15 ธ.ค. 2567 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
จากการสำรวจเมื่อถามความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับค่าธรรมเนียมการเก็บขยะในอัตรา ที่แตกต่างกัน ตามพฤติกรรมการคัดแยกขยะ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 50.31 ระบุว่า เห็นด้วยมาก รองลงมา ร้อยละ 23.66 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 15.73 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย และร้อยละ 10.30 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย
ด้านการรับรู้ของคนกรุงเทพมหานครต่อการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะพร้อมส่งภาพประกอบการคัดแยกขยะ เพื่อจ่ายค่าธรรมเนียมการเก็บขยะต่อเดือนในอัตรา 20 บาท พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 80.76 ระบุว่า ไม่ทราบเลย รองลงมา ร้อยละ 13.21 ระบุว่า พอทราบอยู่บ้าง และร้อยละ 6.03 ระบุว่า ทราบดี
สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้ความร่วมมือของคนกรุงเทพมหานครในการเข้าร่วมโครงการคัดแยกขยะ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 44.81 ระบุว่า ไม่ค่อยให้ความร่วมมือ รองลงมา ร้อยละ 28.93 ระบุว่า ค่อนข้างให้ความร่วมมือ ร้อยละ 15.65 ระบุว่า ไม่ให้ความร่วมมือเลย ร้อยละ 9.69 ระบุว่า ให้ความร่วมมือมาก และร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานครต่อการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติดเฉพาะรถเก๋ง เพื่อแก้ปัญหาการจราจรและเพื่ออุดหนุนกองทุนซื้อคืนรถไฟฟ้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 49.92 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยเลย รองลงมา ร้อยละ 18.24 ระบุว่า ไม่ค่อยเห็นด้วย ร้อยละ 17.10 ระบุว่า เห็นด้วยมาก ร้อยละ 13.98 ระบุว่า ค่อนข้างเห็นด้วย และร้อยละ 0.76 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความคิดเห็นเกี่ยวกับการประสบความสำเร็จในการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรถติดในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดของกระทรวงคมนาคม พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 55.50 ระบุว่า ไม่ประสบความสำเร็จเลย รองลงมา ร้อยละ 28.47 ระบุว่า ไม่ค่อยประสบความสำเร็จร้อยละ 12.29 ระบุว่า ค่อนข้างประสบความสำเร็จ ร้อยละ 2.44 ระบุว่า ประสบความสำเร็จมาก และร้อยละ 1.30 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผลโพลสูสี คนอยากแก้ กับ ไม่อยากแก้ 'รธน.' มีใกล้เคียงกัน
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ประชามติและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 ธันวาคม 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ
เช็กเลย! ค่าฝุ่น PM2.5 ทั่วประเทศ 'เหนือ-กทม.' ยังอ่วม
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
67 พื้นที่ กทม. พบค่าฝุ่นสูงกระทบสุขภาพ
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร
คนไทยอ่วม! ฝุ่น PM2.5 ท่วม 27 จังหวัด 'กทม.' พุ่งทุกพื้นที่
ศูนย์สื่อสารการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 2 ธันวาคม 2567 ณ 07:00 น. สรุปดังนี้
‘เทพไท’ สะท้อนประสบการณ์ตรง ‘ยุบพรรค-ตัดสิทธิ์การเมือง’ ทำได้แค่ไหน
ในฐานะผู้มีประสบการณ์ตรง และถูกศาลอาญาพิพากษาตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี จนถูกคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) ห้ามใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งในทุกกรณี
'นิด้าโพล' ชี้ประชาชน กว่า 61% ไม่เห็นด้วยกับโทษยุบพรรค ในคดีล้มล้างการปกครอง
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ