มาแล้ว 'ฝนดาวตกควอดรานติดส์' ต้อนรับปี 2025 ดูด้วยตาเปล่าได้ทั่วไทย

สดร.ชวนชม 'ฝนดาวตกควอดรานติดส์' ปรากฏการณ์แรกบนฟ้าต้อนรับปีใหม่หลังเที่ยงคืนวันที่ 3 - รุ่งเช้า 4 ม.ค. 68 นี้ดูด้วยตาเปล่าได้ทั่วไทย

3 ม.ค.2568- สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แจ้งข่าวชวนชมปรากฏการณ์ “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ต้อนรับปีใหม่ หลังเที่ยงคืนวันที่ 3 มกราคม - รุ่งเช้า 4 มกราคม 2568 นี้เวลา 02:00 น. เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า คาดอัตราการตกสูงสุด 80 ดวงต่อชั่วโมง ไร้แสงจันทร์รบกวน ชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศในพื้นที่โล่งและมืดสนิท

โดยนายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้จัดการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า หลังเที่ยงคืนของวันศุกร์ที่ 3 ม.ค.นี้ตั้งแต่เวลา 02:00 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าของวันเสาร์ที่ 4 ม.ค.จะเกิดปรากฏการณ์ “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ศูนย์กลางการกระจายอยู่ระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส (Hercules) กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ (Boötes) และกลุ่มดาวมังกร (Draco) เริ่มสังเกตได้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ คาดว่าจะมีอัตราการตกสูงสุด 80 ดวงต่อชั่วโมง ในปีนี้เป็นช่วงที่ไร้แสงจันทร์รบกวนจึงเหมาะแก่การสังเกตการณ์เป็นอย่างยิ่ง โดยแนะนำชมในพื้นที่โล่ง ท้องฟ้ามืดสนิท สามารถดูด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ

สำหรับ"ฝนดาวตกควอดรานติดส์ เป็นฝนดาวตกที่เกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงวันที่ 28 ธันวาคม - 12 มกราคม ของทุกปี และมักมีอัตราการตกสูงสุดในช่วงวันที่ 3 - 4 มกราคม สาเหตุเกิดจากโลกเคลื่อนที่ตัดเข้ากับสายธารเศษอนุภาคที่ดาวเคราะห์น้อย 2003 อีเอช1 (2003 EH1) เหลือทิ้งไว้ขณะเดินทางผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นในทุก 5.5 ปี เมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว แรงดึงดูดของโลกจะดึงฝุ่นและหินเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลก เกิดเป็นลำแสงวาบที่คนบนโลกเรียก"ดาวตก"

ทั้งนี้ฝนดาวตกแตกต่างจากดาวตกทั่วไป คือ เป็นกลุ่มดาวตกที่มีทิศทางเหมือนมาจากจุด ๆ หนึ่งบนท้องฟ้า เรียกว่า จุดศูนย์กลางการกระจาย (Radiant) เมื่อจุดศูนย์กลางการกระจายตรงหรืออยู่ใกล้เคียงกับกลุ่มดาวใด ก็จะเรียกชื่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวนั้นๆ สำหรับชื่อของฝนดาวตกควอดรานติดส์ ตั้งชื่อตามกลุ่มดาวควอดแดรนส์ มูราลิส (Quadrans Muralis) หรือกลุ่มดาวเครื่องมือเดินเรือ เป็นกลุ่มดาวที่ปรากฏในแผนที่ดาวในช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งปัจจุบันยกเลิกไปแล้ว หากเทียบกับแผนที่ดาวปัจจุบันจะอยู่ระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ และกลุ่มดาวมังกร

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดภาพดาวหาง 'จื่อจินซาน-แอตลัส' กับทางช้างเผือก และดาวศุกร์ เหนือองค์พระธาตุคู่เชียงใหม่

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยภาพดาวหางจื่อจินซาน-แอตลัส กับทางช้างเผือก และดาวศุกร์

IRPC ผสานสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ต่อยอดขยายผลงานนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์

บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) โดย คุณอนุชา สมจิตรชอบ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ศูนย์นวัตกรรมไออาร์พีซี ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) นำโดย ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เพื่อร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้ง ต่อยอดในการขยายผลงานนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์

วันนี้ 'วันครีษมายัน' กลางวันยาวสุดของปี พระอาทิตย์อยู่บนท้องฟ้าเกือบ 13 ชม.

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แจ้งว่า ในวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เป็น “วันครีษมายัน”

สดร.เผยภาพดาวหาง ฝีมือคนไทยบันทึกจากยอดดอยอินทนนท์

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยภาพดาวหาง 12P/Pons-Brooks ที่เป็นฝีมือคนไทยบันทึกได้ช่วงหัวค่ำวันที่ 11 มีนาคม 2567 จากยอดดอยอินทนนท์ อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่