวว่า ส่วนขั้นตอนยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานประกันสังคม ดังนี้ 1.ผู้ประกันตนต้องกรอกแบบ สปส.2-01 พร้อมลงลายมือชื่อและนำมายื่นที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน (กรณีผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตร 3 คน ในคราวเดียวกันสามารถใช้แบบคำขอฯ ชุดเดียวกันได้)
2.เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณาอนุมัติ 3.สำนักงานประกันสังคมมีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา และ4.พิจารณาสั่งจ่าย จ่ายเป็นรายเดือนโดยโอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์ของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน
นายคารม กล่าวว่า หลักฐานที่ต้องใช้ในการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร
1.แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม (สปส. 2-01)
2.กรณี ผู้ประกันตนเคยยื่นใช้สิทธิแล้ว และประสงค์จะใช้สิทธิสำหรับบุตรคนเดิม ให้ใช้หนังสือขอใช้สิทธิบุตรคนเดิมกรณีกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน จำนวน 1 ฉบับ
3.กรณีผู้ประกันตนหญิงใช้สิทธิ
3.1สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) จำนวน 1 ชุด
4.กรณีผู้ประกันตนชายใช้สิทธิ
4.1 สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าพร้อมบันทึกแนบท้ายของผู้ประกันตนหรือสำเนาทะเบียนรับรองบุตร หรือสำเนาคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 1 ชุด
4.2 สำเนาสูติบัตรบุตร (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย จำนวน 1 ชุด)
5.กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อ - สกุล ให้แนบสำเนาเอกสารใบเปลี่ยนชื่อ ชื่อ - สกุลด้วย จำนวน 1 ชุด
6.กรณีผู้ประกันตนต่างชาติขอรับประโยชน์ทดแทนให้ใช้สำเนาบัตรประกันสังคม และสำเนาหนังสือเดือนทาง (passport) หรือสำเนาหนังสือเดินทางชั่วคราวหรือเอกสารรับรองบุคคลที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1ชุด
7.สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอ จำนวน 1 ฉบับ
8.เอกสารประกอบการยื่นคำขอฯ ที่เป็นสำเนาให้รับรองความถูกต้องของสำเนาทุกฉบับ และแสดงเอกสารที่เป็นต้นฉบับเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจสอบ กรณี เอกสารหลักฐานสำคัญต่อการพิจารณาเป็นภาษาต่างประเทศให้จัดทำคำแปลเป็นภาษาไทยและรับรองความถูกต้องให้ครบถ้วน
9.ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข)
นายคารม กล่าวว่า ทั้งนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 สามารถยื่นเรื่องรับสิทธิภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิ และได้รับถึงเมื่อบุตรอายุ 6 ปีบริบูรณ์เท่านั้น โดยต้องส่งเงินสมทบไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ตลอดระยะเวลา 36 เดือนก่อนคลอด จึงจะได้รับสิทธิ กรณีผู้ประกันตนชายมาตรา 33 และ 39 ประกันสังคมให้สิทธิ รับสิทธิประโยชน์เงินสงเคราะห์บุตรแทนภรรยาที่ไม่ใช่ผู้ประกันตน โดยคุณพ่อที่จดทะเบียนสมรสกับภรรยา หรือจดทะเบียนรับรองบุตรว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย และจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน สามารถขอรับเงินสงเคราะห์บุตร 1,000 บาทได้ ตั้งแต่บุตรแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปีบริบูรณ์ สำหรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการหมดสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตร มีดังนี้ บุตรอายุครบ 6 ปีบริบูรณ์ตัวบุตรเสียชีวิต ,ได้ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน
“หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง” นายคารม กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวดี ! ผู้ประกันตนรับเงินสงเคราะห์บุตรเพิ่มเป็นหนึ่งพันบาทต่อบุตรหนึ่งคน มีผลบังคับใช้มกราคม 68
นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เผยว่าตามที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ มอบหมายให้สำนักงานประกันสังคมศึกษาการเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีสงเคราะห์บุตร เพื่อส่งเสริมการมีบุตรให้กับผู้ประกันตน ด้วยสาเหตุจากประเทศไทยมีอัตราการเกิดของประชากรลดลงอย่างต่อเนื่อง
ประกันสังคม ดูแลผู้ประกันตนทุกช่วงวัย โชว์ความสำเร็จการดำเนินงาน ปี 67
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2567 นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ได้เปิดการแถลงข่าว ผลการดำเนินงานสำนักงานประกันสังคม ประจำปี 2567
ประกันสังคม ย้ำสิทธิการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยพลาสมาคุณภาพสูง เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ประกันตนทุกช่วงวัย
นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน (สปส.) กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคมให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค พร้อมมุ่งพัฒนาสิทธิการรักษาพยาบาลให้กับผู้ประกันตนอย่างต่อเนื่อง
ครม. ไฟเขียวเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตรผู้ประกันตนเป็น 1,000 บาท
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์
ผู้ประกันตนอย่าลืม เช็กสิทธิประกันสังคม “ทำฟัน” ก่อนหมดปี 67
นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน (สปส.) กล่าวเตือนผู้ประกันตนอย่าลืมไปใช้สิทธิกรณีทันตกรรม ก่อนหมดสิ้นปี 2567 สำนักงานประกันสังคม ให้สิทธิผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 สามารถทำฟัน โดยการถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูนและผ่าตัดฟันคุด
ประกันสังคม เปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนเปลี่ยน รพ. ปี 68 ผ่าน 4 ช่องทาง เริ่ม 16 ธ.ค.67 นี้
นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจ้งว่า สำนักงานประกันสังคม แจ้งให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 สามารถเปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปี 2568 ได้ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2567 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 ผ่าน 4 ช่องทาง คือ 1.