16 ธ.ค.2567- รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต และรองประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ โพสต์ข้อความเรื่อง น้ำท่วมใต้รุนแรงแต่ไม่ควรมีการสูญเสียชีวิตแม้แต่คนเดียวและพฤติกรรมน้ำไหลหลากมาเร็วไปเร็วปิดจุดอ่อนด้วยระบบเตือนภัยท้องถิ่น
รศ.ดร.เสรี กล่าวว่า ก่อนเดินทางไปประชุมที่มาเลเซีย ผมได้แจ้งเตือนภาคใต้ตอนกลางตั้งแต่ จ.ชุมพร ระนอง สุราษฏร์ฯ และนครศรีฯ ให้เตรียมรับมือกับสถานการณ์ความรุนแรงของปริมาณฝนมากกว่า 75% ระหว่าง 12-15 ธันวาคม ที่ผ่านมา การประเมินความเสี่ยง และความรุนแรงน้ำท่วมเมือง น้ำไหลหลากของท้องถิ่น โดยเฉพาะแต่ละจังหวัดสำคัญมาก เพราะจะนำมาซึ่งแผนเตรียมความพร้อม แผนตอบโต้สถานการณ์ แผนการอพยพ แผนการจัดเตรียมกำลังคน เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ เราไม่อยากเห็นความสูญเสียซ้ำแล้ว ซ้ำเล่าอย่างนี้อีกต่อไป
หากถามว่ามีการเตือนภัยล่วงหน้าหรือไม่ ต้องตอบว่ามี แต่ต้องเข้าใจว่าที่ทำกันอยู่ทุกวันนี้ เป็นการเตือนภัยแบบขอให้ได้เตือน แต่ไม่ครบองค์ประกอบของการเตือนภัยแบบ End to End ความหมายคือการเตือนภัย จะต้องประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) องค์ความรู้ด้านความเสี่ยง 2) การติดตามสถานการณ์ และแจ้งเตือน 3) ช่องทางการสื่อสารความเสี่ยง 4) การประเมินความสามารถในการรับมือ ดังนั้นที่เราทำอยู่ทุกวันนี้มีเพียงองค์ประกอบข้อ 2) อย่างเดียว จึงเกิดความสูญเสียชีวิต และทรัพย์สินตามมาอย่างไม่สามารถประเมินค่าได้ ถามว่าในจังหวัดมีแผนที่ความเสี่ยง และความรุนแรงน้ำท่วมแจ้งเตือนประชาชนหรือไม่ ? แม้เพียงการแจ้งเตือน 24 ชั่วโมงล่วงหน้าอย่างครบองค์ประกอบ สามารถลดความเสียหายลงได้มากกว่า 30% เราจะอยู่กันอย่างนี้อีกต่อไปหรือ ?
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
น้ำท่วมเมืองคอน ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร พบผู้เสียชีวิต 1 ราย
สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเลวร้ายถึงขั้นทำให้ตัวเมืองกลายเป็นอัมพาตโดยสมบูรณ์ น้ำท่วมขังสูงกว่า 1 เมตรแทบทุกพื้นที่
‘สุราษฎร์ธานี’ น่าห่วง ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ผู้ว่าฯ สั่งเฝ้าระวังสถานการณ์ใกล้ชิด
สถานการณ์น้ำในหลายพื้นที่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานีเริ่มเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่รักษาการผู้ว่าฯ สั่งเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
ประกาศฉบับสุดท้าย เตือนฝนถล่ม 8 จังหวัดใต้ เรือเล็กงดออกจากฝั่ง
เมื่อเวลา 05.00 น. ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคใต้ฝั่งตะวันออก ออกประกาศฉบับที่ 9 ซึ่งเป็นฉบับสุดท้ายเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย ในวันที่ 16 ธันวาคม 2567 โดยมีใจความว่า
อพยพวุ่น! ฝนถล่มเมืองคอนกลางดึก จมบาดาลทั้งเมือง สั่งปิดเรียน 1 วัน
นครศรีธรรมราชถูกน้ำท่วมอย่างหนัก ถนนหลายสายกลายเป็น “เมืองบาดาล” โดยเฉพาะถนนพัฒนาการคูขวาง ตั้งแต่สี่แยกพัฒนาการคูขวางถึงโรงแรมทวินโลตัส มีน้ำท่วมสูงเฉลี่ย 20 - 40 เซนติเมตร
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 14 เตือนไทยตอนบนหนาว ใต้ฝนตกหนักมาก
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศหนาวเย็นบริเวณประเทศไทยตอนบน ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ และคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทย