25 ธ.ค.2567 - ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณีข้อพิพาทพื้นที่บริเวณเขากระโดง หลังกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้งเมื่อนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) และกรมที่ดิน ลงพื้นที่รับฟังปัญหาความเดือดร้อนพี่น้องประชาชน และหน่วยราชการ ในพื้นที่เขากระโดงในจังหวัดบุรีรัมย์ หลังการรถไฟแห่งประเทศ (รฟท.) อ้างสิทธิ์เป็นของตัวเองบนพื้นที่ 5,000 กว่าไร่
นายทรงศักดิ์ กล่าวว่า จากการฟังความของชาวบ้านพบพบว่า อยู่มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2460 ก่อนที่จะมีการออกพระราชกฤษฎีกาสำรวจแนวเขตของการรถไฟฯ “หากฟังทั้งหมด ผมเข้าใจว่าเหมือนการรถไฟจะไปก้าวล่วงสิทธิของประชาชน”
รมช.มหาดไทย ยืนยันว่า ได้รับทราบข้อมูลใหม่จากชาวบ้าน ที่นำเอกสารสิทธิมาแสดงว่าอยู่ในที่ดินนั้น ก่อนที่การรถไฟฯ จะเข้าไปในพื้นที่ และได้นำเอกสารสิทธิต่างๆมาแสดงด้วย ซึ่งเป็นหลักฐานใหม่ จากประชาชน ที่ไม่ได้ส่วนร่วมในการพิจารณาคดีของศาลฎีกาครั้งที่แล้ว
ขณะที่การรถไฟฯ ก็ออกแถลงการณ์โต้ทันทีว่าที่ดินบริเวณเขากระโดง 5,000 กว่าไร่เป็นกรรมสิทธิ์ของ รฟท. พร้อมมีเอกสาร ข้อมูลและคำตัดสินของศาลต่างๆ ถือเป็นที่สิ้นสุด พร้อมดำเนินการทุกอย่างให้ที่ดินกลับมาเป็นของ รฟท.
อย่างไรก็ตาม ประเด็นของการรถไฟฯ ถือเป็นมหากาพย์และมีรายละเอียด ข้อถกเถียงอีกมากที่สังคมยังไม่ได้รับรู้ โดยเฉพาะจากฝั่ง“กรมที่ดิน” ที่ถูกลากให้มาเป็นจำเลย จึงขอนำเสนอข้อมูลอีกด้านเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องโดยแบงประเด็นเรื่อง “เขากระโดง ต้องแบ่งเป็น 2 ภาค
โดยภาค1ประชาชน 35 ราย นำเอกสารการครอบครองที่ดิน สค.1 ไปร้องต่อศาลฎีกา ขอให้กรมที่ดินออกโฉนดที่ดิน แต่การรถไฟฯคัดค้านและศาลฎีกาได้ตัดสินให้ยกคำร้องของประชาชนทั้ง 35 ราย เนื่องจากการรถไฟฯ นำแผนที่แสดงอาณาเขตที่ดินจำนวน 5,083 ไร่ แสดงต่อศาลฎีกาว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯ รับถ่ายโอนมาจากกรมรถไฟหลวง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเป็นที่ดินของการรถไฟ และให้กรมที่ดินเพิกถอนคำร้องของประชาชน 35 ราย ซึ่งกรมที่ดินได้ดำเนินการแล้ว ถือได้ว่ากรมที่ดินได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลฎีกาโดยสมบูรณ์แล้ว
สำหรับการสู้คดีในศาล ภาคที่ 1ของประชาชน 35 ราย นี้ ขณะที่ประชาชนอื่นๆมีเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดิน และ นส.3 ก. มากกว่า 900 ราย ซึ่งมีเอกสารสิทธิที่ดีกว่าประชาชน 35 ราย และกรมที่ดินในฐานะผู้ออกเอกสารสิทธิ์มีการจดทะเบียนซื้อ ขาย โอนที่ดิน มากกว่า 900 แปลง ในพื้นที่ที่การรถไฟฯ อ้างต่อศาล ว่าเป็นที่ดินของการรถไฟฯ ไม่ได้เข้าร่วมในกระบวนการพิจารณาคดี ด้วยเพราะไม่ใช่คู่กรณี หรือคู่ความ ในครั้งนั้น ดังนั้นการดำเนินคดีในภาคแรก ถือว่าเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์
ส่วนภาค2 ต่อมาการรถไฟฯ ฟ้องศาลปกครองให้ กรมที่ดินเพิกถอนการจดทะเบียนนเอกสารสิทธิ์ ทุกแปลง ในพื้นที่ 5,083 ไร่ ซึ่งการรถไฟฯ บรรยายฟ้องว่าเป็นการออกโฉนดที่ดิน ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากเป็นที่ดินของการรถไฟฯ โดยอ้างว่าเป็นแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา พระพุทธศักราช 2462 และศาลฎีกาได้วินิจฉัย ตามหลักฐานที่การรถไฟฯ นำมาแสดงต่อศาล (ตามภาค 1)
ต่อมา ศาลปกครอง ได้มีคำพิพากษายกฟ้องคำร้องของการรถไฟและให้กรมที่ดินตั้งคณะกรรมการสอบสวนที่ดินเขากระโดง ตามมาตรา 61 ของกฎหมายที่ดิน ซึ่งเป็นกระบวนการปกติ ทุกกรณีที่มีการฟ้องร้องให้กรมที่ดิน เพิกถอนการจดทะเบียนออกเอกสารสิทธิที่ดิน ที่ออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือผิดกฎหมาย
เมื่อการรถไฟฯ ฟ้องกรมที่ดิน ทำผิดกฎหมาย ให้ศาลสั่งเพิกถอนการออกโฉนดและเอกสารสิทธิมากกว่า 900 แปลง จึงเป็นเหตุให้กรมที่ดิน ผู้ถูกฟ้องต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดี และ ประชาชนที่มีเอกสารสิทธิ์ และเป็นผู้เสียสิทธิ์ ต้องเข้าสู่การพิจารณาคดีด้วย เมื่อศาลสั่งให้ตั้งกรรมการสอบสวนการได้มาซึ่งที่ดินดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการสอบสวนสิทธิ์การถือครองที่ดินของทั้งการรถไฟฯ และ ประชาชน
ผลการสอบสวนของคณะกรรมการตามมาตรา 61 พบว่าแผนที่ที่การรถไฟฯ นำไปอ้างในศาลฎีกา ไม่ใช่แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา พระพุทธศักราช 2462 และสัดส่วนในแผนที่ผิดจากความเป็นจริงในพื้นที่ เช่นทางรถไฟฯ ระบุในแผนที่มีความยาว 8 กิโลเมตร แต่รางรถไฟที่มีอยู่จริงในพื้นที่ ความยาว 6.2 กิโลเมตร อีก 1.8 กิโลเมตร เป็นที่ดินของประชาชน ซึ่งมีการออกเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีผู้แทนของการรถไฟฯ เป็นผู้ชี้แนวเขตการรถไฟ ซึ่งไม่ทับซ้อนที่ดินของประชาชน ปรากฎเป็นหลักฐานอยู่ในเอกสารที่ประชาชน นำมาแสดง
จากการสอบสวน พบว่า แผนที่ฉบับที่การรถไฟฯ นำมาอ้าง เป็นแผนที่ที่จัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2539 ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดิน และ พนักงานการรถไฟ ร่วมกันจัดทำขึ้นเอง เพื่อเป็นเอกสารประกอบการพิจารณาแก้ปัญหาการบุกรุกที่ดินทำกินของประชาชน ไม่ใช่แผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา และเมื่อกรมที่ดิน ให้การรถไฟฯ นำแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา พระพุทธศักราช 2462 แสดงเขตที่ดินการของการรถไฟ เป็นหลักฐานประกอบการรังวัดชี้แนวเขตที่ดิน การรถไฟฯ ไม่สามารถนำมาแสดง ได้ ในขณะที่ประชาชน นำเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย มาแสดงและคัดค้านการชี้แนวเขตของผู้แทนการรถไฟฯ
คณะกรรมการสอบสวน พิจารณาแล้ว เห็นว่าเมื่อการรถไฟฯ ไม่สามารนำเอกสารสิทธิที่ดีกว่าประชาชนมาแสดงต่อคณะกรรมการ ได้ และมีประชาชนถือครองเอกสารสิทธิ์ ยื่นคัดค้าน จึงยังไม่มีเหตุให้เพิกถอนการออกเอกสารสิทธิ์ของกรมที่ดิน จึงได้รายงานต่ออธิบดีกรมที่ดินและอธิบดีกรมที่ดินได้รายงานกระบวนการสอบสวนของคณะกรรมการ ต่อศาลปกครอง ซึ่งเป็นผู้สั่งให้ตั้งคณะกรรมการแล้ว กระบวนการของกรมที่ดิน เสร็จสิ้นแล้ว จากนี้ไป ทั้ง การรถไฟฯ และ กรมที่ดิน ต้องรอการพิจารณาของศาลปกครองว่าจะมีคำสั่งอย่างไร
การดำเนินคดีภาค 2 ยังไม่เป็นที่ยุติ ที่มีการกล่าวอ้างว่า ศาลฎีกาและศาลปกครอง ได้ตัดสินให้กรมที่ดินเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดินเขากระโดง แล้ว จึงไม่ถูกต้องทั้งหมด แต่มีเจตนาทำให้ประชาชนสับสน เข้าใจผิดว่ากรมที่ดิน ขัดคำสั่งศาล
นอกจากนี้ ยังพบว่า คำพิพากษาศาลปกครองกลาง หน้าที่ 30 ยังรับรองความเป็นอิสระหรือดุลพินิจของกรมที่ดินไว้แล้ว ศาลปกครองไม่อาจก้าวล่วงได้ ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญของคำพิพากษาของศาลปกครอง
เนื่องจาก “ คำร้องที่ รฟท.ขอให้ศาลสั่งกรมที่ดินเพิกถอน ศาลให้ยกคำร้องและ ให้ไปตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 61 เมื่อคณะกรรมการทำตามกฎหมายแล้ว ชี้อย่างไรให้เป็นไปตามความเห็นของคณะคณะกรรมการ ศาลไม่อาจก้าวล่วงผู้ถูกร้องที่สอง(อธิบดีกรมที่ดิน)ได้”
ฉะนั้นการออกมาโต้ตอบกันไปมาของคู่กรณี ยืนยันว่าตนเป็นฝ่ายถูก เป็นเรื่องปกติของคู่กรณี แต่เมื่อนำความขึ้นสู่ศาลแล้ว ควรจะรอศาลตัดสิน ดีกว่าที่จะมาโต้ตอบกันไปมา
สุดท้าย กรมที่ดิน ไม่ได้ปิดกั้นการรถไฟฯ ใช้สิทธิฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินการรถไฟฯ เป็นรายแปลง และได้แนะนำการรถไฟฯไปแล้ว หากศาลมีคำสั่งให้การรถไฟฯ ชนะคดีต่อกรมที่ดิน พร้อมจะดำเนินการเพิกถอนการออกเอกสารสิทธิ์เป็นรายแปลงตามคำสั่งศาลแพ่งต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'วัชระ' ไล่บี้ ป.ป.ช. เร่งสอบ 2 กรณี ทุจริตรัฐสภาใหม่-กรมที่ดินขัดคำสั่งศาลปมเขากระโดง
นายวัชระ เพชรทอง เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวเรื่องอธิบดีกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ไม่เพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ
"อนุทิน" ขอบคุณ "เพื่อนเลิฟ" เป็นสะพานบุญ ปฏิบัติภารกิจ "หัวใจติดปีก" หลังบินด่วนร้อยเอ็ด ส่งทีมแพทย์ผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ
หลังจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย พร้อมด้วย ทีมแพทย์ นำโดย นพ.พัชร อ่องจริต อาจารย์ศัลยแพทย์ หัวหน้าสาขาศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ครม. เคาะแต่งตั้ง '26 พ่อเมือง-7 ผู้ตรวจฯ' มท.จัดแถวสิงห์ล็อตใหญ่
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนครี เปิดเผย หลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติอนุมัติแต่งตั้ง
'อนุทิน' วอนให้ทุกฝ่ายเงียบ! รอคำสั่งศาลปกครองปมเขากระโดง
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.1 ) กล่าวถึงข้อพิพาทเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ระหว่างก
เล่น 'ภูมิใจขวาง' ซะแล้ว! 'สุริยะ' ยันมีหลักฐาน เขากระโดง 5 พันไร่เป็นที่รถไฟ
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกฯ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงกรณีข้อพิพาทเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ หลังจากนายทรง
การรถไฟฯ โชว์เอกสารยืนยันที่ดิน ‘เขากระโดง’ เป็นกรรมสิทธิของตัวเอง
"การรถไฟฯ" แถลงการณ์ยืนยัน ที่ดิน "เขากระโดง" เป็นกรรมสิทธิของ รฟท. ย้ำมีเอกสาร-ข้อมูล พร้อมยืนยัน ลั่นจะดำเนินการทุกอย่าง เพื่อให้ที่ดินดังกล่าว กลับมาเป็นของ รฟท. เพื่อรักษาสมบัติของแผ่นดิน