รัฐบาลเข้ม ตรวจสารพิษตกค้างในผัก-ผลไม้

รัฐบาลเข้ม ตรวจสารพิษตกค้างในผัก-ผลไม้ ลดความเสี่ยง/อันตราย เน้นกำชับส่วนราชการทำนโยบายเพื่อสุขภาพที่ดีของ ปชช.

15 ธ.ค. 2567- นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลบูรณาการความร่วมมือแก้ไขปัญหาสารพิษตกค้างจากวัตถุอันตรายทางการเกษตรในผัก และผลไม้ ตั้งแต่ต้นน้ำ (แปลงปลูก/นำเข้า) กลางน้ำ (โรงคัดบรรจุ) และปลายน้ำ (สถานที่จำหน่าย) โดยดำเนินงานภายใต้คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ในการขับเคลื่อนเพื่อจัดการความเสี่ยงของสารพิษตกค้างในผักผลไม้ การสื่อสารเพื่อลดความเสี่ยงหรืออันตรายจากสารพิษตกค้าง รวมถึงการปรับเกณฑ์มาตรฐานสารพิษตกค้างให้ครอบคลุมชนิดผักผลไม้ และการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรในปัจจุบัน

นายอนุกูล กล่าวว่า จากข้อมูลการตรวจวิเคราะห์ผักผลไม้ในประเทศตั้งแต่ปี 2560 ถึง ปี 2567 รวม 2,193 ตัวอย่างผ่าน 81.35% (1,784 ตัวอย่าง) ไม่ผ่าน 18.65% (409 ตัวอย่าง) ซึ่งยังพบปัญหาสารพิษตกค้างในผักผลไม้ โดยปีงบประมาณ 2568 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย. ) ได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ตรวจเฝ้าระวังความปลอดภัยของผักและผลไม้สด ณ โรงคัดบรรจุทั่วประเทศ จำนวน 854 แห่ง เพื่อกำกับดูแลมาตรฐานการผลิตของโรงคัดบรรจุผักผลไม้สดตามหลักเกณฑ์ GMP และตรวจสอบการแสดงฉลากเพื่อการตามสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มา รวมทั้งเก็บตัวอย่างผักและผลไม้สด ส่งตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการมาตรฐาน โดยมีการสื่อสารความเสี่ยงเป็นระยะ และสรุปสถานการณ์ความปลอดภัยด้านสารพิษตกค้างจากวัตถุอันตรายทางการเกษตร แจ้งต่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งกำกับดูแลแปลงปลูกในประเทศ เพื่อให้สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ

นายอนุกูล กล่าวต่อว่า กรณีที่ผลการตรวจประเมิน GMP ไม่ผ่านตามเกณฑ์ อย. และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จะบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด เพื่อให้กลไกการตรวจสอบสารตกค้างจากวัตถุอันตรายทางการเกษตรมีประสิทธิภาพสอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ อย. ยังมีมาตรการเฝ้าระวังการนำเข้าผักผลไม้อย่างเข้มงวดด้วยเช่นกัน โดยการตรวจกัก เก็บผัก ผลไม้กลุ่มเสี่ยง เช่น องุ่น สาลี่ คื่นช่าย ปวยเล้ง เป็นต้น ส่งตรวจวิเคราะห์ หากผลการตรวจไม่ผ่านจะถูกดำเนินคดี และไม่สามารถนำเข้าผัก ผลไม้นั้นได้ ทั้งนี้ ผู้จำหน่าย ตลาดค้าปลีก ควรเลือกผัก ผลไม้จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ว่ามาจากแหล่งใด สำหรับผู้บริโภค ควรให้ความสำคัญกับการล้างทำความสะอาดผักและผลไม้ก่อนรับประทานหรือนำมาปรุงอาหาร ซึ่งจากผลงานวิจัยพบว่าการล้างอย่างถูกวิธีด้วยน้ำธรรมดา น้ำผสมโซเดียมไบคาร์บอเนต (ผงฟู/เบคกิ้งโซดา) หรือน้ำผสมเกลือ มีประสิทธิภาพในลดปริมาณสารพิษตกค้างได้ ไม่ว่าจะเป็นสารพิษชนิดดูดซึมหรือไม่ดูดซึม นอกจากนี้ ควรเลือกซื้อผักและผลไม้ตามฤดูกาล เลือกให้หลากหลาย และไม่ควรบริโภคชนิดเดียวกันซ้ำ ๆ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากสารพิษตกค้างได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลสั่งตรวจเข้ม ห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดงเด็ดขาด

นายอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดหน่วยออกตรวจเข้มการใช้สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยงปศุสัตว์ โดยล่าสุดได้จัดกิจกรรม Kick Off เปิดปฏิบัติการอวสานสารเร่งเนื้อแดง

รัฐบาลงัดเทคโนโลยีทำหมันปลา จัดการ 'หมอคางดำ'

เปิดมาตรการเชิงรุกขจัดปัญหา “ปลาหมอคางดำ” ระยะเร่งด่วน ตั้งเป้า 3 ล้าน กก. หนุนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ดึงงานวิจัยและนวัตกรรม “ชุดโครโมโซม 4N” ทำหมันปลา

ใจละลาย! รัฐบาลชวนชม 'น้องเอวา' เสือโคร่งสีทอง แห่ง ไนท์ซาฟารี

รัฐบาลเชิญชวนนักท่องเที่ยวชมความน่ารัก “น้องเอวา” เสือโคร่งสีทอง แห่งสวนสัตว์เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ปลุกกระแส Soft Power จากธรรมชาติของสวนสัตว์ไทย

นายกฯ สั่งลุยแก้ไขปัญหา PM 2.5 ชูเป็นวาระแห่งชาติ

นายกฯ เดินหน้าแก้ไขปัญหา PM 2.5 กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง พร้อมชื่นชมเจ้าหน้าที่และประชาชนที่ร่วมกันแก้ไขปัญหาจนผลกระทบลดลง

'จุรินทร์' เผยยังไม่ได้ข้อมูล 'อนุกูล' เด็กพปชร. ย้ายซบ ปชป. หลังแพ้เลือกตั้งซ่อมสงขลา

"จุรินทร์" ไม่ทราบ "โบ๊ท อนุกูล" อดีตผู้สมัครเลือกตั้งซ่อมสงขลา พปชร. ย้ายซบ ปชป. ปัดตอบกลิ่นรัฐประหาร บอกยังไม่รู้ว่าใครจะเป็นคนทำ ชี้ เป็นหน้าที่พรรคร่วมรักษาเสถียรภาพรัฐบาล ลั่น อย่าห่วง ปชป. เพราะรู้หน้าที่ดี

จุรินทร์เข้ม! ‘แก้ของแพง' มอนิเตอร์ทุกรายการกำชับใช้กฎหมายเคร่งครัด

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  เป็นประธานการประชุมคณะทำงานกำกับติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าแก้ไขปัญหาและดำเนินคดีกับผู้ฝ่าฝืนและกระทำความผิด